14 มิ.ย.61- ชื่อของ พล.ท.พงศกร รอดชมภู ตกเป็นข่าวโด่งดังอีกครั้ง หลังก่อนนี้ มีประกาศคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 21/2528 ให้พ้นจากตําแหน่ง รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ และให้ดํารงตําแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ฝ่ายข้าราชการประจํา
คราวนี้ถูกวิจารณ์อย่างกว้างขวางถึงแนวคิดแบ่งแยก จากการโพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า
“มาที่ตึกธนาคารกรุงไทยสำนักงานใหญ่ สุขุมวิท ดูสภาพมนุษย์เงินเดือนรอบๆมาทานอาหารช่วงพักเที่ยง
ผมเรียกว่าไพร่สมัยใหม่ เราไม่ควรส่งลูกหลานเรียนเพื่อมามีสภาพเช่นนี้ครับ”
แม้จะมีการลบโพสต์และขอโทษ แต่ประเด็นเรื่องแนวคิดนั้น ไม่อาจลบล้างได้
พล.ท.พงศกรให้ความสำคัญกับปัญหาด้านชนชั้นจริงหรือ หรือเป็นการพูดเพื่อหวังผลทางการเมือง แต่กลับไม่เป็นอย่างที่คิดเพราะกระแสตีกลับไปอีกทาง
เมื่อดูประวัติของพล.ท.พงศกร อาจได้คำตอบ
พล.ท.พงศกร รอดชมภู เป็นนักเรียนเตรียมทหารรุ่น 14 รุ่นเดียวกับ พลเอก อุดมเดช สีตบุตร อดีตผบ.ทบ. การก้าวสู่ตำแหน่งรองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติในยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร สร้างความประหลาดใจให้กับคนในหน่วยงานความมั่นคง
เพราะไม่เป็นที่รู้จักมาก่อน
แต่อย่างที่รู้กัน "ตท.14" ต่างเติบโตช่วงรัฐบาลยิ่งลักษณ์บริหารประเทศ ขณะนั้น “บิ๊กโด่ง” พล.อ.อุดมเดช สีตะบุตร อยู่ในเส้นทางเป็นผบ.ทบ. “บิ๊กแป๊ะ” พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก ปลัดกระทรวงกลาโหม “บิ๊กแจ๊ด” พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล “บิ๊กโก้” พล.ต.ท.สฤษฎ์ชัย เอนกเวียง ผู้บัญชาการตำรวจสันติบาล
และคนสำคัญคือ “เสธ.แมว” พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสมช. ซึ่งก็คือผู้บังคับบัญชาของ “พล.ท.พงศกร”หลังข้ามห้วยจาก กองบัญชาการกองทัพไทย นั่งตบยุงในตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษรอวันเกษียณอายุราชการ มาเป็นรองเลขาฯสมช.
เพราะคำสั่งศาลปกครองสูงสุดพิพากษาให้คืนตำแหน่งเลขาฯ สมช.ให้กับ “ถวิล เปลี่ยนศรี ” นั่นทำให้เครื่อข่ายที่ทักษิณวางไว้ในสมช.ตกอยู่ในสภาพเหมือนผึ้งแตกรัง
พล.ท.พงศกร มีแนวคิดทางการเมืองอย่างไร?
สืบจากการโพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวพบว่า เขาชื่นชมระบอบทักษิณเป็นพิเศษ
ครั้งหนึ่งเขาโพสต์ว่า
......คำตอบง่ายๆคือ ทักษิณฯ ไม่ได้เอาจริตของตัวไปให้ประชาชน หรือเรียกอีกอย่างว่าลูกค้า ทักษิณฯ ทำการวิจัยตลาดล่วงหน้าเสมอ แล้วเอาปัญหาต่างๆที่เป็นผลจากการวิจัยตลาดมาเป็นกลยุทธ์ในการหาเสียงพร้อมแนวทางการแก้ปัญหา
ทักษิณฯ ไม่ได้ใช้อะไรที่ยุ่งยาก ซับซ้อนเข้าใจยาก หากแต่เป็นการสื่อตรงๆกับฐานคะแนนเสียงทั้งในชนบทและในเมืองที่มีสติปัญญา ไม่งมงายว่า ปัญหามีอะไรบ้างและถ้าเป็นรัฐบาลจะทำอย่างไร
30 บาทตายทุกโรค กลายเป็น 30บาทรักษาทุกโรคจนเป็นตัวอย่างระดับโลก ที่กลุ่มขวาจัดจ้องทำลายอยู่ทุกวันแต่ไม่กล้า นี่เป็นตัวอย่างของการรู้จักตลาด และรู้จักทำให้สินค้าขายได้ตรงกลุ่มเป้าหมาย และเกิดการผูกพันยาวนาน
ทักษิณฯ อาจยังไม่อาจสลัดภาพการเป็นเจ้าของพรรคได้ แต่ในช่วงเวลาวิกฤติเช่นนี้การเดินหมากเองน่าจะยังจำเป็น
รอเมื่อมีการทำไพรมารีโหวตและผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นคนในพื้นที่มากขึ้นเรื่อยๆ ความเป็นสถาบันพรรคการเมืองจะเกิดขึ้น มุ้งต่างๆจะหมดอำนาจลงและประชาชนจะได้กำหนดวิถีชีวิตของตนเองได้มากขึ้น
ใครทำการเมือง รู้จักลูกค้าของตัวเองหรือยังครับ?......
ที่เด็ดสุดคือการโพสต์ข้อความเมื่อวันที่ 12 ก.พ. ที่ผ่านมา
...มีผู้คร่ำหวอดในทางการเมืองท่านหนึ่ง บ่นเสียดายว่า คสช. ตกเร็วเกินไป ท่านเปรียบเทียบว่า คสช.เป็นเหมือนโรงเรียนการเมืองให้กับเหล่า ไพร่ ทาส
จะสอนไพร่ ทาส ต้องเฆี่ยนให้สลบ เอาเกลือทา เอาน้ำสาดให้ฟื้น แล้วเฆี่ยนต่อ จนกว่ายางหัวจะตก และสำนึกได้ว่า
โอ้หนอ ระบอบเผด็จการที่ตัวสนับสนุนนี่มันเลวร้ายอย่างนี้เอง สมควรที่จะปลดปล่อยตัวเองจากการเป็นไพร่ ทาส กลายเป็นอิสระชนเสียที
ท่านอยากให้ คสช.อยู่นานๆ และ ลุงๆของเราเป็นครูใหญ่ ครูน้อย คอยให้บทเรียนกับคนไทย ไม่งั้นก็ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงคุณภาพ มีแต่เชิงปริมาณคือเปลี่ยนนายใหม่ โหยหานายใหม่อยู่ร่ำไป
ผมคิดในใจว่านี่อยู่มาจะสี่ปีแล้ว เศรษฐกิจโตแค่ครึ่งเดียวกับสมัยนายกฯยิ่งลักษณ์มาตลอด เงินหมุนระดับล่างหายหมด หาเงินเข้าประเทศก็ไม่เป็น เกษตรกรถูกกดราคาจนจมดิน แค่นี้เป็นบทเรียนไม่พออีกหรือ?
หรือที่จริงคนชนบทนั้นสลัดตัวจากการเป็นไพร่ ทาสกันไปแล้ว เหลือแต่คนดีในเมือง ในตลาดไม่กี่ล้านคนนี่ละกระมังที่ยังหลงแก๊งค์ไอติมกันอยู่ ยังคงเป็นไพร่ ทาส ถีบไม่ไปของแท้นะครับ....
และนี่คือนายทหารแตงโมที่เติบโตจากระบบอุปถัมภ์ภายใต้ระบอบทักษิณ วันนี้เป็นรองหัวหน้าพรรคอนาคตไหม่ มาพูดเรื่องไพร่สมัยใหม่ จนโลกโซเชียลพากันถล่มหมดรูป.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |