‘อาคม’ ขีดเส้นสร้างรถไฟฟ้าเสร็จภายในกำหนด หลังติดปัญหาเรื่องส่งมอบพื้นที่ล่าช้า 3 เดือน ด้านรฟม.เผยเตรียมเปิดประมูลรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้แสนล้านภายในไตรมาส 3
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ มว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังการเป็นประธานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกันระหว่างกรมทางหลวง(ทล.) กับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) และอนุญาตให้ใช้พื้นที่ก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ว่าโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูและโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองจะเริ่มก่อสร้างได้ภายในเดือน มิ.ย.นี้หลังจากตกลงเรื่องการเข้าพื้นที่ก่อสร้างได้แล้ว โดยการใช้พื้นที่ไม่รบกวนพื้นผิวถนนมากนักเป็นการขอแบ่งพื้นที่ในเขตที่มีอยู่อย่างจำกัดและไม่รบกวนผุ้ใช้ทางเท้าด้วย ขณะเดียวกันเนื่องจากปัญหารถติดในกรุงเทพมหานครยังเป็นปัญหาที่สำคัญจึงจำเป็นที่จะต้องดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าให้สำเร็จตามแผนกำหนดการที่วางไว้ ภายในเดือนตุลาคม ปี2564
อย่างไรก็ตามภายหลังการลงนามในครั้งนี้ กรมทางหลวงจะส่งมอบพื้นที่ถนนที่เส้นทางรถไฟฟ้าทั้งสองสายวิ่งผ่านให้แก่รฟม. สำหรับระยะเวลาใช้พื้นที่ถนนของกรมทางหลวง 39 เดือน นับตั้งแต่วันที่ 29 มิถุนายนนี้ เป็นต้นไป ซึ่งล่าช้าไปประมาณ 3 เดือน โดยกรมทางหลวงได้ส่งมอบพื้นที่ใช้ก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงติวานนท์ - แจ้ววัฒนะ และช่วงหลักสี่-รามอินทรา ส่วนสายสีเหลือง ส่งมอบช่วงศรีนครินทร์ ขณะที่ เส้นทางก่อสร้างสายสีเหลือง เจ้าของพื้นที่มีทั้งกรมทางหลวงและกทม. ซึ่งกทม.ได้ส่งมอบพื้นที่บริเวณแยกรัชดา-ลาดพร้าว และแยกลำสาลี เข้าถนนศรีนครินทร์
สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ระยะทางทั้งสิ้น 34.5 กิโลเมตร รวม 30 สถานี ซึ่งเริ่มต้นที่จุดเชื่อมต่อกับระบบรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ บริเวณใกล้แยกแคราย วิ่งไปตามถนนติวานนท์จนถึงห้าแยกปากเกร็ด จากนั้นเลี้ยวขวาเข้าถนนแจ้งวัฒนะผ่านเมืองทองธานี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ไปเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ที่แยกหลักสี่บริเวณริมถนนวิภาวดีรังสิต และเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ บนถนนพหลโยธิน บริเวณวงเวียนอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ จากนั้นวิ่งไปบนถนนรามอินทราจนถึงแยกมีนบุรี แล้ววิ่งเข้าสู่เมืองมีนบุรี ตามแนวถนนสีหบุรานุกิจ จนถึงสะพานข้ามคลองสามวา จึงเลี้ยวขวาข้ามคลองแสนแสบและข้ามถนนรามคำแหง หรือถนนสุขาภิบาล 3 สิ้นสุดสถานีปลายทางที่บริเวณใกล้แยกถนนรามคำแหง-ร่มเกล้า ซึ่งจะบรรจบกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางกะปิ-มีนบุรี
ส่วนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง เป็นระบบขนส่งมวลชนประเภทรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Straddle Monorail) มีลักษณะเป็นโครงสร้างยกระดับตลอดแนวเส้นทาง มีระยะทางทั้งสิ้น 30.4 กิโลเมตร รวม 23 สถานี แบ่งเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงรัชดา/ลาดพร้าว – พัฒนาการ และช่วงพัฒนาการ – สำโรง หรือโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง โดยเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างสายสีน้ำเงินที่สถานีรัชดา (สถานีลาดพร้าวของสายสีน้ำเงิน) กับระบบขนส่งมวลชน 4 สาย คือ สายสีเทาของกรุงเทพ สายสีส้มบริเวณทางแยกลำสาลี รถไฟเชื่อมต่อท่าอากาศยาน (Airport Rail Link) บริเวณทางแยกต่างระดับพระราม 9 และสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ที่สถานีสำโรง ทั้งนี้ รฟม.กำหนดเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและสายสีชมพูในเดือนต.ค. 64
อย่างไรก็ตามส่วนด้านความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ วงเงิน 1.01 แสนล้านบาทนั้นคาดว่าจะสามารถเปิดประมูลงานโยธาได้ภายในไตรมาส 3 ของปีนี้และจะสรุปผลการประมูลในช่วงต้นปี 2562 ทั้งนี้ งานดังกล่าวจะแบ่งออกเป็น 6 สัญญา ใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 5 ปี เนื่องจากมีส่วนที่ลงใต้ดินค่อนข้างมากอย่างไรก็ตามหากเป็นเอกชนรายใหม่เข้ามาเดินรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ส่วนต่อขยายนี้ก็อาจจะมีผลต่อต้นทุนงานเดินรถ เนื่องจากปัจจุบัน บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) เป็นผู้เดินรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-บางใหญ่ อยู่
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |