งบแบงก์ไม่เซอร์ไพรส์


เพิ่มเพื่อน    

            ยังคงได้ลุ้นกันทุกครั้งกับการประกาศผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ไทย เป็นประจำทุกไตรมาสและทุกปี ซึ่งแน่นอนว่าฤดูของงบการเงินธนาคารพาณิชย์ได้วนกลับมาอีกแล้ว ซึ่งในช่วงปี 60 ที่ผ่านมา แต่ละธนาคารก็มีเหตุการณ์แตกต่างกันไป ดีบ้าง ไม่ดีบ้าง ก็แล้วแต่สถานการณ์ที่พบเจอในช่วงนั้นๆ เอาเป็นว่ามาติดตามลุ้นกันต่อไป

            มาที่งบการเงินของธนาคารพาณิชย์ในไตรมาส 4/60 และปี 60 ที่กำลังจะเริ่มทยอยประกาศออกมา โดยนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ให้น้ำหนักไปทางชะลอตัว อย่าง บริษัท หลักทรัพย์ (บล.) ฟินันเซีย ไซรัส มองแนวโน้มกำไรสุทธิไตรมาส 4/60 คาดจะชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อนหน้า หลังมีแนวโน้มว่าหลายธนาคารจะตั้งสำรองหนี้เผื่อสงสัยจะสูญที่สูงขึ้น เพื่อรองรับมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับใหม่ (ไอเอฟอาร์เอส 9) ซึ่งจะเริ่มใช้ในปี 62 และเผื่อการลงบัญชีเป็นหนี้สูญและการขายหนี้เสียในปลายปี

            นอกจากจะมีภาระหลายๆ เรื่องแล้ว ยังเป็นไตรมาสที่จะมีการบันทึกค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานที่สูงสุดในปี จากโบนัสพนักงานและค่าใช้จ่ายทางการตลาดอื่น ดังนั้นกำไรไตรมาส 4 มีโอกาสต่ำสุดในปี โดยปรับลดประมาณการกำไรสุทธิปี 60 ของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ลง 5% อยู่ที่ 191,000 ล้านบาท ลดลง 3.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่คาดการณ์ในปี 61 กำไรสุทธิจะกลับมาเติบโตที่ 10% จากค่าใช้จ่ายการตั้งสำรองหนี้เผื่อสงสัยจะสูญที่ลดลง และการขยายตัวของสินเชื่อที่ประมาณ 5% จาก 2.5% ในปี 60

            ด้าน นายคณฆัส จิรเสวีนุประพันธ์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและบริการ การลงทุน บล.โนมูระ พัฒนสิน เปิดเผยว่า นักลงทุนต้องติดตามการประกาศงบการเงินของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ทั้ง 11 แห่ง ซึ่งเป็นกลุ่มแรกที่เริ่มการประกาศงบการเงิน อาจส่งผลให้เกิดแรงซื้อเก็งกำไรเข้ามาเป็นจำนวนมาก จากการคาดการณ์ว่ากำไรธนาคารพาณิชย์บางแห่งจะเริ่มดีขึ้นหลังการตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญลดลง ซึ่งจะช่วยดันดัชนีหุ้นไทยให้ผันผวนในแดนบวกต่อ เบื้องต้น เชื่อว่านักวิเคราะห์จะปรับประมาณการกำไรกลุ่มธนาคารพาณิชย์ปี 61 ใหม่หลังประกาศงบการเงินเสร็จแล้ว

            หากจำกันได้ในการประกาศงบการเงินประจำไตรมาส 3/60 และงวด 9 เดือน ปี 2560 โดยไตรมาส 3/60 มีกำไรสุทธิรวมอยู่ที่ 49,707 ล้านบาท ลดลง 4,310 ล้านบาท หรือ -7.97% เมื่อเทียบกับไตรมาส 3/59 ที่อยู่ที่ 54,017 ล้านบาท ส่วนงวด 9 เดือน กำไรสุทธิรวมอยู่ที่ 151,680 ล้านบาท ลดลง 4,030 ล้านบาท หรือ -2.58% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ที่ 155,710 ล้านบาท

            ซึ่งในตอนนั้นธนาคารเล็กจะมีผลกำไรเพิ่มขึ้นมากที่สุดในไตรมาส 3 คือ บมจ.ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป (TISCO) บมจ.ทุนธนชาต (TCAP) และธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) (TMB) ส่วนงวด 9 เดือน ธนาคารที่มีกำไรเพิ่มขึ้นมากที่สุดคือ TCAP ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) (KKP) และธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) (BAY)

            ด้านธนาคารที่มีผลกำไรลดลงมากที่สุดในไตรมาส 3 คือ  ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) (CIMBT) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (KTB) และธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) (KBANK) ส่วนงวด 9 เดือน ธนาคารที่มีกำไรลดลงมากที่สุด คือ CIMBT KTB และ บมจ.แอล เอช ไฟแนนซ์เชียล กรุ๊ป (LHBANK)

            และมาในปีนี้ที่เพิ่งจะประกาศออกมาแค่ 2 ธนาคาร อย่าง TISCO ปี 60 มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 4,419.84 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,300.91 ล้านบาท หรือ 41.71% โดยส่วนใหญ่เป็นรายได้จากค่าธรรมเนียมที่เพิ่มขึ้น รวมถึงการเพิ่มขึ้นของรายได้ดอกเบี้ยจากธุรกิจสินเชื่อที่รับโอนจากธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ประเทศไทย) ส่วน LHBANK ไตรมาส 4/60 มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 729.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16.8% เมื่อเทียบกับไตรมาส 4/59 และปี 60 มีกำไรสุทธิจำนวน 2,603.4 ล้านบาท ลดลง 3.4% เมื่อเทียบกับปี 59 ที่อยู่ที่ 2,696.4 ล้านบาท

            ยังคงน่าลุ้นว่าปีนี้ธนาคารขนาดเล็กจะยังครองแชมป์กำไรเพิ่มขึ้นมากที่สุดหรือไม่ ซึ่งก็ไม่น่าจะผิดจากที่คาดสักเท่าไหร่ เพราะที่ผ่านมาปัญหาจากธนาคารขนาดใหญ่ดูเหมือนจะงานเข้ากันตลอดเวลา ที่สำคัญไอเอฟอาร์เอส 9 ดูเหมือนจะเป็นโจทย์ใหญ่สำหรับธุรกิจธนาคาร

            ที่สำคัญในยุคของเทคโนโลยีในปัจจุบัน จึงต้องมีการลงทุนด้านระบบสารสนเทศ เพื่อรองรับบริการด้านดิจิทัลแบงกิ้ง ที่มีการเพิ่มขึ้นของการทำธุรกรรม ซึ่งตรงนี้อาจจะมีค่าใช้จ่ายลงทุน แต่เป็นทั้งลงทุนครั้งเดียว และได้ผลที่คุ้มค่าในอนาคตแน่นอน.

ปฏิญญา สิงห์พิสาร


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"