สธ. เผยสถานการณ์เตียงผู้ป่วยโควิดเริ่มดีขึ้น แต่เตียงไอซียูยังขาด-บริหารจัดการยาก


เพิ่มเพื่อน    

26 ส.ค.64 - ที่กระทรวง​สาธารณสุข​ นพ.สมศักดิ์ ​อ​รร​ฆ​ศิลป์ ​อธิบดี​กรม​การแพทย์​แถลงข่าว​ในประเด็นการบริหารจัดการเตียงผู้ป่วยโควิด-19 ว่าสถานการณ์​เตียงในต่างจังหวัด​เริ่มตึง แต่ปัญหามีไม่มากการบริหาร​ค่อนข้างเบ็ดเสร็จ​เด็ดขาด ในแต่ละจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัด​ แพทย์สาธารณสุข​ ผู้อำนวยการ​โรงพยาบาล​ สามารถรวมพลังในจังหวัด​และขยายเตียงไปที่โรงพยาบาล​ชุมชนได้ แต่กรุงเทพฯรวมของการแยกกักตัวที่บ้าน Home Isolation (HI) ยอดสะสมอยู่ที่ 86,188 รายช่วงต้นๆมีความติดขัดบ้าง แต่ตอนนี้ระบบค่อนข้างไหลลื่นแล้ว มีการขยายคู่สายเป็น 2-3 พันคู่สาย หาสถานพยาบาล​ที่มารับผู้ป่วย HI ค่อนข้างมาก มีทั้งโรงพยาบาล​ มหาวิทยาลัย​ กรุงเทพ​มหานคร​ กรมการแพทย์​ รวมถึงคลินิกชุมชนอบอุ่น เพราะฉะนั้นจำนวนผู้ป่วยที่อยู่ใน HI ก็จะมากขึ้นทุกวัน โดยเฉลี่ยแต่ละวันตอนนี้ เฉพาะผู้ป่วยใหม่ในกรุงเทพฯ​ประมาณวันละ 4 พันคน มีผู้ป่วยที่ยินยอมทำ HI วันละพันกว่าคน

ส่วนศูนย์พักคอย Community Isolation (CI) ในกรุงเทพ​ฯ เปิดดำเนินการ​แล้ว 64 แห่ง มีจำนวนเตียง 8,694 เตียง จำนวนครองเตียง 3,410 เตียงคงเหลือ 5,284 เตียง รับผู้ป่วยใหม่ 251 ราย สะสม 15,749 ราย ส่วนที่เหลือก็จะเข้าไปรักษาในฮอสพิเทล หรือเข้าโรงพยาบาล​ ทั้งนี้จากการทำ HI และ CI ทำให้จำนวนการรอคอยเตียงลดลงอย่างชัดเจน ระยะเวลาการรอคอยเตียงดีขึ้น รอคอยเกิน 24 ชม.มีไม่มากนัก

"สถานการณ์​สีเหลืองดีขึ้นเยอะ ส่วนสีแดงยังมีต้องรอคอยอยู่ โดยจากที่คนไข้กรุงเทพฯเกินพันขึ้นไป ทำให้เรากลัวว่าเตียง ICU ไม่พอ นำเรียนว่าเตียง ICU ตอนนี้ยังบริหารจัดการค่อนข้างยาก ต้องดูวันต่อวัน แต่จำนวนที่รอคอยเกิน 24 ชม.ดีขึ้น อย่างไรก็ตามมีประชาชนที่อยู่ HI จากสีเขียวก็จะไปอยู่ในกลุ่มที่เหลืองอ่อนได้ เราก็บอกว่าให้มาโรงพยาบาล หรือฮอสพิเทล เพราะเรามีเครื่องออกซิเจน แต่ปรากฎว่ามีหลายท่านขอไม่มา เพราะเขารู้สึกว่าอยู่ที่นั่นแล้วเขาปลอดภัยดี ยาก็ได้แล้ว และอาการไม่มาก เรียนว่าถ้าคุณหมอแนะนำยังอยากให้มาก เพราะเตียงเหลืองเราบริหารจัดการค่อนข้างดีขึ้น ต้องขอบคุณทางเอกชนที่หลายส่วนแปลงฮอสพิเทลให้สามารถให้ออกซิเจนได้ คนไข้สีเหลืองก็ได้รับการดูแลดีขึ้น ถ้าเป็นสีเหลืองต้องเริ่มให้ออกซิเจนขอให้มา อย่าอยู่บ้าน แม้กระทั่งสีแดงมีบางส่วนที่ปฏิเสธ​มีคนไข้ที่ติดบ้าน ติดเตียง มีโรคร่วมเช่นมะเร็งระยะสุดท้าย​ ที่ขอเสียชีวิต​ที่บ้าน ซึ่งเป็นจุดหนึ่งที่ว่าทำไมเตียงสีแดงจึงลดลงไปด้วย "นพ.สมศักดิ์​ กล่าว​

นพ.สมศักดิ์​ กล่าวว่า ส่วนผู้ป่วยกลุ่มเปราะบาง ทั้เราได้รับความร่วมมือจากหลายส่วนอาทิโรงพยาบาล​ตามสิทธิ สำหรับผู้ป่วยทางจิต มีโรงพยาบาล​ศรีธัญญา และโรงพยาบาล​สมเด็จ​เจ้าพระยา​ โรงพยาบาล​สนามเพื่อ​คนพิการ  อาทิ โรงพยาบาล​สนามบ้านวิทยาศาสตร์​สิรินธร​เพื่อคนพิการ นอกจากนี้เราก็ทำ CI สำหรับโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ​ ที่โรงพยาบาลรามาธิบดี​และสำหรับเด็กอายุ 7-15 ปี ที่ศูนย์​สร้างสุขทุกวัย ที่เกียกกาย


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"