‘ธปท.’ปัดหักคอแบงก์แฮร์คัทหนี้


เพิ่มเพื่อน    

23 ส.ค. 2564 นางสาวสุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า กรณีการปรับลดเงินต้นและดอกเบี้ย (แฮร์คัท) นั้น ที่ผ่านมา ธปท. ได้มีการหารือกับสมาคมธนาคารไทยมาโดยตลอด โดยยืนยันว่า ธปท. ไม่ได้บีบบังคับให้สถาบันการเงินใช้มาตรการแฮร์คัทหนี้กับลูกหนี้ทุกราย หรือลูกหนี้ทุกรายจะต้องได้รับการแฮร์คัทหนี้ โดยสิ่งที่ ธปท. อยากเห็นคือการปรับโครงสร้างหนี้แบบยั่งยืนในระยะยาวที่สอดคล้องกับปัญหาด้านรายได้ เช่น ในช่วงต้นลูกหนี้รายได้อาจจะยังกลับมาไม่มาก ก็ขอให้สถาบันการเงินให้ลูกหนี้ผ่อนชำระในอัตราที่ไม่สูง ก่อนค่อย ๆ ทยอยปรับเพิ่มขึ้นในระยะถัดไป แต่ไม่ใช่การเลื่อน หรือพักหนี้เป็นการชั่วคราว

“ยืนยันว่าไม่ได้มีมาตรการว่าสถาบันการเงินต้องดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งกับลูกหนี้ สิ่งที่มีการตกลงกัน คือ ขอให้สถาบันการเงินพิจารณาช่วยเหลือลูกหนี้แบบระยะยาว ผ่านการปรับโครงสร้างหนี้ซึ่งมีหลายวิธี เช่น การให้ลูกหนี้ผ่อนชำระช่วงต้นต่ำมาก หากจำเป็นก็มีการขยายอายุหนี้ ปรับจากหนี้ระยะสั้นเป็นหนี้ระยะยาว การขยายสินเชื่อเพิ่มเติมเพื่อเยียวยาสภาพคล่องลูกหนี้ การลดภาระหนี้บางประการ ซึ่งมีวิธีทำได้หลายรูปแบบ โดยลูกหนี้ทุกคนไม่สามารถรับยาที่เหมือนกันได้ คนป่วยน้อย ได้รับผลกระทบน้อยก็ต้องได้รับยาที่เบากว่าคนที่ป่วยหนัก สถาบันการเงินสามารถใช้เครื่องมือประกอบตามความเหมาะสมในการแก้ไขสถานการณ์ได้ เพราะหากให้มีการแฮร์คัทหนี้เป็นวงกว้าง ก็อาจจะก่อให้เกิดปัญหาไม่ส่งเสริมให้เกิดวินัยทางการเงิน (moral hazard) ได้” นางสาวสุวรรณี กล่าว

สำหรับการพิจารณาการจ่ายปันผลของสถาบันการเงินในปี 2564 นั้น อาจต้องรอประเมินผลทดสอบ stress test ของสถาบันการเงิน ซึ่งคาดว่าจะออกมาในช่วงต้นไตรมาส 4/2564 ก่อน

นางสาวสุวรรณี กล่าวถึงผลการดำเนินงานของระบบธนาคารพาณิชย์ไตรมาส 2/2564 ว่าภาพรวมสินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์ขยายตัวลดลงเล็กน้อยที่ 3.7% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยสินเชื่อธุรกิจขยายตัวลดลงมาอยู่ที่ 2.6% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการเร่งใช้สินเชื่อของธุรกิจขนาดใหญ่ในช่วงที่ตลาดการเงินมีความผันผวนในปีก่อน รวมถึงการระดมทุนผ่านตลาดตราสารหนี้ที่เพิ่มขึ้นในไตรมาสนี้ ขณะที่สินเชื่อธุรกิจเอสเอ็มอีปรับดีขึ้นและขยายจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนหนึ่งจากผลของมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟท์โลน) และสินเชื่อฟื้นฟู

ขณะที่สินเชื่ออุปโภคบริโภคขยายตัวที่ 5.7% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และปรับเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า โดยหลักจากสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่ยังคงขยายตัวได้ดีตามอุปสงค์ต่อที่อยู่อาศัยแนวราบที่ยังปรับเพิ่มขึ้น ส่วนสินเชื่อรถยนต์ขยายตัวชะลอลง สอดคล้องกับยอดขายรถยนต์ในประเทศที่ปรับลดลงจากไตรมาสก่อน ด้านสินเชื่อบัตรเครดิตขยายตัวลดลง จากปริมาณการใช้บัตรเครดิตที่ลดลงจากไตรมาสก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากมาตรการจำกัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจก่อนการล็อกดาวน์ ขณะที่สินเชื่อส่วนบุคคลขยายตัวเพิ่มขึ้น จากความต้องการสภาพคล่องในภาคครัวเรือน โดยบางส่วนเป็นการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อสวัสดิการ

