สถานการณ์โควิด-19 ที่มีการแพร่ระบาดระลอก 3 ในประเทศไทยยืดเยื้อมากว่าหลายเดือนแล้ว และกำลังเริ่มเข้าสู่ช่วงสุดท้ายของปี ตลอดเวลาที่ผ่านมาการจัดการแก้ปัญหาอาจจะมีออกมาเป็นระยะ แต่ไม่สามารถสกัดหรือยุติความรุนแรงของการแพร่กระจายเชื้อได้สักที
หลายฝ่ายอาจมองว่าแผนงานที่ออกมายังไม่ตอบโจทย์เท่าที่ควร เพราะรัฐบาลอาจจะชะล่าใจเกินไป ส่งผลให้อาวุธสำคัญในสังคมที่ควรจะได้รับตอนนี้ยังมาไม่ถึง นั่นคือวัคซีน ประชากรในประเทศมีสัดส่วนการฉีดวัคซีนไม่ถึงครึ่ง ขณะเดียวกันการขยายและกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสก็ยังเป็นโจทย์สำคัญอยู่
ด้วยเหตุนี้เองตัวเลขผู้ติดเชื้อในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมานั้นพุ่งทะยานสูงไปแตะกว่า 2 หมื่นรายต่อวัน โดยส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครที่ถือว่าเป็นพื้นที่สีแดงเข้มที่สุดจากพื้นที่ทั้งหมด และเมื่อมาวิเคราะห์สถานการณ์กันจริงๆ แล้วจะเห็นได้ว่า คนในเมืองที่อยู่ในพื้นที่สีแดงก็ยังจำเป็นจะต้องออกจากบ้านไปทำงานหาเลี้ยงตัวเองอยู่
ภาคการผลิตเป็นส่วนสำคัญที่มีแรงงานอยู่เยอะ และยังกระจุกตัวกันเป็นกลุ่ม ไม่สามารถแยกตัวหรือทำงานอยู่บ้านได้ โดยเฉพาะโรงงานต่างๆ ที่มีพนักงานมากกว่า 500 ราย หรือบางที่มีมากกว่า 1,000 ราย ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นโจทย์หลักสำคัญที่หลายฝ่ายต้องออกมาเสนอหนทางแก้ไขและเยียวยา เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมการผลิต
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ถือว่าเป็นหน่วยงานที่เข้าใจถึงปัญหา เนื่องจากเมื่อเกิดผลกระทบก็มักจะเห็นผลต่อภาคอุตสาหกรรมทันที โดยล่าสุดได้เสนอมาตรการป้องกันควบคุมโควิดในภาคอุตสาหกรรม 4 ข้อ กำหนดบับเบิลแอนด์ซีล (Bubble and Seal) ภาคอุตสาหกรรมเป็นมาตรฐานเดียว จัดตั้งแฟคทอรี ควอรันทีน (Factory Quarantine : FQ) หรือใช้พื้นที่โรงงานเป็นสถานที่กักกันตัว ไปจนถึงแฟคทอรี แอคคอมโมเดชั่น ไอโซเลชั่น (Factory Accommodation Isolation : FAI) หรือใช้พื้นที่โรงงานเป็นสถานที่พักเพื่อจะได้ไม่ต้องเดินทาง ให้เพียงพอกับแรงงาน และจัดสรรวัคซีนเพื่อลดอัตราการเสียชีวิต ก่อนเศรษฐกิจและประเทศพังพินาศ
โดย นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธาน ส.อ.ท. กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า สถานการณ์การโควิด-19 กำลังเข้าสู่ขั้นวิกฤติและส่งผลกระทบไปทุกภาคส่วนของประเทศ ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมเกิดการติดเชื้อในโรงงานเป็นจำนวนมากเช่นกัน และตัวเองในฐานะองค์กรหลักภาคเอกชนที่เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของประเทศ จึงต้องจัดทำ “มาตรการควบคุมโควิดในภาคอุตสาหกรรม” นี้ขึ้นมา เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตและอาการรุนแรง พร้อมรักษากำลังการผลิตให้มากที่สุด
ซึ่งโรงงานที่ดำเนินการอย่างถูกต้องจะไม่ถูกปิด หากยังสามารถดำเนินการต่อได้โดยไม่แพร่กระจายเชื้อสู่ภายนอก ภายใต้คอนเซ็ปต์ “ติดโควิดไม่ต้องปิดโรงงาน” แบ่งออกเป็น 3 ข้อ ดังนี้ คือ 1.มาตรการ Bubble and Seal สำหรับภาคอุตสาหกรรมต้องมีความชัดเจน สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง และเป็นไปในแนวทางเดียวกันทุกพื้นที่ โดยให้สุ่มตรวจหาผู้ติดเชื้อด้วยชุดตรวจด้วยตัวเอง (ATK) สม่ำเสมอ 10% ของจำนวนพนักงานทุก 14 วัน โดยรัฐบาลสนับสนุนค่าใช้จ่าย และให้พนักงานผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำสามารถกลับเข้ามาทำงานในบับเบิลของโรงงานตามปกติ
2.สถานประกอบการที่มีพนักงาน 300 คนขึ้นไป เสนอให้กระทรวงสาธารณสุขสนับสนุนงบประมาณในการจัดตั้ง FA และ FAI โดยให้มีจำนวนเตียงไม่น้อยกว่า 5% ของจำนวนพนักงาน และเสนอให้กระทรวงแรงงานจัดตั้งโรงพยาบาลแม่ข่ายในแต่ละพื้นที่ประกันสังคม เพื่อให้บริการโรงงานในพื้นที่ ณ จุดเดียว ตั้งแต่การตรวจหาเชื้อไปจนถึงส่งต่อผู้ป่วยเข้าไปในระบบการรักษา เพื่อลดขั้นตอนในการหาโรงพยาบาล
และ 3.สำหรับสถานประกอบการที่มีพนักงานต่ำกว่า 300 คน ขอให้กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมจัดตั้งคอมมูนิตี้ ควอวันทีน Community Quarantine (CQ), Community Isolation (CI) (ศูนย์พักคอยและแยกกักตัว) ให้เพียงพอกับแรงงาน โดยให้มีจำนวนเตียงไม่น้อยกว่า 5% ของจำนวนพนักงานในพื้นที่
ในช่วงที่วัคซีนยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของคนทั้งประเทศ ก็ต้องมองว่าสิ่งที่ ส.อ.ท.กำลังเสนอต่อรัฐบาลที่เป็นผู้คุมการจัดการสถานการณ์โควิดอยู่นั้น เป็นเรื่องที่จำเป็นต้องทำเพื่อความอยู่รอดของภาคอุตสาหกรรมและแรงงานในปัจจุบัน.
ณัฐวัฒน์ หาญกล้า
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |