20 ส.ค.2564 รายงานข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ฉลองครบรอบ 29 ปี วันคล้ายวันก่อตั้ง รฟม. ในวันเสาร์ที่ 21 สิงหาคม 2564 ภายใต้แนวคิด “The Unlimited Move ไม่หยุดขับเคลื่อนความสุขของคนเมือง” เพื่อสื่อสารคำมั่นว่า “รฟม.พร้อมเดินหน้าพัฒนาโครงข่ายรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อส่งมอบความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้บริการ อันเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนเมืองอย่างยั่งยืน”
ทั้งนี้ รฟม. ร่วมกับบริษัทผู้ร่วมลงทุน/ผู้รับสัมปทาน บริษัทที่ปรึกษาโครงการ บริษัทผู้รับเหมา หน่วยงานภาครัฐ และผู้มีจิตศรัทธา ได้ร่วมบริจาคเงินให้แก่มูลนิธิออทิสติกไทย ตลอดจนสนับสนุนให้น้องๆ กลุ่มออทิสติกได้มีโอกาสแสดงออกถึงพรสวรรค์และจินตนาการ ผ่านงานออกแบบชุดของที่ระลึก “MRTA x ARTSTIRY by Autistic Thai” ซึ่ง รฟม.จะนำส่งมอบแก่หน่วยงานที่มาร่วมแสดงความยินดีผ่านทางระบบออนไลน์ต่อไป
นอกจากนี้ รฟม.ยังส่งต่อความสุขให้แก่ประชาชน โดยเชิญชวนผู้สนใจร่วมสนุกในกิจกรรม “แคปฯ ทัน!..มีรางวัล” ผ่านช่องทางเฟซบุ๊กแฟนเพจการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ในระหว่างวันที่ 16-26 สิงหาคม 2564 เพื่อลุ้นรับชุดของที่ระลึกดังกล่าวอีกด้วย
นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า รฟม.เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจภายใต้สังกัดกระทรวงคมนาคม ก่อตั้งเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2535 โดยมีภารกิจในการสร้างโครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพและช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรในเขตเมือง ทั้งในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ตลอดจนจังหวัดใหญ่ในภูมิภาคอย่างยั่งยืน โดยปัจจุบัน รฟม.ประสบความสำเร็จในการเปิดให้บริการรถไฟฟ้ามหานครแล้วจำนวน 2 เส้นทาง ได้แก่ รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (MRT สายสีน้ำเงิน) และรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (MRT สายสีม่วง) และแม้จะเผชิญต่อสถานการณ์ที่ยากลำบากจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 อยู่บ้าง รฟม.ยังคงมีความมุ่งมั่นที่จะกำกับการดำเนินงานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าให้คืบหน้าต่อไปได้ โดยอาศัยการรณรงค์สร้างจิตสำนึกความปลอดภัยทั้งต่อตนเองและต่อสังคมส่วนรวม และการควบคุมให้ผู้ปฏิบัติงานทุกภาคส่วนปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดต่างๆ อย่างเคร่งครัดควบคู่กันไป
ทั้งนี้ส่งผลให้โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง มีความก้าวหน้าโดยรวม 81.40% (ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2564) และโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี มีความก้าวหน้าโดยรวม 78.77% (ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2564) คาดว่าทั้งสองโครงการจะสามารถเปิดให้บริการได้ในปี 2565 สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันออก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีความก้าวหน้างานโยธา 84.44% (ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2564) ซึ่งเมื่อรวมกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันตก) ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ที่อยู่ในระหว่างเตรียมดำเนินการ จะกลายเป็นอีกหนึ่งโครงข่ายสำคัญที่เชื่อมต่อกรุงเทพมหานครในแนวฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกเมื่อเปิดให้บริการได้ตามแผนในปี 2570
นอกจากนี้ รฟม.ยังมีโครงการที่อยู่ระหว่างเตรียมดำเนินการ และมีแผนจะเปิดให้บริการในปี 2570 เช่นเดียวกันนี้อีก 2 โครงการ ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ซึ่งจะเป็นการต่อขยายแนวเส้นทางจากรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง ที่สถานีเตาปูน (เขตบางซื่อ) ลงมาทางทิศใต้ของกรุงเทพมหานคร และโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) ที่มีโครงสร้างร่วมกันกับโครงสร้างทางด่วนของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.)
ทั้งนี้ในส่วนของภารกิจการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนในเขตเมืองหลักภูมิภาค รฟม.มีความพร้อมในการผลักดันโครงการในระยะแรกในพื้นที่ 4 จังหวัด รวมจำนวน 4 โครงการ ได้แก่ โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง, โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์-แยกแม่เหียะสมานสามัคคี, โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว ช่วงตลาดเซฟวัน-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ และโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดพิษณุโลก สายสีแดง ช่วงมหาวิทยาลัยพิษณุโลก-ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพิษณุโลก เพื่อเป็นการรองรับแผนพัฒนาระบบขนส่ง และระบบโลจิสติกส์อื่นๆ ของกระทรวงคมนาคม ตลอดจนขับเคลื่อนเศรษฐกิจองค์รวมของประเทศไทยไปจนถึงระดับภูมิภาคอาเซียน
อย่างไรก็ตามตลอดระยะเวลา 29 ปี รฟม.ได้ยึดมั่นในการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล และการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อพัฒนาองค์กรและกำกับงานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าให้เกิดประสิทธิผลสำเร็จเป็นโครงข่ายที่ครอบคลุมทุกการเดินทาง ทั้งยังตระหนักถึงความสำคัญในการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม เพื่อนำมาพัฒนา ปรับปรุง ต่อยอดการดำเนินงานเพื่อความยั่งยืนขององค์กร สำหรับความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (Corporate Social Responsibility : CSR) รฟม.คำนึงถึงผลกระทบจากการดำเนินงานโครงการรถไฟฟ้าที่อาจเกิดขึ้นต่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม ทั้งในกระบวนการดำเนินงานหลักขององค์กร (CSR In Process) และการใส่ใจช่วยเหลือสังคมผ่านโครงการต่างๆ (CSR After Process) ให้แก่ชุมชนตามแนวสายทางโครงการรถไฟฟ้าสายต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
เช่น โครงการกล่องทันใจเติมความสุขให้ประชาชน เพื่อช่วยเหลือธุรกิจร้านอาหารที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 และส่งเป็นกำลังใจให้แก่บุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วยที่โรงพยาบาลต่างๆ กิจกรรมบริจาคเงินและสิ่งของที่จำเป็นให้แก่โรงพยาบาลและสถานพยาบาล รวมทั้งโครงการส่งเสริมอาชีพ ผลิตภัณฑ์ บริการ และแหล่งท่องเที่ยวของชุมชนในเส้นทางรถไฟฟ้า เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชนตามแนวสายทางโครงการรถไฟฟ้าสายต่างๆ เป็นต้น ซึ่ง รฟม.เชื่อมั่นว่าภารกิจทั้งหมดนี้จะขับเคลื่อนให้ รฟม.และสังคมเติบโตควบคู่ไปพร้อมกัน และต่อยอดไปสู่ความมั่นคงทางสังคมและเศรษฐกิจของประเทศไทยได้อย่างยั่งยืน
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |