ขยะทะเล...สู่...การเพิ่มรายได้ชุมชน


เพิ่มเพื่อน    

ขยะทะเล...สู่...การเพิ่มรายได้ชุมชน

ปัญหาขยะพลาสติกกำลังเป็นปัญหาใหญ่ ที่สร้างมลพิษให้กับสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะสัตว์ทะเล ดังนั้น กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) จับมือประชาคมวิจัย ได้แก่ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี  ลงนามบันทึกข้อตกลง “ความร่วมมือภาคีเครือข่าย ขยะทะเล...สู่...การเพิ่มรายได้ชุมชนระยอง” ร่วมกับกลุ่มชุมชน ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนส่งเสริมอาชีพชุมชนเกาะกก และหมู่บ้านเอื้ออาทรจังหวัดระยอง (วังหว้า) เพื่อถ่ายทอดนวัตกรรมการผลิตวัสดุก่อสร้างจากพลาสติกใช้แล้วให้กับชุมชน หวังสร้างรายได้ ยกระดับคุณภาพชีวิต และลดปัญหาขยะในทะเลไทยอย่างยั่งยืน

         

นายฉัตรชัย เลื่อนผลเจริญชัย ประธานบริหาร กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย กล่าวว่า เราตระหนักถึงปัญหาพลาสติกใช้แล้วที่หลุดรอดไปสู่สิ่งแวดล้อม และพยายามหาวิธีการต่างๆ เข้ามาจัดการอย่างยั่งยืน ดาวได้ตั้งเป้าที่จะช่วย  “หยุดขยะพลาสติก” โดยมุ่งมั่นจะผลักดันให้พลาสติกใช้แล้วจำนวน 1 ล้านตันจากทั่วโลกถูกเก็บกลับมาใช้ประโยชน์ หรือรีไซเคิล ซึ่ง “ความร่วมมือภาคีเครือข่าย ขยะทะเล...สู่...การเพิ่มรายได้ชุมชนระยอง” ก็เป็นอีกหนึ่งในโครงการสำคัญที่จะนำผลงานด้านการศึกษาและงานวิจัยมาใช้ประโยชน์ได้จริง เราพร้อมที่จะเป็นฟันเฟืองในการประสานงานระหว่างประชาคมวิจัยและกลุ่มชุมชน เพื่อให้โครงการประสบความสำเร็จ”

         

"การผสมพลาสติกใช้ในวัสดุก่อสร้างจะช่วยให้ผลิตภัณฑ์มีน้ำหนักเบา และลดการใช้วัสดุที่ใช้แล้วหมดไปเช่น ทราย และหิน หากนำก้อนอิฐไปทำเป็นวัสดุปูพื้นนอกอาคาร ก็จะช่วยลดความร้อนของพื้นผิว สามารถเดินหรือทำกิจกรรมในเวลากลางแจ้งได้" นายฉัตรชัยกล่าว

        

  ทั้งนี้วัสดุก่อสร้างที่ได้จากโครงการนี้จะมีมาตรฐานเทียบเท่ามาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ใช้สำหรับการก่อสร้างภายนอกอาคาร เช่น บล็อกปูพื้น คอนกรีตบล็อก และขอบคันหิน โดยจะใส่พลาสติกทดแทนหินและทรายในสัดส่วน 0.4–1.5 กิโลกรัมต่อชิ้น หรือประมาณ 6-10% ของน้ำหนักทั้งหมด ราคาไม่ต่างจากวัสดุทั่วไปและมีความคงทนเทียบเท่าของเดิม คาดว่าจะสร้างรายได้ให้ชุมชนกว่า 400,000-1,500,000 บาทต่อปี และลดปริมาณขยะพลาสติกได้กว่า 30,000 กิโลกรัมต่อปี เป็นประโยชน์ทั้งด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม

         

นายวิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า การแก้ไขและลดปัญหาผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากขยะพลาสติก โดยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาสร้างมูลค่าเพิ่มให้ขยะพลาสติกและสร้างรายได้แก่ชุมชน สร้างเครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชนในพื้นที่ ก่อให้เกิดการผลักดันนโยบายและสร้างความตระหนักต่อปัญหาการจัดการขยะในวงกว้าง รวมทั้งสามารถสร้างระบบเศรษฐกิจแบบหมุนเวียนที่มุ่งลดของเสียและใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด

          อย่างไรก็ตาม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ร่วมกับเครือข่ายนักวิจัยของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี วิจัยและออกแบบนวัตกรรมในการนำขยะพลาสติกจากทะเลมาเป็นวัตถุดิบในวัสดุก่อสร้าง โดยชุมชนสามารถผลิตเพื่อจำหน่ายได้เอง อาทิ กระเบื้องพื้นสนาม กระถางต้นไม้ นอกจากจะเป็นการกำจัดขยะพลาสติกยังเป็นการสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนในระยะยาว ผู้สนใจสั่งซื้อวัสดุก่อสร้างผสมพลาสติกใช้แล้ว มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ติดต่อได้ที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี สามารถรับชมวิดีโอแนะนำโครงการ “ความร่วมมือภาคีเครือข่าย ขยะทะเล...สู่...การเพิ่มรายได้ชุมชนระยอง” ได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=0kyliIq6rYo

 

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"