ทั้งนี้ คุณภาพสินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์ไตรมาส 2/2564 ยังคงได้รับผลจากมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้และการผ่อนปรนเกณฑ์การจัดชั้นลูกหนี้ โดยยอดคงค้างสินเชื่อด้อยคุณภาพ (Non Performing Loan: NPL หรือ stage 3) เพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ 5.45 แสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน NPL ต่อสินเชื่อรวมที่ 3.09% ขณะที่สัดส่วนสินเชื่อที่มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของความเสี่ยง ด้านเครดิตต่อสินเชื่อรวม (Significant Increase in Credit Risk: SICR หรือ stage 2) อยู่ที่ 6.34% ลดลงจากไตรมาสก่อนที่ 6.42%

นางสาวสุวรรณี กล่าวว่า ในไตรมาส 2/2564ระบบธนาคารพาณิชย์มีกำไรสุทธิ 6 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อน 72.1% โดยหลักจากค่าใช้จ่ายกันสำรองที่ลดลงจากการกันสำรองในระดับสูงในปีก่อน ประกอบกับรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นจากรายได้เงินปันผลและรายได้ค่าธรรมเนียมหากเทียบกับไตรมาสก่อน ส่วนกำไรสุทธิที่ไม่รวมผลของรายการพิเศษปรับเพิ่มขึ้นจากรายได้เงินปันผลและรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ ตามรายได้ดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อที่เพิ่มขึ้นจากการขยายตัวของสินเชื่อ ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์เฉลี่ย (Return on Assets: ROA) เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 1.08% แต่หากตัดผลของรายการพิเศษ ROA จะปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ 0.89% จากไตรมาสก่อน ขณะที่อัตราส่วนรายได้ดอกเบี้ยสุทธิต่อสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้ดอกเบี้ยเฉลี่ย (Net Interest Margin: NIM) ทรงตัวอยู่ที่ 2.46% ใกล้เคียงกับไตรมาสก่อน

นอกจากนี้ ระบบธนาคารพาณิชย์มีเงินกองทุนทั้งสิ้น 3 ล้านล้านบาท คิดเป็นอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS ratio) ที่ 20.0% เงินสำรองอยู่ในระดับสูงที่ 8.51 แสนล้านบาท โดยอัตราส่วนเงินสำรองที่มีต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPL coverage ratio) อยู่ที่ 152.2% และอัตราส่วนสินทรัพย์สภาพคล่องเพื่อรองรับกระแสเงินสดที่อาจไหลออกในภาวะวิกฤต (Liquidity Coverage Ratio: LCR) อยู่ที่ 186.7%

“ระบบธนาคารพาณิชย์มีความเข้มแข็ง โดยมีเงินกองทุน เงินสำรองและสภาพคล่องอยู่ในระดับสูง สามารถรองรับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ต่อเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวและทำหน้าที่เป็นกลไกสำคัญในการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้และสนับสนุนความต้องการสินเชื่อได้” นางสาวสุวรรณี กล่าว

อย่างไรก็ดี ในส่วนการควบรวมของธนาคารพาณิชย์ 2 แห่ง ได้แก่ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) และ ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) เป็น ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) เสร็จสมบูรณ์เมื่อวันที่ 5 ก.ค. 2564ทำให้ธนาคารมีขนาดใหญ่ขึ้น มีการทำธุรกรรมเชื่อมโยงกับสถาบันการเงินอื่นมากขึ้น รวมทั้งมีการให้บริการทางการเงินที่สำคัญทั้งสินเชื่อ เงินฝาก การโอนเงินชำระเงิน ในปริมาณที่สูงและมีลูกค้าจำนวนมาก ส่งผลให้ธนาคารทหารไทยธนชาตเป็นธนาคารพาณิชย์ที่มีความสำคัญต่อระบบในประเทศ (Domestic Systemically Important Banks: D-SIBs) เพิ่มขึ้นอีก 1 แห่งในปีนี้ จากเดิมที่มีอยู่จำนวน 5 แห่ง ซึ่งปัจจุบัน D-SIBs ทุกแห่งมีความมั่นคง มีเงินกองทุนอยู่ในระดับสูงกว่าอัตราที่ ธปท. กำหนดและเพียงพอรองรับการดำรงเงินกองทุนส่วนเพิ่มตามมาตรการที่กำหนดในการกำกับดูแล D-SIBs


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"