16 ส.ค.64 -คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แถลงข่าว ผลการ ทดสอบวัคซีน ChulaCOV-19 ในอาสาสมัคร เร่งวิจัยระยะต่อไป” โดย ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ผู้อำนวยการบริหารโครงการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ข้อมูลว่า ความคืบหน้าจากการทดลองวัคซีน ChulaCOV-19 ในระยะที่ 1/2 เมื่อวันที่ 14 มิ.ย.64 ที่เริ่มฉีดเข็มแรกในอาสาสมัครอายุ 18-55 ปี จำนวน 36 คน ซึ่งฉีดครบ 2 เข็มแล้ววันนี้ เป็นระยะเวลาการติดตามผลวันที่ 50 สำหรับอาสาสมัครที่อายุ 56-75 ปี อีกจำนวน 36 คน ส่วนใหญ่ได้รับเข็มที่ 1 แล้ว สำหรับ กลุ่มผู้สูงอายุนั้นจะมีการทดลองที่รอบคอบมากขึ้นและระยะเวลาการติดตามก็จะนานขึ้น
อย่างไรก็ตาม ได้มีการทดลองในเฟส 2A ก่อนสิ้นเดือนส.ค. ซึ่งอาจจะต้องใช้ระยะเวลาการทดลองที่มากกว่ากลุ่มอายุ 18-55 ปี ในอาสาสมัคร 150 คน แบ่งเป็น 120 คน จะเป็นการทดลองฉีดวัคซีน ChulaCOV-19 โดยเลือกจากขนาดที่เหมาะสมจากระยะที่ 1 ส่วนอีก 30 คน จะฉีดวัคซีนเปรียบเทียบเป็นวัคซีนไฟเซอร์ ผลพบว่าสามารถในการยับยั้งสายพันธุ์ดั้งเดิมได้ดี โดยจากการตรวจภูมิคุ้มในอาสาสมัครว่าสามารถยับยั้งการจับตัวของ RBD หรือโปรตีนที่กลุ่มหนาม หากจับได้แสดงว่าไวรัสโควิดไม่น่าจะเข้าเซลล์ได้ด้วย ซึ่งจากการเปรียบเทียบเปอร์เซ็นในการยับยั้งพบว่า วัคซีน ChulaCOV-19 อยู่ที่ 94% ไฟเซอร์ 94% แอสตร้าเซนเนก้า 84% ซิโนแวค 75% ซึ่งจากรายงานหากการยับยั้งเกิน 70% ก็น่าจะมีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อ
ด้านผลข้างเคียง จากสรุปผลการทดลองเบื้องต้นพบว่า ซึ่งขอย้ำว่าเป็นเพียงการทดลองเบื้องต้นจากอาสาสมัคร 36 คน จึงยังไม่พบผลข้างเคียงที่รุนแรงใดๆ มีเพียงผลข้างเคียงเล็กน้อยและดีขึ้นภายใน 1-3 วัน ส่วนใหญ่จะเจ็บแผลจากการฉีด อ่อนเพลีย มีไข้ หนาวสั่น ปวดกล้ามเนื้อ และจะปวดมากขึ้นในเข็มที่ 2 ทั้งนี้ มีการเปรียบเทียบปริมาณการให้วัคซีน10 ไมโครกรัม, 25 ไมโครกรัม และ 50 ไมโครกรัม แสดงให้เห็นว่าอาการข้างเคียงจะพบน้อยมากหรือแทบไม่มีในการให้โดสที่ต่ำ แต่อาการอ่อนเพลียจะพบทั้งการให้ในโดสที่ต่ำและสูงประมาณ 50-60% ส่วนใน 25 ไมโครกรัมจะพบมีไข้ประมาณ 25% เมื่อนำข้อมูลอาการข้างเคียงที่พบในไฟเซอร์ อย่างการเป็นไข้ก็มีเปอร์เซ็นต์ที่ใกล้เคียงกับผลการให้โดสของวัคซีน ChulaCOV-19 แต่อาจจะไม่สามารถเปรียบเทียบโดยตรงได้
นพ.เกียรติ กล่าวว่า ส่วนการกระตุ้นภูมิ B -cell ที่สร้างแอนติบอดี เพื่อไม่ให้เชื้อเข้าเซลล์ได้ หลังฉีดเข็มที่ 1 พบผลกระตุ้นภูมิใกล้เคียงกับไฟเซอร์ แต่หลังฉีดเข็มที่ 2 และวัดผลหลัง 3สัปดาห์ พบว่า T-cell ของChulaCOV-19 อยู่ที่4,514 และของไฟเซอร์อยู่ที่ 1,742 แสดงถึงความสามารถในการยับยั้งสายพันธุ์ดั้งเดิมได้ดี
