การจัดประเพณีพ้อต่อของชุมชนตลาดใหญ่ เมืองภูเก็ตในช่วงนี้ ภาพ : อุทยานการเรียนรู้นครภูเก็ต
ใครไปภูเก็ตในช่วงนี้จะได้เดินเที่ยวงานพ้อต่อหรือประเพณีสารทจีนภูเก็ต ถือเป็นประเพณีที่ชาวไทยเชื้อสายจีนภูเก็ตยึดถือปฏิบัติมานานนับ 100 ปี แม้ช่วงแพร่ระบาดของโควิด-19 การรวมกลุ่มจำนวนมากจัดเซ่นไหว้คงต้องเลี่ยงๆ แต่งานพ้อต่อเมืองภูเก็ตยังจัดตามชุมชน สมาคม และศาลเจ้าต่างๆ โดยปรับเปลี่ยนให้เรียบง่าย เพื่อให้เข้ากับสถานการณ์ และจะได้อนุรักษ์ประเพณีเหมือนปีก่อนๆ
มิวเซียมสยาม ร่วมกับ เทศบาลนครภูเก็ต ชวนชมนิทรรศการ” เปิดตำนานพ้อต่อเมืองภูเก็ต The Legend of Ghost Festival Phuket “ เพื่อหาคำตอบเรื่องราวความเป็นมาของงานพ้อต่อผ่านตำนานสำคัญและเรื่องเล่าใน 6 โซนอย่างเพลิดเพลิน ณ อุทยานการเรียนรู้นครภูเก็ต (PK Park) ตั้งแต่กำเนิดประเพณีพ้อต่อเมืองภูเก็ต เสนอความเป็นมาของประเพณีพ้อต่อ ประเพณีที่ชาวจีนปฏิบัติมาแต่โบราณและกลายเป็นประเพณีที่ชาวจีนโพ้นทะเลยึดถือปฏิบัติกันอย่างเข้มแข็ง ในช่วงเดือน 7 ตามปฏิทินจันทรคติจีน ซึ่งตรงกับเดือนสิงหาคม - กันยายน ของทุกปี ชาวภูเก็ตเชื่อว่า เป็นช่วงเวลาที่ประตูนรกจะเปิดออก เพื่อปลดปล่อยเหล่าผีให้กลับมาเยี่ยมโลกมนุษย์เป็นเวลาหนึ่งเดือน ชาวไทยจีนภูเก็ตจึงจัดพิธีกรรมเซ่นไหว้อุทิศบุญกุศลให้กับบรรพบุรุษ และ ผีไร้ญาติ ที่เรียกว่า “โฮ่เฮียตี่” หรือ เพื่อนที่แสนดี ในศูนย์กลางของชุมชน
ชวนเรียนรู้ตำนานพ้อต่อเมืองภูเก็ตผ่านนิทรรศการมี 6 โซน
ตามด้วยโซนตำนานผ้อต่อก้ง ร่วมเปิดตำนานความเชื่อของชาวภูเก็ตเกี่ยวกับ “ผ้อต่อก้ง” ผู้ควบคุมเหล่าผีให้อยู่ในความเรียบร้อย เข้าสู่โซนเซ่นไหว้อะไร ดี ? ตามความเชื่อสำรับอาหารคือเครื่องมือสื่อสารกับโลกวิญญาณและเป็นส่วนสำคัญในพิธีกรรมการเซ่นไหว้ในประเพณีพ้อต่อ เซ่นไหว้อะไร ดี ? คำตอบอยู่ในแผ่นถอดรหัส ที่เปิดให้ผู้เข้าชมมีส่วนร่วม
ส่วนใครสงสัยทำไมเทศกาลพ้อต่อต้องใช้ขนมเต่าแดง คลายความสงสัยได้ที่โซนถอดรหัสเต่าแดง จะได้เรียนรู้ที่มาและความหมายที่ซ่อนอยู่ใน “เต่าแดง” ของไหว้ที่ขาดไม่ได้ในประเพณีพ้อต่อผ่านตำนานโบราณ 5 เรื่อง ประกอบด้วยเต่าสื่อกลางระหว่างภพ สื่อเต่าสัตว์มงคลและศักดิ์สิทธิ์ในวัฒนธรรมจีน สื่อถึงอายุยืนและความแข็งแกร่ง ขณะเดียวกันยังเชื่อเต่ามีพลังพิเศษสื่อสารระหว่างภพภูมิ หลักฐานเก่าแก่แสดงคตินี้ คือ เจียกู่เหวิน หรือกระดองเต่าจารึกอักษรสมัยราชวงศ์ซาง ใช้ในพิธีกรรมขอคำพยากรณ์จากเทพเจ้า
“ขนมเต่าแดง” ของเซ่นไหว้ที่ขาดไม่ได้ในประเพณีพ้อต่อ
อีกตำนานเต่าในวรรณกรรมไซอิ๋ว เป็นพาหนะให้กับพระถังซัมจั๋งข้ามแม่น้ำไปอัญเชิญพระไตรปิฎก แสดงถึงเต่าเป็นพาหนะสื่อสารระหว่างภพภูมิ สำหรับคนจีนตอนใต้ กวางตุ้ง แต้จิ๋ว ไหหลำ และฮกเกี้ยน เต่าเป็นพาหนะของพระโพธิสัตว์ และมาจ้อโป๊ที่คอยช่วยผู้คนในทะเล
ขณะที่ตำนานเต่าแดงของคนภูเก็ตมีรากวัฒนธรรมจากคนจีนฮกเกี้ยน “อังกู๊โก้ย”หรือขนมเต่าแดง เป็นขนมขาดไม่ได้ในประเพณีสารทจีนไว้เซ่นไหว้บรรพบุรุษและวิญญาณไร้ญาติ ซึ่งขนมเต่าแดงทำจากแป้งข้าวเหนียวสอดไส้ถั่ว ลักษณะคล้ายกระดองเต่า ด้วยคติที่ว่าต้องเพิ่มจำนวนและขนาดในทุกปี จึงพัฒนาทำจากแป้งสาลีหมักด้วยน้ำเชื่อม ขึ้นรูปเหมือนเต่าจนกลายเป็นขนมเต่ายักษ์สีแดงที่เห็นในปัจจุบัน เป็นสื่อกลางในการส่งของเซ่นไหว้ รวมถึงความกตัญญูของลูกหลานชาวจีนภูเก็ตไปสู่บรรพชนและวิญญาณไร้ญาติที่อุทิศส่วนกุศลให้
.”พ้อต่อ”หรือประเพณีสารทจีนที่ชาวไทยจีนภูเก็ตยึดถือปฏิบัติมา 100 ปี
ภายในนิทรรศการยังนำเสนอเรื่องราวตลอดหนึ่งเดือนของเทศกาลพ้อต่อเมืองภูเก็ต ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร หาคำตอบผ่านปฏิทินแผ่นยักษ์ พร้อมทั้งชวนสนุกสนานกับเกมเขาวงกตเปิดตำนานประเพณีพ้อต่อ เชื่อว่าเป็นช่วงเวลาที่ประตูนรกเปิดออกเพื่อปลดปล่อยบรรดาผีให้กลับมาเยี่ยมโลกมนุษย์เป็นเวลา 1 เดือน เดือนนี้มีความเชื่อข้อห้ามข้อควรปฏิบัติมากมายเรียนรู้ผ่านเกมเขาวงกต
นิทรรศการจัดแสดงถึง 6 กันยายนนี้ที่อุทยานการเรียนรู้นครภูเก็ต ถือเป็นอีกการยกระดับพื้นที่เมืองภูเก็ตเป็น City Museum ที่มีชีวิตและก้าวไปสู่มาตรฐานระดับสากล ด้วยจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 ทางนิทรรศการเปิดตำนานพ้อต่อเมืองภูเก็ต ได้กำหนดมาตรการ การป้องกัน เพื่อดูแลความปลอดภัยอย่างเข้มงวดตามนโยบายของรัฐบาล
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |