26ส.ค.64-ที่สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) - มีการจัดการประชุมวิชาการ การวิจัยทางการศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 16 หัวข้อ “นวัตกรรมการศึกษา : กล้าเปลี่ยน สร้างสรรค์ ยกระดับคุณภาพการศึกษาไทย” โดย นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมผ่านระบบออนไลน์และบรรยายพิเศษตอนหนึ่ง ว่า การวิจัยและการพัฒนานวัตกรรมถือเป็นกลไกลสำคัญในการกำหนดการขับเคลื่อนนโยบายการศึกษาเพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการพัฒนาประเทศไทย 4.0 ผ่านการทำวิจัย เพื่อพัฒนาแนวคิด ทฤษฎี กระบวนการ ทัศนะทางการศึกษาใหม่ๆ ในมิติต่าง ๆ เช่น การจัดการสอน หลักสูตรการประเมินผลการเรียนรู้ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้สอน ผู้เรียน โรงเรียน ชุมชม และการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เป็นต้น
นางสาวตรีนุช กล่าวต่อว่า การส่งเสริม การทำวิจัย และการพัฒนานวัตกรรม ควรมุ่งเน้นการสร้างบุคลากรที่มีความสามารถในการสร้างมูลค่าเพิ่ม เพื่อยกระดับการวิจัยสู่การเพิ่มศักยภาพทางด้านเทคโนโลยีนวัตกรรมของประเทศ ตลอดจนสร้างเครือข่ายการทำวิจัยระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ การส่งเสริมกระบวนการทำงานของภาครัฐและเอกชน ในการวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรมให้เป็นแบบเปิดและบูรณาการการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
ส่วนสภาการศึกษามีบทบาทสำคัญในการวางกรอบ เป้าหมาย และทิศทางการจัดการศึกษาของประเทศ เพื่อการพัฒนาศักยภาพ และขีดความสามารถของคนไทยในทุกช่วงวัยผ่านการจัดทำนโยบาย และแผนการศึกษาแห่งชาติ มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ แผนการปฏิรูปด้านการศึกษา รวมถึงการปฎิรูปกระบวนการเรียนรู้ที่มีความหลากหลาย ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 การพัฒนาระบบวิจัย การศึกษา ส่งเสริม สนับสนุน เผยแพร่และกระตุ้นให้นำผลการวิจัย ผลงานสร้างสรรค์ และนวัตกรรมทางการศึกษา ที่สามารถนำไปเป็นประโยชน์ เพื่อนำไปพัฒนาการศึกษาในทุกระดับและประเภทการศึกษาต่อไป
ด้านคุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมช.ศธ.) บรรยายพิเศษ หัวข้อ “เทคโนโลยีและนวัตกรรม การศึกษาในยุคดิจิทัล”ว่า เรื่องเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษาในยุคดิจิทัล เป็นความหวังการศึกษาไทย แม้ว่าจะมีสถานการณ์โควิด 19 หรือไม่มี เราก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อการศึกษาที่ทันสมัย สร้างเด็กในศตวรรษที่ 21 และการสร้างพลเมืองยุค 4.0 แต่เราต้องศึกษาให้ถ่องแท้ว่าจะนำมาใช้อย่างไร ขณะที่ความพร้อมของครู และนักเรียนก็ยังไม่สมบูรณ์ ดังนั้นต้องเร่งให้ความรู้แก่ครู นักเรียนและผู้ปกครอง ซึ่งทุกคนจะต้องปรับตัวกันอย่างมโหฬาร เพื่อให้สอดคล้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ศธ.ไม่นิ่งนอนใจที่จะนำเทคโนโลยี และนวัตกรรมมาใช้กับการศึกษาในยุคดิจิทัล
"ไม่ว่าเทคโนโลยีจะดีแค่ไหน ถ้าเรายังไม่รู้และยังไม่พร้อม ย่อมไม่สามารถที่จะนำมาแทนครูได้ ในฐานะที่ดิฉันเป็นนักวิทยาศาสตร์ ก็ไม่เคยคิดจะให้ลูกหรือเด็กนักเรียนได้เรียนกับเครื่อง เพราะเด็กต้องเรียนกับครูและเครื่อง เพื่อให้เด็กมีมนุษยสัมพันธ์กับทุกคน อย่างไรก็ตามการเรียนออนไลน์จะต้องทำให้สามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของนักเรียนด้วย และการเรียนออนไลน์เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ อยากให้พ่อแม่มีเวลาให้กับลูก เพราะเวลาที่พ่อแม่อยู่กับลูกเป็นเวลาที่มีคุณภาพ"คุณหญิงกัลยากล่าว
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |