กระทุ้งรัฐเร่งปฎิรูประบบสาธารณสุข รับมือโควิดหลายสายพันธุ์


เพิ่มเพื่อน    

22 ส.ค.64 -  รศ. ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ อดีตกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง กล่าวว่า รัฐบาลควรเดินหน้าคลายล็อกดาวน์ในทุกพื้นที่ ในบางกิจกรรมหากตัวเลขผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นต่ำกว่าผู้ได้รับการรักษาหายป่วยมากพอและสามารถทำให้ผู้ป่วยที่ต้องรักษาในระบบสาธารณสุขลดลงมาเหลือต่ำกว่า 100,000 รายจากปัจจุบันอยู่ที่ 200,339 ราย 

รศ.ดร.อนุสรณ์ ระบุว่า จากระบบสาธารณสุข ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าควรต้องจัดการความเสี่ยงด้านอุปทานเพิ่มขึ้นโดยจัดสรรงบประมาณให้โรงพยาบาลของรัฐตามความเสี่ยงของประชากรที่ขึ้นทะเบียนกับโรงพยาบาลต่างๆ นั่นคือ ผู้ให้บริการในพื้นที่เสี่ยงสูงและต้องดูแลประชากรที่มีความเสี่ยงสูงควรจะเหมาจ่ายต่อหัวสูงกว่าผู้ให้บริการหรือโรงพยาบาลที่ดูแลประชากรที่มีความเสี่ยงต่ำกว่า ไม่ควรกำหนดการเหมาจ่ายแบบคงที่ทั่วทั้งประเทศ และ แนวทางตามที่ผมเสนอนี้ควรจะนำมาใช้ในสถานการณ์ที่โรงพยาบาลต่างๆมีภาระในการดูแลรักษาผู้ป่วย Covid ฉีดวัคซีน และป้องกันการแพร่ระบาดแตกต่างกันด้วย 

รศ.ดร.อนุสรณ์ ระบุว่า ฉะนั้นงบประมาณต้องจัดสรรไปตามภาระและแผนงานกิจกรรมที่ต้องทำ และ ไม่ควรรวมศูนย์การตัดสินใจเพราะจะทำให้แก้ปัญหาล่าช้าและไม่ทันกาล  หากมีความจำเป็นต้องขยายล็อกดาวน์เพราะตัวเลขติดเชื้อไม่ลดลงเลยและมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น และต้องล็อกดาวน์ไปอีกอย่างน้อยจนถึงปลายปีในขณะที่รอฉีดวัคซีนกันอยู่ รัฐบาลต้องเตรียมงบประมาณจ่ายเยียวยาให้ภาคธุรกิจและประชาชนเพิ่มเติมหากต้องขยายล็อกดาวน์ และ ควรประกาศล่วงหน้าและเยียวยาทันทีก่อนสั่งปิดพื้นที่หรือกิจกรรมเพื่อไม่ให้ “ความทุกข์ยากทางเศรษฐกิจ” รุนแรงไปกว่าระดับวิกฤติในขณะนี้ ควรเตรียมเงินงบประมาณไม่ต่ำกว่าอีก 300,000 ล้านบาทหากต้องล็อกดาวน์ถึงปลายปี 

รศ.ดร.อนุสรณ์ ระบุว่า การคลายล็อกดาวน์และเปิดให้บางกิจกรรมตามเงื่อนไขที่กล่าวมา (ผู้ป่วยที่ต้องรักษาตัวในระบบสาธารณสุขต่ำกว่า 100,000 คน) การให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจและการดำเนินชีวิตเป็นไปตามปรกติเพื่อให้ประชาชนมีงานทำ กิจการธุรกิจต่างๆมีรายได้ รัฐจะได้เก็บภาษีมาบริหารประเทศและแก้วิกฤตการณ์ได้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ การคลายล็อกดาวน์และเปิดประเทศอย่างมียุทธศาสตร์นั้นเริ่มต้นต้องอยู่บนพื้นฐานของการประเมินสถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศและโลกได้อย่างถูกต้องด้วยข้อมูลที่น่าเชื่อถือและเป็นวิทยาศาสตร์ ต้องสร้างความน่าเชื่อถือและศรัทธาต่อข้อมูลข่าวสารและระบบการสื่อสารโดยภาครัฐ อย่าปิดกั้นความเห็นต่างที่สร้างสรรค์เพื่อแก้ปัญหาวิกฤติของประเทศหรือมองเพื่อนร่วมชาติด้วยสายตาหวาดระแวง ต้องศึกษาบทเรียนจากความล้มเหลวจากการคลายล็อกดาวน์ในสองครั้งที่ผ่านมาว่าเกิดจากปัจจัยอะไรและเร่งแก้ไขไม่ให้เกิดซ้ำรอยอีก
 
รศ. ดร. อนุสรณ์ กล่าวอีกว่า แม้นจำนวนการติดเชื้อเพิ่มรายวันจะลดลงไม่มากและน่าจะเลยจุดพีคมาแล้ว มีสัญญาณดี คือ จำนวนผู้ติดเชื้อรายวันต่ำกว่าจำนวนหายป่วยกลับบ้าน หากเปรียบเทียบประเทศที่มีจำนวนประชากรใกล้เคียงกันอย่างประเทศอังกฤษและฝรั่งเศสจำนวนผู้ติดเชื้อและจำนวนผู้เสียชีวิตของไทยต่ำกว่า ขณะเดียวกัน ความเสียหายทางเศรษฐกิจของไทยจากการล็อกดาวน์สูงกว่าสองประเทศนี้มาก การระบาดระลอกใหม่ในอนาคตอาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และโรคระบาดอุบัติใหม่และการกลายพันธุ์ของไวรัสโควิด19 ก็สามารถเกิดขึ้นได้อีก

รศ.ดร.อนุสรณ์ ระบุว่า การปฏิรูปการใช้จ่ายงบประมาณทางด้านสาธารณสุขและบริการสุขภาพใหม่มีความจำเป็น การปฏิรูประบบสาธารณสุขและการบริการสุขภาพนี้ไม่ใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงเล็กๆน้อยๆ การปฏิรูปนี้ต้องมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งบประมาณทางด้านสาธารณสุขและการบริการสุขภาพโดยไม่ไปลดความเสมอภาคในการเข้าถึงการใช้บริการ และ สามารถตอบสนองต่อความจำเป็นของประชาชนภายใต้การแพร่ระบาดของ Covid-19 และ Covid กลายพันธุ์ใหม่ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นอีกหลายระลอก วิธีการปฏิรูปที่เป็นรูปธรรม คือ การแบ่งแยกผู้ซื้อและผู้ขายบริการสุขภาพออกจากกัน การจ่ายเงินแบบเหมาจ่ายต่อหัว (Capitation) มากขึ้น การกำหนดให้มีการ Contracting-out การทำ self-governing hospital เป็นต้น การปฏิรูปแนวทางนี้จะทำให้เกิดการพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งบประมาณผ่านตลาดภายในของบริการสุขภาพเอง. 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"