“ ชาวอเมริกันส่วนใหญ่เชื่อในคุณธรรมที่ว่าความมั่งคั่งและการเลื่อนสถานะทางสังคมมาจากการทำงานหนัก ไม่ใช่มาจากอภิสิทธิ์ แต่ความไม่เท่าเทียมกันของโอกาสกลับเป็นข้อจำกัดของการขยับฐานะทางสังคม” (AMY FONTINELLE , 2020) ดังนั้นโอกาสจึงเป็นสาเหตุสำคัญของความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะในอาณาบริเวณที่ระดับการพัฒนาเศรษฐกิจต่ำกว่าบริเวณอื่น ๆ คงไม่ใช่ความผิดของประชากรที่เกิดในเขตที่การพัฒนาเศรษฐกิจมีไม่มาก พ่อแม่ของเขาก็ไม่ได้ทำอะไรผิด เพียงแต่ความเหลื่อมล้ำของโอกาสนำไปสู่จุดที่เขาเป็นอยู่ทุกวันนี้ แต่สำหรับเมืองที่มีความเติบโตสูง มีความมั่งคั่งต่อเนื่องมาหลายรุ่น ทำให้ประชากรอีกส่วนหนึ่งเติบโตขึ้นมาในพื้นที่ที่ดีพร้อม มีโรงเรียนที่มีคุณภาพ เด็ก ๆ ได้ประโยชน์จากการเข้าถึงโรงเรียนที่มีคุณภาพดีและประกอบอาชีพในองค์กรที่ให้ค่าตอบแทนและผลประโยชน์ที่ดี
ความเหลี่อมล้ำทางเศรษฐกิจหลักการจะหมายถึงความไม่เท่าเทียมกันในการกระจายรายได้ ความเหลื่อมล้ำในความมั่นคั่งหรือทรัพย์สิน และความเหลื่อมล้ำในโอกาสของคนในสังคม ในฐานะของคนที่คลุกคลีและอาศัยในชนบท เห็นว่าความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจยังขึ้นกับนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัดและภาคของรัฐบาล จังหวัดและภาคที่อยู่ในยุทธศาสตร์การพัฒนาของรัฐบาล ก็จะมีงบประมาณมาลงทุนจำนวนมาก และดึงดูดการลงทุนต่อเนื่องจากภาคเอกชน และทำให้ภูมิภาคนั้นมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงกว่าภาคอื่น ๆ และทำให้ธุรกิจและครัวเรือนในภูมิภาคดังกล่าวมีรายได้ ความมั่งคั่งและโอกาสต่าง ๆ ดีกว่าประชากรในภาคอื่น นอกจากนั้นความเหลื่อมล้ำทางเทคโนโลยีด้านดิจิทัลก็จะเป็นอีกสาเหตุหนึ่งของความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจในอนาคต และคนที่ขาดทักษะด้านดิจิทัลจะเป็นคนจนรุ่นใหม่
สาเหตุของความเหลื่อมล้ำ
ในแง่รายได้หากพิจารณารายได้ของเกษตรกร (ผู้ผลิตต้นน้ำ) ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศพบว่าช่วง 15 ปีที่ผ่านมา ราคาสินค้าที่เกษตรกรจำหน่ายได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 ต่อปี โดยราคาพืชผลเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 ต่อปี สูงกว่าราคาปศุสัตว์ที่เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 2.0 ต่อปี (ตารางที่ 1) สำหรับค่าจ้างแรงงานในภาคอุตสาหกรรม (การผลิตกลางน้ำ) ก็พบว่าช่วง 2537-2563 อัตราค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 6.0 ต่อปี สูงกว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเล็กน้อย และมีระบบด้านสวัสดิการระหว่างทำงานและหลังจากออกจากงาน ดีกว่ากลุ่มเกษตรกรซึ่งยังต้องเผชิญความผันผวนของผลผลิตจากดินฟ้าอากาศ จึงเป็นกลุ่มที่ยากลำบากที่สุด ขณะที่กลุ่มคนซึ่งเป็นผู้ประกอบการ (หน่วยผลิตปลายน้ำ) ซึ่งเป็นเจ้าของทุน รายได้ส่วนใหญ่จะมาจากการลงทุนและผลตอบแทนจากการลงทุน จากการเก็บตัวเลขกำไรของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พบว่ากำไรในช่วงปี 2552-2560 เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 15.0 ต่อปี สูงกว่าค่าจ้างแรงงานและรายได้ของเกษตรกร ข้อเท็จจริงนี้นำไปสู่อัตราการเพิ่มของรายได้ของคนสามกลุ่มที่จะแตกต่างกันไปเรื่อย ๆ และถ้าความแตกต่างสะสมมากขึ้น ความเหลื่อมล้ำก็ยิ่งมากขึ้น
การพัฒนาเศรษฐกิจที่ผ่านมาก็มีส่วนสร้างความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจระหว่างภูมิภาคและจังหวัดโดยมิได้ตั้งใจ เช่น โครงการ Eastern Seaboard Development Program: ESB ที่เริ่มเมื่อปี 2525 ดึงดูดภาคเอกชนลงทุนตาม GRP ภาคตะวันออกขยายตัวสูงสุด สำหรับภาคกลาง ได้รับประโยชน์จากนโนบายส่งเสริมการลงทุน เพราะอยู่ใกล้ท่าเรือ ทำให้ GRP ภาคกลาง ขยายตัวสูงเป็นลำดับสองรองจากภาคตะวันออก สำหรับภาคอื่น ๆ การลงทุนของภาครัฐบาลเน้นขยายบำรุงรักษาถนน ก่อสร้างอาคารสถานศึกษา หรือโครงการเฉพาะของภาค โครงการขนาดกลางและใหญ่ของรัฐบาลแทบไม่มี ทั้งนี้ภูมิภาคที่ GRP ขยายตัวต่ำสุดช่วงปี 2525-2558 คือภาคเหนือ รองลงมาเป็น ภาคตะวันตก สำหรับปี 2559-2562 ภูมิภาคที่เติบโตต่ำสุดเป็นภาคตะวันตก รองลงมา ได้แก่ภาคเหนือ ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่คนหนุ่มสาวในภูมิภาคหลังจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยจะไปทำงานในองค์กรที่ให้ค่าตอบแทนและผลประโยชน์ดีซึ่งส่วนใหญ่อยู่ใน กทม.และปริมณฑล หรือหัวเมืองใหญ่ของประเทศ
ข้อเสนอในการแก้ไข
ถ้าพิจารณาความเหลื่อมล้ำในมิติจังหวัดที่มีคนจนมากและรายได้ต่อหัวต่ำ เช่น แม่ฮ่องสอน นราธิวาส ปัตตานี กาฬสิน และนครพนม ทั้ง 5 จังหวัดคล้ายกันในโครงสร้าง คือ แรงงานประมาณร้อยละ 43 – 55 อยู่ในภาคเกษตร แต่ผลิตภัณฑ์ภาคเกษตรมีสัดส่วนต่ำร้อยละ 20 ลักษณะทางภูมิศาสตร์เดินทางลำบาก เช่น จังหวัดแม่ฮ่องสอน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา เป็นที่สูง เดินทางลำบาก ได้ประโยชน์จากการลงทุนของภาครัฐและเอกชนไม่มาก ยังขาดโอกาสการเข้าถึงปัจจัยการผลิตที่สำคัญคือ กรรมสิทธิ์ในที่ดินทำกิน การศึกษาที่มีคุณภาพ สินเชื่อจากระบบสถาบันการเงิน รูปแบบการแก้ไขผ่านงบจังหวัด (Area) ที่ดำเนินการอยู่ขณะนี้คือการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีของจังหวัด ซึ่งมีองค์ประกอบให้งบประมาณตามสัดส่วนคนจน 10% ผกผันรายได้ครัวเรือน 25% (พ.ค.2563) แต่ตามเกณฑ์นี้จังหวัดที่ยากจนเรื้อรัง ยังได้รับงบประมาณพัฒนาจังหวัดไม่มาก
การพัฒนาเศรษฐกิจควรให้ความสำคัญกับกระจายการลงทุนสู่ภูมิภาคต่าง ๆ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำระหว่างภาคและภาระด้านการคลังในการช่วยผู้มีรายได้ต่ำ สำหรับการแก้ปัญหาความยากจนระดับพื้นที่ (Area) ใช้เกณฑ์สัมประสิทธิ์จีนี ( Gini coefficient) รายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนต่อคนต่อปี ครัวเรือนที่ตกเกณฑ์มาตรฐานความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) เป็นตัวชี้วัด กำหนดสถานที่ดำเนินการ และนำผู้เชี่ยวชาญ เช่น เกษตร ปศุสัตว์ พาณิชยกรรม ท่องเที่ยว โยธาธิการ อุตสาหกรรม เป็นต้น ร่วมออกแบบ เช่น ด้านคุณภาพชีวิต น้ำกิน น้ำใช้ แหล่งน้ำ คลองส่งน้ำ ยกระดับการผลิต สนับสนุนการตลาดให้เหมาะกับแต่ละพื้นที่ เช่น ปลูกหญ้าเนเปีย เลี้ยงสัตว์ เกษตรปลอดภัย ปลูกไม้ยืนต้น ศูนย์กระจายสินค้า เป็นต้น ในเบื้องต้นรัฐบาลจัดทำโครงการ sandbox สำหรับจังหวัดยากจนภาคละ 1 จังหวัด และมีการติดตามโครงการอย่างต่อเนื่อง
เวทีพิจารณ์นโยบายสาธารณะ
สมศักดิ์ วงศ์ปัญญาถาวร กลุ่มนโยบายสาธารณะเพื่อสังคมและธรรมาภิบาล
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |