มิโนรุ อามาโนะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ซูซูกิ มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ท่ามกลางสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ทวีความรุนแรงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ทำให้โรงพยาบาลไม่สามารถรองรับดูแลผู้ป่วยได้อย่างทั่วถึง จึงทำให้ส่วนหนึ่งของผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัดต้องการกลับไปรักษาตัวที่ภูมิลำเนา ที่มีญาติหรือโรงพยาบาลที่พร้อมจะดูแลและให้การรักษา เป็นการช่วยแบ่งเบาภาระให้กับโรงพยาบาลในที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งจากสถานการณ์ดังกล่าวส่งให้มีปริมาณผู้ป่วยต้องการกลับไปต่างจังหวัดมีค่อนข้างสูง แต่รถที่ให้บริการขนส่งผู้ป่วยหรือรถพยาบาล ไม่สามารถรองรับและให้บริการได้อย่างเพียงพอในปัจจุบัน ซูซูกิจึงเกิดแนวคิดให้มีการพัฒนารถ SUZUKI CARRY รถบรรทุกอเนกประสงค์ขนาดย่อมมาปรับเปลี่ยนเป็นรถเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเพื่อพาผู้ป่วยโควิด-19 กลับบ้าน โครงการ SUZUKI Carry to Your Home จึงได้เกิดขึ้น โดยซูซูกิร่วมกับพันธมิตรทุกภาคส่วนในการออกแบบและพัฒนา SUZUKI CARRY ให้เป็นรถเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่ติดตั้งระบบความดันลบ ที่จะอำนวยความสะดวกและมอบความปลอดภัยให้แก่ทั้งเจ้าหน้าที่และผู้ป่วยในการเดินทางกลับไปรักษาตัวยังภูมิลำเนาในต่างจังหวัด
วัลลภ ตรีฤกษ์งาม กรรมการบริหารด้านการขายและการตลาด เปิดเผยว่า เพื่อเป็นการตอกย้ำให้เห็นถึงดีเอ็นเอแห่งความเป็นกระบะบรรทุกอเนกประสงค์ ที่สามารถปรับไปใช้งานได้ในทุกสถานการณ์ แม้ยามต้องเผชิญวิกฤตต่างๆ และไม่ได้มีเพียงภาพจำในฐานะ“ฟู้ดทรัค” ธุรกิจติดล้อที่ใช้การตลาดเชิงรุกในการวิ่งเข้าหาผู้บริโภค จนกลายเป็นขวัญใจผู้ประกอบการยุคใหม่เท่านั้น ที่ผ่านมาทางซูซูกิได้ร่วมมือกับทางพันธมิตรทุกภาคส่วน ในการจัดทำรถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัย” หรือ “รถตรวจโควิด” แบบ SWAB 1 ทาง และ 3 ทาง เพื่อช่วยเหลือผู้เดือดร้อนต่างๆ จนมาถึงการต่อยอดอีกครั้งด้วยโครงการ SUZUKI Carry to Your Home เป็นอีกหนึ่งผลงานแห่งความภูมิใจ ที่เกิดจากความร่วมมือของหมอแล็บแพนด้า (ทนพ. ภาคภูมิ เดชหัสดิน) ศูนย์นวัตกรรม KMITL FIGHT FOR COVID-19 และศูนย์วิจัยและออกแบบงานสร้างสรรค์ (Research and Creative Design Center: RCDC) คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในการพัฒนารถส่งผู้ป่วยโควิด-19 กลับภูมิลำเนาได้อย่างสะดวก และปลอดภัยตลอดการเดินทาง
โดยออกแบบพื้นที่กระบะบรรทุกของ SUZUKI CARRY ขนาดกว้าง 1,670 มิลลิเมตร ยาว 2,450 มิลลิเมตร และรับน้ำหนักได้ 945 กิโลกรัม ให้เป็นห้องปฐมพยาบาลขนาดย่อม สามารถพาผู้ป่วยได้ 4-6 คนต่อเที่ยว ภายในประกอบด้วยอุปกรณ์ช่วยเหลือต่างๆ ติดตั้งระบบ HEPA Filter มาตรวัดแรงดันลม ถังออกซิเจน 1.5Q ไปป์ไลน์ เตียงผู้ป่วยแบบปรับนั่งได้ และเบาะนั่ง 3 ที่นั่ง ติดตั้งระบบอินเตอร์คอมสำหรับสื่อสารระหว่างคนขับและคนนั่งด้านหลัง และระบบกระแสไฟฟ้าสำหรับสำรองไฟและการใช้งานตลอดการเดินทาง ช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่อาจแพร่สู่บุคคลอื่นในระหว่างเดินทาง และคนขับที่ต้องพาผู้ป่วยไปส่งที่ภูมิลำเนาก็ปลอดภัยด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ ได้มีการส่งมอบรถอย่างเป็นทางการไปเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2564 ที่ผ่านมา ณ ศูนย์พักคอย เขตคันนายาว โดยมีนายสุรเชษฐ ไชยอุปละ รองคณบดีฝ่ายกลยุทธ์สื่อสารองค์กรและสารสนเทศ ในฐานะตัวแทนสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และมีตัวแทนจาก บริษัท ซูซูกิ มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด โดยนางสาวสุชญา บานเย็น หัวหน้าส่วนการตลาด บริษัท ซูซูกิ มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด รวมถึง ทนพ.ภาคภูมิ เดชหัสดิน (หมอแล็บแพนด้า) เข้าร่วมในพิธีส่งมอบ
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |