18 ส.ค.64 – นพ.กู้ศักดิ์ กู้เกียรติกูล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า สถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 ในกลุ่มชาวประมง แพปลา ที่ผ่านมาเมื่อเดือนกรกฏาคม 2564 ได้ไปสุ่มตรวจในเรือประมง แพปลา มีผู้ติดเชื้อ 1-2 คน นำมารักษาส่วนผู้สัมผัสเสี่ยงสูงนำมากักตัวในเรือ ช่วงนั้นจะระบาดไม่มาก เป็นเชื้อโควิดคนละสายพันธุ์กับตอนนี้ที่เป็นการระบาดของสายพันธุ์เดลตา โดยใน2-3 อาทิตย์ที่ผ่านมา มีเรือประมงติดเชื้อแล้ว 3 ลำ ผู้ติดเชื้อ 95 คน เป็นผู้ที่มีร่างกายแข็งแรง ยังทำงานได้ปกติทุกอย่างถ้าไม่ตรวจคือไม่ทราบเมื่อตรวจพบจึงให้กักตัวในเรือ มีทีมสาธารณสุขไปประเมินเป็นรอบๆ และจัดส่งยาถ้ามีอาการ ซึ่งเขาชอบกักตัวบนเรือมากกว่าไปอยู่ที่โรงพยาบาลสนาม ส่วนผู้ที่มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไปผู้ที่มีโรคประจำตัว เบาหวาน ความดัน จะนำมารักษาที่โรงพยาบาล
“ในช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมาได้ร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตและประมงจังหวัดภูเก็ต ลงพื้นที่สุ่มตรวจ 100คน เจอ ผลบวก 30%เป็นอย่างน้อยของแรงงานเมียนมา มีร่างกายแข็งแรงดีทุกคนและเมื่อวันที่ 17 ส.ค.64 ลงไปสุ่มตรวจคัดกรองโรคโควิด -19 เป็นบุคคลที่ทำงานในบริษัทเกี่ยวเนื่องประมง จำนวน 47 คน แยกเป็นคนไทย 12 คน พม่า 35 คน พบติดเชื้อ 16 คน เป็นคนไทย 4 คน เมียนมา 12 คน สามารถกะได้เลยว่าถ้ามีแรงงาน 1,000 คนอย่างน้อย 30%คูณเข้าไปได้เลยว่าจำนวนเท่าไร เป็นคนร่างกายแข็งแรงดีเชิญมาดูอาการก่อน เพราะเป็นกลุ่มเสี่ยง การตรวจมีการเตรียมการพบแล้วจะแยกอย่างไรคนกลุ่มนี้ แข็งแรง ถ้ามีไข้ไอให้กินยาลดไข้ถ้าหายไม่มีอาการ ถ้าพบจำนวนมากขึ้นต้องกักตัวบนเรือ ส่วนแรงงานต่างด้าวตามแคมป์ให้กักตัวในแคมป์ที่พบผู้ติดเชื้อแล้ว 2-3 แคมป์”นพ.กู้ศักดิ์ กล่าว
ด้านนายวัชรินทร์ รัตนชู ประมงจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า แรงงานภาคการประมงในจังหวัดภูเก็ต มีจำนวน 3,000คน แยกเป็นแรงงานคนไทย 1,400 คน แรงงานต่างด้าว 1,600 คน มี มาตรการป้องกันเฝ้าระวังโรคโควิด-19 คือ มาตรการควบคุมท่าเทียบเรือจะคัดกรองทุกคน 100% และมาตรการควบคุมเรือประมง ที่เป็นกลไกสำคัญจะแพร่ระบาด ได้มีการคัดกรอง 100%เช่นกัน ยืนยันได้ว่าการติดเชื้อจากภาคประมงไม่มี ตอนนี้ให้แรงงานประมงอยู่ในเรือประมงและบริเวณท่าเทียบเรือเท่านั้น จะสร้างความลำบากใจจากไต๋เรือบ้าง ส่วนใหญ่แรงงานเป็นคนไทย ได้รับความร่วมมืออย่างดี อาจมีการตักเตือนกันบ้างแต่ไม่มีการฝ่าฝืน ซึ่งแรงงานในเรือและแรงงานคัดแยกสัตว์น้ำจะคัดกรองโรคทุกคนที่ท่าเทียบเรือประมงภูเก็ต
"ถ้าท่าเทียบเรือใดมีผู้ติดเชื้อทั้งระบบด้วยความเห็นของสาธารณสุขจังหวัดถ้าเห็นความจำเป็นต้องปิดท่าเทียบเรือก็จำเป็นต้องปิดท่าเทียบเรือประมงภูเก็ต เพราะว่าถ้าไม่ปิดจะแพร่กระจายออกไปอีก รวมถึงพ่อค้าแม่ค้าหลังจากนี้ที่จะเข้ามาซื้อสัตว์น้ำที่บริเวณท่าเทียบเรือประมงภูเก็ต จะต้องมีบัตรผ่านการฉีดวัคซีน ต้องมีผลตรวจทุก 7 วัน เพราะแม่ค้าเมื่อซื้อเสร็จแล้วจะไปที่อื่น เราสามารถจัดการได้ รวมทั้งชุมชนบริเวณข้างท่าเทียบเรือประมงภูเก็ต มีชุมชนหลัก จำนวน 4 ชุมชน แม้จะคลีนเคลียร์แรงงานประมงแล้วพอขึ้นท่ามาเขาไปหาครอบครัวในชุมชนอีก จึงต้องสร้างความเชื่อมั่นว่า ทั้งปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในต้องไม่มีผู้เป็นพาหะติดเชื้อ รวมทั้งอาหารทะเลในจังหวัดภูเก็ต มีการผลิตปีละ 100,000 ตัน มีเพียงพอ ถ้าปรุงอาหารทะเลให้สุกที่ความร้อน100 องศาเซลเซียส ปลอดภัยและปลอดโควิด" นายวัชรินทร์ กล่าว
ด้านนายสมยศ วงศ์บุณยกุล นายกสมาคมประมงชาวภูเก็ต กล่าวว่า สมาคมมีความเป็นห่วงมากที่ลูกเรือประมงไปติดโควิด-19 จึงประชุมกันบ่อยมาก ทางสมาคมมีความเห็นกันว่า คลัสเตอร์ใหญ่ตอนนี้อยู่ที่ท่าเทียบเรือประมงภูเก็ต ส่วนมากเป็นอวนล้อมจับ มีจำนวน 40 ลำ ลูกเรือลำละ 25-30 คน ในจำนวน 40 ลำนี้เข้ามาที่ท่าเทียบเรือประมงรวมจำนวนกว่า 1,000 คน บริบทของอวนล้อมคือจับปลาช่วงเดือนมืด จะจอดช่วงเดือนหงายประมาณ 7-8 วัน ช่วงนี้จะเข้าช่วงเดือนหงาย เราจึงปรึกษาประมงจังหวัดว่า เพื่อเป็นการเซฟตัวเอง จะขอให้จังหวัดประกาศให้ปิดท่าเทียบเรือประมง 14 วัน เพื่อคัดกรองเอาคนติดเชื้อส่งไปรักษาที่โรงพยาบาลสนามส่วนกลุ่มเสี่ยงให้กักตัวในเรือไปจอดเรือข้างนอกหากดำเนินการปิดชั่วคราวนั้นผลกระทบจากการบริโภคสัตว์น้ำสินค้าประมงจะมีผลกระทบน้อยมาก
นายชาญชัย ตันวชิรพันธ์ กำนันตำบลรัษฎา กล่าวว่า การปิดสถานที่ในการป้องปรามโรคโควิด-19 มาตรการในพื้นที่มีการตั้งจุดตรวจจุดสกัดบริเวณ 3 พื้นที่ ที่แพร่ระบาด คือ 1.ป้อมยามหน้าองค์การสะพานปลา 2.ป้อม ชรบ.หน้าที่ทำการ ชรบ. ม7 ต.รัษฎา 3.ที่ทำการกำนันตำบลรัษฏาจะมีแพแสงอรุณแพเดียวจึงไม่เสี่ยงมาก
โดยจุดเสี่ยงของการแพร่ระบาด คือ องค์การสะพานปลา เพราะว่าการแพร่ระบาดของเรือประมงไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้เลย กลุ่มเสี่ยงแพร่ระบาดตรงนั้นมีแพปลาอุตสาหกรรม และต่อเนื่องประมง จุดที่สำคัญที่สุดต้องปิดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ในเรือประมงมีกิจการอวนลากและอวนล้อมจับ ส่วนมาตรการปิดพื้นที่ จะไม่ให้ไต๋เรือลูกเรือประมงเข้าหรือออกให้อยู่ในบริเวณแพตรงนั้นเพื่อป้องกันและสร้างความมั่นใจให้พ่อค้าแม่ค้าว่าการทำงานตรงนี้เรือประมงป้องกันเต็มที่มีบัตรที่แพออกให้เฉพาะ และไม่ให้บุคคลภายนอกเข้าออก
ส่วนนายพิเชษฐ์ ปาณะพงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า ขณะนี้มีมาตรการจัดการพื้นที่คลัสเตอร์ใหญ่อาทิ สะพานปลาแพปลา กลุ่มตลาดสดเทศบาล กลุ่มแคมป์คนงานก่อสร้าง มีการจัดการเชิงพื้นที่กันอยู่ นำโดยนายอำเภอเมืองภูเก็ตร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งตอนนี้ตัวเลขที่แพปลา มีจำนวนผู้ติดเชื้อมากขึ้นการจัดการเชิงพื้นที่ นายอำเภอเมืองร่วมกับประมงจังหวัดภูเก็ตได้ปิดพื้นที่ให้เรือประมงเข้ามาจอด ทำการตรวจคัดกรองโรคโควิด-19 กัน ซึ่งพื้นที่องค์การสะพานปลาตอนนี้ห้ามมีการใช้งานแล้ว ดังนั้นทางจังหวัดจะนำเรื่องนี้ประชุมในวันที่ 19 สิงหาคม 2564 และออกคำสั่งปิดเลย ให้เปิดไว้เฉพาะแพปลาเอกชน
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |