“มาคาเลียส” (Makalius) สตาร์ทอัพธุรกิจท่องเที่ยวออนไลน์ชั้นนำของประเทศไทย ได้จัดทำโพลสำรวจความพึงพอใจผู้บริโภค ว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้อยากออกไปท่องเที่ยว พบเหตุผลหลัก มาจากความ “เครียด”
นางสาวณีรนุช ไตรจักร์วนิช ประธานกรรมการบริหาร บริษัท มาคาเลียส ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า “จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกที่ 4 ถือเป็นวิกฤตหนักสุดของประเทศไทย ที่มียอดผู้ติดเชื้อไม่ต่ำกว่าวันละหมื่นคน ส่งผลกระทบต่อธุรกิจต่าง ๆ ของประเทศไทย และที่สำคัญคือส่งผลกระทบต่อจิตใจคนไทยทำให้เกิดความเครียดสะสม โดยในแต่ละคนจะมีวิธีการแก้ไขปัญหาที่แตกต่างกันออกไป ก่อนเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 คนไทยส่วนใหญ่มักจะเลือก “การเที่ยว” มาช่วยผ่อนคลายความเครียด แต่ในสถานกาณณ์ปัจจุบัน ที่ทางภาครัฐบาลขอความร่วมมือกับประชาชนในการลดการเดินทางข้ามจังหวัด จึงทำให้รูปแบบการท่องเที่ยวปกติทำไม่ได้"
ล่าสุดทางบริษัทฯ จึงได้จัดทำแบบสอบถามประเมินความพึ่งพอใจกลุ่มลูกค้า และได้ทำการสำรวจความคิดเห็นในเพจเฟสบุ๊ค (Makalisu) รวมถึงการพูดคุยกับลูกค้าผ่าน Call Center ว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้อยากออกไปท่องเที่ยวในช่วงเวลานี้มากที่สุด พบว่า สาเหตุหลักมาจากความ “เครียด” จำแนกออกมาเป็น 7 ความเครียด
เริ่มต้นที่ “ข่าวโควิด-19” ถือเป็นความเครียดอันดับแรก ๆ ของใครหลายคน เพราะในสถานการณ์ปัจจุบันนี้ โควิด-19 เป็นเรื่องใกล้ตัวเข้าไปทุกที อีกทั้งการนำเสนอข่าวที่ทำให้เห็นภาพของจำนวนผู้เสียชีวิต จำนวนผู้ติดเชื้อในแต่ละวันที่พุ่งสูงขึ้นเกินกว่าหมื่นคน ภาพความลำบากของคนตกงาน ภาพความลำบากของการเข้ารับการรักษา จึงส่งผลให้ผู้เสพสื่อเกิดความเครียดและความหดหู่เป็นจำนวนมาก เหตุผลต่อมาคือ “การบริหารงานของรัฐบาล” ที่ถูกประชาชนวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในเรื่องการบริหารจัดการโควิด-19 ทั้งการตรวจเชิงรุก การรักษา การจัดหาวัคซีนให้เพียงพอกับประชาชน การใช้งบประมาณแผ่นดินที่ผิดพลาด รวมถึงนโยบายต่าง ๆ ที่จัดทำขึ้นโดยไม่มีเหตุผลสอดคล้องกับการแก้ไขสถานการณ์ในปัจจุบัน เป็นต้น
ส่วนความเครียดของหนุ่มสาวออฟฟิศจะเป็นเรื่อง “Work From Home” เสียงส่วนใหญ่เป็นไปในทิศทางเดียวกันว่าการทำงานที่บ้านนั้นมีความเครียดมากกว่าการทำงานที่ออฟฟิศ และเหมือนจะทำงานหนักกว่าอยู่ที่ออฟฟิศ อีกทั้งยังขาดปฏิสัมพันธ์ในสังคม ขาดการพูดคุยสื่อสารกับเพื่อนร่วมงาน นอกจากนี้เรื่อง “การทำยอดขาย” ก็เป็นความเครียดหลักของหนุ่มสาวแบงก์และอาชีพนักขาย เพราะต้องทำยอดขายให้ไปเป็นตามเป้าที่องค์กรตั้งเอาไว้ แต่ไม่สามารถออกไปพบลูกค้าเพื่อพูดคุยและนำเสนอสินค้าบริการได้เหมือนปกติ
สำหรับความเครียดของเจ้าของกิจการก็หนีไม่พ้นที่เรื่อง “การทำธุรกิจ” เพราะบางธุรกิจไม่สามารถเปิดให้บริการได้ เช่น สถานที่ออกกำลัง สถาบันความงาม เป็นต้น บางธุรกิจสามารถเปิดให้บริการได้แต่ก็ไม่มีลูกค้ามาใช้บริการ เพราะกลัวการติดเชื้อเมื่อต้องเดินทางออกนอกบ้าน
ด้านคนที่รักการเที่ยวเป็นชีวิตจิตใจปัญหาความเครียดหลัก ๆ คือ “ไม่ได้เที่ยวมานาน” เพราะนับตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จนถึงปัจจุบัน ก็กินเวลามาเกือบ 2 ปี ทำให้นักท่องเที่ยวหลายคนต้องหยุดเที่ยวกันแบบยาว ๆ อีกทั้งนักท่องเที่ยวบางรายยังคงเครียดเรื่อง “ธุรกิจการท่องเที่ยว” เพราะการท่องเที่ยวถือเป็นอุตสาหกรรมหลักในการสร้างรายได้ให้กับประเทศไทย แต่มีข่าวถึงการปิดตัว ปิดกิจการด้านการท่องเที่ยวลงมากมาย ทั้งโรงแรม ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว จึงส่งผลกระทบต่อจิตใจนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก
นางสาวณีรนุช กล่าวทิ้งท้ายว่า “จากผลสำรวจชี้ให้เห็นว่าหลายคนเกิดความเครียดที่ส่งผลต่อสุขภาพจิต แต่ในสถานการณ์ที่ยังไม่สามารถเดินทางท่องเที่ยวเพื่อผ่อนคลายความเครียดได้ จึงควรหา วิธีการคลายความเครียดด้านอื่น ๆ มาใช้แทน เช่น การงดเสพคอนเทนต์ข่าวสารที่มีรุนแรงหรือมีเนื้อหาเชิงลบ จัดสรรเวลาการทำงานและการพักผ่อนให้มีความพอดี เลือกเสพสื่อที่ผ่อนคลาย อย่างเช่น รีวิวการท่องเที่ยวสถานที่ต่าง ๆ เพื่อเก็บเป็นอินสไปเรชั่น เตรียมพร้อมวางแผนท่องเที่ยวหลังจากสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลายลง เป็นต้น และหาเวลาออกกำลังกายเพื่อสร้างสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ”
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |