ในช่วงที่หลายประเทศทั่วโลกกำลังหันมาใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้น มีแผนงานที่ชัดเจนและมีเป้าหมายไปในแนวทางเดียวกัน สิ่งที่ได้ถูกพูดถึงมากที่สุดคือ การปล่อยคาร์บอนสู่ชั้นบรรยากาศ ที่ถือว่าเกิดขึ้นได้จากทุกกิจกรรมของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ชีวิตประจำวัน หรือด้านการผลิตในภาคอุตสาหกรรม และการขนส่งหรือคมนาคม ก็เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้มีการปล่อยคาร์บอนทั้งนั้น
ด้วยเหตุนี้ เป้าหมายของการดำเนินงานเพื่อที่จะดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมของทั่วโลกครั้งนี้คือ แต่ละประเทศจะต้องมีแผนงานที่จำกัดการปล่อยคาร์บอน โดยมีเป้าหมายไปถึง 0% ในอนาคต จะใกล้หรือไกลก็ตามแล้วแต่ความชัดเจนของประเทศนั้นๆ แม้กระทั่งจีนที่ถือว่าเป็นผู้นำในหลายๆ ด้าน มีการผลิต ภาคอุตสาหกรรม การขนส่ง รวมถึงประชากรในประเทศสูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก ยังเห็นชอบและมีความชัดเจนในเรื่องนี้ด้วย
ย้อนกลับมาดูที่ประเทศไทย แม้จะเป็นประเทศเล็กๆ ในโลก แต่ก็เห็นดีเห็นงามและให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ธรรมชาติมาโดยตลอด และอีกหนึ่งกลุ่มที่ประเทศให้การสนับสนุนอย่างมากคือ การผลิตไฟฟ้า ที่ปัจจุบันเริ่มมีสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนมากขึ้น เนื่องจากเป็นพลังงานที่ไม่สร้างคาร์บอนให้กับธรรมชาติ ซึ่งในช่วง 10 ปีที่ผ่านมากระแสการสร้างสังคมคาร์บอนต่ำทำให้หลายประเทศทั่วโลกได้เพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนทดแทนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลมากขึ้น
โดยด้าน นายณอคุณ สิทธิพงศ์ อดีตปลัดกระทรวงพลังงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการองค์การซีเกรฝ่ายไทย ได้ออกมากล่าวว่า แม้การผลิตไฟฟ้าจากพลังานทดแทนจะมากขึ้น แต่จากความผันผวนของการผลิตไฟฟ้าที่เป็นไปตามสภาพแวดล้อมและสภาพอากาศ จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยี Battery Energy Storage System (BESS) หรือเทคโนโลยีแบตเตอรี่กักเก็บพลังงานเข้ามาช่วยสร้างเสถียรภาพ
โดยปัจจุบันเทคโนโลยีดังกล่าวได้ถูกพัฒนาให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น และมีแนวโน้มด้านราคาลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนร่วมกับ BESS เข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อเทรนด์การผลิตไฟฟ้าในปัจจุบัน อีกทั้งราคาแบตเตอรี่ที่ลดลงยังเป็นส่วนสำคัญต่อการพัฒนารูปแบบการคมนาคมเข้าสู่สังคมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า หรือ EV มากยิ่งขึ้นในอนาคต
ด้าน นายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการ กฟผ. ได้กล่าวถึงเทรนด์การผลิตไฟฟ้าในปัจจุบันที่ทั่วโลกมีแนวคิดรณรงค์ใช้พลังงานสะอาดเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อนำไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ (Net Zero Emissions) นี้ว่า ในอนาคตซึ่งประเทศไทยได้กำหนดแผนแม่บทให้สอดคล้องกับกระแสโลกดังกล่าว โดยในภาคการผลิตไฟฟ้า กฟผ.ได้ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) โดยเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน หรือ Hydro-Floating Solar Hybrid ในพื้นที่เขื่อน 9 แห่งทั่วประเทศ รวมกำลังการผลิตทั้งสิ้น 2,725 เมกะวัตต์ ปัจจุบันติดตั้งที่แรก ณ เขื่อนสิรินธร จ.อุบลราชธานี
ที่ถือเป็นโครงการโซลาร์เซลล์ลอยน้ำแบบไฮบริดขนาดใหญ่ที่สุดในโลก รวมถึงการพัฒนา Grid Modernization ให้มีความมั่นคงและยืดหยุ่นด้วยเทคโนโลยีต่างๆ ได้แก่ การพยากรณ์การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (RE Forecast) การติดตั้งระบบ Energy Storage ระบบ BESS ในพื้นที่สถานีไฟฟ้าแรงสูงบำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ และสถานีไฟฟ้าแรงสูงชัยบาดาล จ.ลพบุรี
และในภาคการขนส่ง กฟผ.ได้ส่งเสริมการใช้รถยนต์ EV เพื่อลดการปล่อย CO2 โดยพัฒนา Application ชื่อว่า EleXA สำหรับค้นหาสถานีชาร์จประจุไฟฟ้า ทำการติดตั้งสถานีชาร์จประจุไฟฟ้า EleX by EGAT จำนวน 14 แห่ง และจะขยายเพิ่มอีก 30 แห่งในอนาคต รวมทั้งจำหน่ายเครื่องชาร์จประจุไฟฟ้าภายในบ้าน หรือ EGAT Wallbox และพัฒนาแพลตฟอร์ม BackEN ที่สามารถจัดการและมอนิเตอร์การใช้พลังงานทั้งระบบ เพื่อนำข้อมูลมาจัดหาพลังงานให้เพียงพอต่อความต้องการและทำให้ระบบไฟฟ้าของประเทศไทยมีความมั่นคง
เชื่อได้เลยว่า หากหลายองค์กรในประเทศไทยมีแผนดำเนินงานชัดเจนเกี่ยวกับการลดการปล่อยคาร์บอนนี้ มนุษย์จะสามารถยืดเวลาจากการรับผลกระทบของสภาวะโลกรวนได้อย่างแน่นอน.
ณัฐวัฒน์ หาญกล้า
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |