19 ส.ค. 2564. สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในประเทศที่ยังไม่คลี่คลาย จำนวนผู้ติดเชื้อใหม่รายวันที่ยังทรงตัวสูง ทำให้ภาครัฐจำเป็นต้องยกระดับของมาตรการควบคุมการแพร่ระบาด ซึ่งรวมถึงการจำกัดการให้บริการของร้านอาหารเหลือเพียงช่องทางการสั่งซื้อที่หน้าร้านและการสั่งผ่านแอปพลิเคชั่นจัดส่งอาหาร (Food Delivery) ข้อจำกัดดังกล่าวส่งผลกระทบต่อรายได้ของผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหาร ซึ่งคาดว่ามูลค่ารวมของรายได้ธุรกิจร้านอาหารทั้งปี 2564 จะหายไปไม่ต่ำกว่า 6.0 หมื่นล้านบาท
จากช่องทางการสร้างรายได้ที่จำกัด ผลักดันให้บริการธุรกิจจัดส่งอาหาร (Food Delivery) กลายมาเป็นช่องทางการสร้างรายได้หลักของผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหาร นอกจากนี้ ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มออนไลน์จัดส่งอาหารหลายรายได้เร่งทำการตลาด จัดโปรโมชั่นมอบส่วนลดและยกเว้นค่าธรรมเนียมการจัดส่ง เพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบการร้านอาหาร และช่วยดึงดูดผู้บริโภครายใหม่ให้เข้ามาทดลองใช้งานในแพลตฟอร์มและเพิ่มความถี่ในการใช้งานของผู้บริโภครายเดิมเช่นกัน ทำให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า ทั้งปี 2564 ปริมาณการสั่งอาหารจัดส่งที่บ้านน่าจะมีจำนวนไม่น้อยกว่า 120 ล้านครั้ง หรือเพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าตัว เมื่อเทียบกับช่วงก่อนโควิด-19 ในปี 2562 ที่มีจำนวนประมาณ 35 – 45 ล้านครั้ง
นอกจากนี้ วิถีการใช้ชีวิตประจำวันท่ามกลางการระบาดของโควิด-19 ส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคในการใช้บริการจัดส่งอาหารไปยังที่พัก โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้สรุปการเปลี่ยนแปลงเทรนด์พฤติกรรมของผู้บริโภคที่น่าสนใจ ดังนี้
ทั้งนี้ จากปัจจัยและสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนไป ทำให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ธุรกิจจัดส่งอาหารไปยังที่พัก (Food Delivery) ในปี 2564 จะมีมูลค่ารวมสูงถึง 5.31 – 5.58 หมื่นล้านบาท หรือขยายตัวสูงถึงร้อยละ 18.4 – 24.4 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
การเติบโตของรายได้และจำนวนผู้เกี่ยวข้องที่มากในธุรกิจ ดึงดูดผู้เล่นในอุตสาหกรรมต่างๆ เข้าร่วมสมรภูมิแพลตฟอร์ม Food Delivery ขณะที่ฝั่งร้านอาหารหันปรับรูปแบบที่ยืดหยุ่นรับความไม่แน่นอน
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า สถานการณ์โควิด-19 มีส่วนผลักดันให้ธุรกิจจัดส่งอาหารขยายตัวอย่างมาก และมีผลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคในการปรับตัวมาใช้บริการจัดส่งอาหารเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ประกอบกับจำนวนร้านอาหารและผู้ส่งอาหารก็มีมาก จึงดึงดูดให้ผู้ประกอบการทั้งที่อยู่ในธุรกิจร้านอาหารและผู้ประกอบการนอกธุรกิจร้านอาหารสนใจเข้ามาลงทุนในตลาด Food Delivery ซึ่งทิศทางดังกล่าว ยิ่งทำให้ผู้เกี่ยวข้องในธุรกิจต้องเร่งปรับตัวเพื่อรับมือกับการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยการเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจของผู้เล่นซึ่งจะมีผลต่อสภาพแวดล้อมทางธุรกิจของ Food Delivery ได้แก่
การแข่งขันทางธุรกิจในโลกยุคดิจิทัล ผลักดันให้ผู้ประกอบการรายใหญ่ในเกือบทุกอุตสาหกรรมจำเป็นต้องขยายขอบเขตของระบบนิเวศทางธุรกิจ (Ecosystem) ของตน ให้ครอบคลุมไปยังหมวดสินค้าและบริการที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น ซึ่งรวมถึงธุรกิจจัดส่งอาหารไปยังที่พัก ที่ได้รับความสนใจจากผู้ให้บริการแพลตฟอร์มในหลายอุตสาหกรรม อาทิ สถาบันการเงิน, แพลตฟอร์ม E-commerce, ธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ เป็นต้น โดยผู้เล่นดังกล่าวได้รุกเข้ามาพร้อมเสนอโปรโมชั่นทางการตลาด ซึ่งจะช่วยเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้อง เช่น ผู้บริโภค ร้านอาหาร และผู้จัดส่งอาหารได้มีทางเลือกมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันจำนวนผู้บริโภคที่มียังคงกระจุกตัวอยู่ในเขตกรุงเทพฯ-ปริมณฑล และหัวเมืองที่สำคัญไม่กี่แห่ง ก็สร้างความท้าทายและก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อผู้ให้บริการแพลตฟอร์มจัดส่งอาหารให้ต้องเร่งปรับเปลี่ยนกลยุทธ์เพื่อรักษาส่วนแบ่งทางการตลาด ดังนั้น ถึงแม้รายได้ของธุรกิจจะเติบโต แต่การจะพลิกกลับมาสร้างผลประกอบการให้เป็นบวกสุทธิของผู้ให้บริการแพลตฟอร์มธุรกิจ Food Delivery ที่แข่งขันกันอย่างดุเดือด ก็เป็นเรื่องที่ไม่ง่าย
ธุรกิจร้านอาหารปรับรูปแบบการลงทุนให้มีขนาดเล็ก เพิ่มความยืดหยุ่นและตอบโจทย์การเติบโตของตลาด Food Delivery
ในภาวะที่การระบาดของโควิด-19 ยังคงมีความไม่แน่นอนสูง รวมถึงเทรนด์พฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ผู้ประกอบการร้านอาหารจะยังคงเน้นเพิ่มความระมัดระวังและปรับเปลี่ยนรูปแบบการลงทุนมายังร้านอาหารขนาดเล็ก ซึ่งนอกจากจะช่วยจำกัดความเสี่ยงในการลงทุน ยังช่วยลดต้นทุนหมุนเวียน และตอบโจทย์พฤติกรรมการใช้งานของผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น โดยรูปแบบร้านอาหารขนาดเล็กที่คาดว่าจะได้รับความสนใจ ได้แก่ ร้านอาหารที่ไม่มีหน้าร้าน (Cloud kitchen) เช่น Multi-brand Cloud Kitchen ซึ่งเป็นการรวมแบรนด์ร้านอาหารในพอร์ทของผู้ประกอบการรายใหญ่ และ Delivery app own cloud kitchen ที่ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มจัดส่งอาหารจะรวมร้านอาหารที่มีชื่อเสียงเข้ามาอยู่ใน Cloud kitchen ของตน รวมถึงร้านอาหารแบบ Kiosk/Corner ที่นอกจากจะเพิ่มทางเลือกให้แก่ผู้บริโภคแล้ว ยังสามารถช่วยลดระยะทางเฉลี่ยในการจัดส่งอาหาร ส่งผลต่อเนื่องให้ต้นทุนและระยะเวลาการจัดส่งจากร้านอาหารไปยังผู้บริโภคลดลงจากเดิมอีกด้วย
กล่าวโดยสรุป สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยังคงมีความไม่แน่นอนสูงและส่งผลต่อกิจกรรมการเข้ารับบริการในร้านอาหาร ทำให้ธุรกิจจัดส่งอาหารจะยังคงเป็นช่องทางที่สำคัญของผู้บริโภคและผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหาร โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า มูลค่าของธุรกิจจัดส่งอาหารไปยังที่พักในปี 2564 จะยังขยายตัวต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา จากปัจจัยด้านจำนวนครั้งของการสั่งที่เร่งขึ้นเป็นหลัก แม้ว่าราคาเฉลี่ยต่อครั้งที่สั่งจะลดลง
ในระยะข้างหน้า ถึงแม้ว่าธุรกิจจัดส่งอาหารจะยังคงมีทิศทางการขยายตัวของมูลค่าตลาดรวม แต่ผู้ที่เกี่ยวข้องในธุรกิจยังคงต้องเผชิญกับความท้าทายที่สำคัญ อาทิ การแข่งขันระหว่างผู้ประกอบการร้านอาหารบนแพลตฟอร์มจัดส่งอาหาร จำนวนออเดอร์เฉลี่ยต่อวันต่อรายของผู้จัดส่งอาหารที่คาดว่าจะลดลงจากจำนวนผู้ขนส่งอาหารที่เพิ่มขึ้น รวมถึงการแข่งขันทำโปรโมชั่นด้านราคา ที่ทำให้ผู้ประกอบการแพลตฟอร์มจัดส่งอาหารส่วนใหญ่ยังคงเผชิญความท้าทายในการสร้างผลกำไรสุทธิให้เป็นบวก โดยคาดว่าภาวะดังกล่าวจะยังคงดำเนินต่อเนื่องในอีก 1-2 ข้างหน้า และเป็นโจทย์ท้าทายสำคัญของผู้ให้บริการแพลตฟอร์มจัดส่งอาหารทั้งรายเดิมและรายใหญ่ที่จะเข้ามาในธุรกิจดังกล่าว
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |