20 สิงหาคม 2564 นางสาวชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ปัญหาของเศรษฐกิจไทยในขณะนี้ คือ หลุมรายได้ จากรายได้ครัวเรือนที่หายไปค่อนข้างมาก โดยประเมินว่าในช่วง 3 ปี (2563-2565) รายได้ครัวเรือนจะหายไปกว่า 2.6 ล้านล้านบาท จากปี 2563 ที่หายไปกว่า 8 แสนล้านบาท และปี 2564 อีก 1 ล้านล้านบาท และปี 2565 ที่คาดว่าจะเพิ่มเติมอีก
ขณะที่ตลาดแรงงานของประเทศไทยยังคงเปราะบาง และได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง โดยกลุ่มผู้ว่างงานและเสมือนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากช่วงก่อนเกิดการระบาดของโควิด-19 กว่า 1 ล้านคน และที่น่าจับตามองคือ กลุ่มผู้ว่างงานระยะยาว หรือผู้ที่ไม่มีงานทำเกิน 1 ปี ที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นกว่าช่วงก่อนเกิดการระบาดถึง 3 เท่าตัว สะท้อนถึงทักษะของแรงงานที่จะหายไป และความยากลำบากของแรงงานในกลุ่มดังกล่าวที่จะกลับมาหางานทำเมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวดีขึ้น ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจในระยะต่อไปต้องเจอปัญหาแรงงานที่หาได้ยากขึ้น ขณะที่ผู้ว่างงานที่ไม่เคยทำงานมาก่อน (นักศึกษาจบใหม่) ที่เพิ่มขึ้นจำนวนมาก ปัญหาเหล่านี้สะท้อนความเปราะบางอย่างมากของตลาดแรงงานไทย
นายสักกะภพ พันธ์ยานุกุล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายการเงิน ธปท.กล่าวว่า ต้องยอมรับว่าการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ (จีดีพี) และปีก่อนหน้ายังเติบโตได้ต่ำกว่าศักยภาพค่อนข้างเยอะ ส่วนหนึ่งเป็นผลกระทบมาจากการระบาดของโควิด-19 ดังนั้นแนวทางหนึ่งในการช่วยประคองให้เศรษฐกิจยังสามารถเดินหน้าต่อไปได้ มองว่าภาครัฐจำเป็นต้องเร่งอัดฉีดเม็ดเงินเข้าระบบ โดยอาจจะดำเนินการผ่านการกู้เงินเพิ่มเติมอีก 1 ล้านล้านบาท
โดย ธปท. ได้มีการทำแบบจำลองกรณีรัฐบาลมีการกู้เงินเพิ่มเติมเพื่อประคองเศรษฐกิจ พบว่า หากรัฐบาลมีการกู้เงินเพิ่ม และเร่งอัดฉีดเม็ดเงินเข้าระบบเศรษฐกิจ ในช่วง 2-3 ปีนี้ จะช่วยให้จีดีพีของไทยเฉลี่ย 5 ปีข้างหน้า สามารถขยายตัวได้ที่ระดับ 3.2% แต่หากรัฐบาลไม่มีการกู้เงินเพิ่มเติม ไม่มีการอัดฉีดเม็ดเงินเข้าระบบเศรษฐกิจ ภาพการขยายตัวของจีดีพีในช่วง 5 ปีข้างหน้าก็จะเติบโตได้ไม่ถึง 3%
“หากรัฐบาลมีการกู้เงินเพิ่มอีก 1 ล้านล้านบาท ก็จะทำให้มีความเสี่ยงที่หนี้สาธารณะจะปรับสูงขึ้นแตะระดับ 70% ในช่วง 3-4 ปีข้างหน้าได้ แต่ในระยะกลางและระยะยาวรัฐบาลต้องเตรียมความพร้อมเรื่องการลดภาระ การรัดเข็มขัด ผ่านการปฏิรูปรายได้ การจัดเก็บภาษี การเพิ่มฐานภาษี การใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการขยายฐานภาษี โดยมองว่าการที่เศรษฐกิจดีจะทำให้เราปฏิรูปเรื่องภาษีได้ง่ายขึ้น เช่น การขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ในช่วงที่เศรษฐกิจดีย่อมทำได้ง่ายกว่า ดังนั้นหากรัฐบาลใส่เงินได้เร็ว ก็จะช่วยทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวเร็ว ถือเป็นการช่วยลดความเสี่ยงของฐานะการคลังในระยะยาวด้วย” นายสักกะภพ กล่าว
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |