เปิด"คู่มือต่อต้านค้ามนุษย์บนโลกไซเบอร์" มหิดลพัฒนาต่อยอดเป็น3 ภาษาครั้งแรก


เพิ่มเพื่อน    

 

ปัญหาการค้ามนุษย์บนโลกไซเบอร์ หรือ โลกออนไลน์ นับวันจะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ จากการใช้โลกออนไลน์เป็นเครื่องมือประกอบอาชญากรรมดังกล่าว อาจารย์ ดร.วัชรฤทัย บุญธินันท์ ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา (IHRP) มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ในฐานะ "ปัญญาของแผ่นดิน" ตามปณิธานของมหาวิทยาลัยมหิดล  ได้ทำงานพัฒนาส่งเสริมสิทธิมนุษยชนของแรงงานข้ามชาติในส่วนของกลุ่มเปราะบางที่เป็นเด็ก ซึ่งพบว่ามักตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ ที่มีสาเหตุหลักมาจากปัญหาความยากจนและการขาดโอกาส โดยได้มีการสร้างนวัตกรรม "คู่มือต่อต้านการค้ามนุษย์" จากการลงพื้นที่จริง เพื่อศึกษาปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น จนได้แนวทางอันเป็นประโยชน์ซึ่งจะช่วยให้เกิดความรู้เท่าทัน จนไม่ตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ โดยพัฒนาเป็น "คู่มือต่อต้านการค้ามนุษย์บนโลกไซเบอร์" ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยหวังให้เกิดความรู้เท่าทัน และขยายผลสู่การแก้ไขในระดับนโยบายของประเทศต่อไป

ผศ.ดร.นภารัตน์ กรรณรัตนสูตร ประธานหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสิทธิมนุษยชน(นานาชาติ) โครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา (IHRP) มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวในฐานะหัวหน้าทีมผู้วิจัยและพัฒนา "คู่มือต่อต้านการค้ามนุษย์บนโลกไซเบอร์" ซึ่งเกิดจากการได้ลงพื้นที่ศึกษาปัญหาแรงงานเด็กข้ามชาติที่จังหวัดสมุทรสาคร แล้วพบว่า เด็กกลุ่มเปราะบางที่เป็นแรงงานข้ามชาติส่วนใหญ่ต้องหยุดเรียนกลางคันตั้งแต่ยังศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษา เนื่องจากพ่อแม่ของเด็กเหล่านี้ต้องการเกษียณตัวเอง แล้วให้ลูกออกมาหางานทำเพื่อช่วยเหลือครอบครัว  เหมือนตัวเองที่ต้องเริ่มทำงานตั้งแต่ยังเด็ก ซึ่งทำให้เด็กๆ ส่วนใหญ่ใช้เวลาบนโลกออนไลน์  และมีโอกาสตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์เนื่องจากขาดความตระหนักรู้ถึงกลยุทธ์ในการหลอกลวงของผู้ค้ามนุษย์ จากที่มาของการไม่ตระหนักรู้ถึงการค้ามนุษย์บนโลกออนไลน์นี้ จึงนำมาสู่การสร้างคู่มือพร้อมสื่อการเรียนการสอนในรูปแบบต่างๆ เช่น สื่อนิทานที่เป็นการ์ตูน ซึ่งแปลออกเป็น 3 ภาษา คือ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย และภาษาพม่า รวมถึงเพลงประกอบชื่อ Cyber Zone

"ปัจจุบันการค้ามนุษย์ได้ขยายสู่โลกออนไลน์ จึงขอแนะนำให้ผู้ที่กำลังหางานทำ ไม่ว่าจะเป็นคนไทย หรือ คนข้ามชาติ ศึกษาหาข้อมูลรายละเอียดสถานการณ์การจ้างงานหรือ การปฏิบัติของนายจ้างต่อแรงงานจากแหล่งที่น่าเชื่อถือไว้ใจได้ เช่น เว็บไซต์ของหน่วยงานภาครัฐ องค์กรเอกชนหรือภาคประชาสังคมที่ทำงานกับกลุ่มแรงงานโดยตรง หรือติดต่อกับกลุ่มแรงงานที่ทำงานในพื้นที่ผ่านทาง Facebook เป็นต้น นอกจากนี้ อย่าหลงเชื่อการโฆษณาชวนเชื่อทางโลกออนไลน์ที่ว่า เงินดี งานสบาย และไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้นเพราะผู้ที่มีส่วนร่วมในการค้ามนุษย์ เช่น นายหน้า หรือ ผู้ค้ามนุษย์ ไม่ได้ข้อมูลที่เป็นจริง เมื่อผู้ที่กำลังหางานนั้นหลงเชื่อคำสัญญาที่หลอกลวงของกลุ่มผู้ค้ามนุษย์ให้เดินทางมาทำงาน  พวกเขามักจะมีโอกาสตกเป็นเหยื่อแรงงานที่มีพันธนาการหนี้ (debt bandage) เพราะต้องชำระค่าสมัคร ค่าเดินทาง และค่าใช้จ่ายอื่นๆ"ผศ.ดร.นภารัตน์กล่าวทิ้งท้าย

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"