ผลต่อการยับยั้งข้ามสายพันธุ์ นพ.เกียรติ กล่าวว่า มีการตรวจในแล็บด้วยเทคนิค Pseudovirus ซึ่งจากตัวเลขที่ทำวิจัยจุดตัดที่สามารถป้องการอาการของโรคโควิดได้ประสิทธิภาพ หากจุดตัดอยู่ที่ 60 แสดงว่าความสามารถในการป้องกันก็จะอยู่ที่ 60% และจุดตัดเกิน 185 แสดงว่าความสามารถในการป้องกันก็จะอยู่ที่ 80% ซึ่งเมื่อตรวจสอบวัคซีนที่ใช้ทั้งไวรัสสายพันธุ์ดั้งเดิม แอลฟ่า เบต้า แกมมา และเดลต้า พบว่า วัคซีน ChulaCOV-19 มีจุดตัดเกิน 185 แสดงว่าวัคซีนมีประสิทธิภาพในการป้องกันเชื้อทั้ง 4 สายพันธุ์ และเมื่อเทียบกับประสิทธิภาพการป้องกันในสายพันธุ์เดลต้กับไฟเซอร์ ก็พบว่าไม่ต่างกันมาก
"วัคซีนที่ ทดลองการผลิตยังเป็นการนำเข้าจากแคลิฟอร์เนีย แต่หากจะผลิตในประเทศที่โรงงานจังหวัดอยุธยา ก็จะต้องมีการทดสอบคุณภาพและมาตรฐานว่าเทียบเท่าจากที่ส่งมาจากแคลิฟอร์เนียหรือไม่ หากเทียบเท่าไทยก็จะมีทั้งวัคซีนที่นำเข้าและจากที่ผลิตในประเทศ โดยเรามีโรงงานของ ไบโอเน็ท เอเชียที่มีความสามารถผลิตวัคซีน mRNA ได้แล้ว และสามารถขยายกำลังการผลิตในสเกล ที่ใหญ่ขึ้นได้ ” นพ.เกียรติ ระบุ
ศ.นพ.เกียรติ กล่าวอีกว่า มีข้อเสนอ 4 ช้่อ เรียกร้องที่การดำเนินการต้องต่างไปจากเดิม คือ 1. ให้ประเทศไทย ต้องเปลี่ยนจากการทำงานแบบเดิมในทุกแผนเดิมที่ทำ โดยต้องกำหนดเป้าหมายร่วมกัน ตัดสินใจร่วมกัน ทั้งเรื่องของงบประมาณต้องเพียงพอ ระดมทุนอย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพ เป็นหนึ่งเดียวเรื่องวัคซ๊น โดยประเทศไทย ต้องเปลี่ยนนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างใหม่ เป็นการจัดซื้อจัดจ้างล่วงหน้า แม้ว่าวัคซีนอาจจะไม่สำเร็จก็ตาม
"เป็นเรื่องท้าทาย คนไทยต้องไม่ทำแค่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างเดียว แต่ต้องร่วมใจกันกำหนดเป้าหมายให้เป็นหนึ่งเดียว โดยเฉพาะการทำงาน "ศ.นพ.เกียรติกล่าว
2.ต้องปรับเปลี่ยนกติกาการขึ้นทะเบียน วัคซีนของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและ(อย.) ว่าสามารถให้การรับรองการทดลองระดับเฟส 2B ได้หรือไม่ เพราะเป็นสถานการณ์ระบาดที่บังคับหรือต้องทำการทดลองเฟส 3 จะต้องมีกติกาจากอย.ที่ชัดเจนคาดว่าไม่เกินกลางเดือนหน้า
3.โรงงานผลิตวัคซีนในประเทศ ต้องเร่งด่วน ในการผลิตให้เพียงพอ
4.นโยบายการจองและจัดซื้อวัคซีนล่วงหน้า ต้องชัดเจน มีการกระจายการจองซื้อวัคซีนของรัฐและเอกชน
"คำถามว่าวัคซีนของจุฬาฯ ใช้ได้เมื่อไหร่ ถ้า อย.ปรับกติกาที่คาดว่าจะออกข้อกำหนดการขึ้นทะเบียน รับรองกาทดลองเฟส 2B ได้ ก็คาดว่าจะคนไทยจะได้วัคซีนของจุฬาฯประมาณ สงกรานต์ปีหน้า แต่ถ้าต้องทำการทดลองเฟส 3 ระยะเวลาที่จะได้วัคซีนใช้ จะต้องยืดออกไปอีก ผมอยากให้มีการใช้ก่อนสงกรานต๋ปีหน้า ถ้าเฟส 2Bออกมาดี ก็น่าจะใช้ได้ เป็นการฉีดเข็ม 3 เพราะคาดว่าสิ้นปีนี้ คนไทยน่าจะได้รับวัคซีนแล้วประมาณ 60-70% และแนวโน้มต้องมีการฉีดกระตุ้นเข็ม 3 แน่นอน" ศ.นพ.เกียรติ กล่าว
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |