“พลเอก ประวิตร” ห่วงฝนตกหนักช่วง 3 เดือนต่อจากนี้ สั่ง สทนช. เร่งติดตามมาตรการบริหารจัดการน้ำพื้นที่ลุ่มต่ำรองรับน้ำหลาก 1น ใน 10 มาตรการรับมือฤดูฝน หนุนพัฒนาระบบรับน้ำเข้าออกทุ่งท่าวุ้ง จ.ลพบุรี ทุ่งผักไห่ และทุ่งเจ้าเจ็ด จ.พระนครศรีอยุธยา โมเดลเก็บน้ำช่วงฝนใช้ประโยชน์หน้าแล้ง ชี้เป็นพื้นที่แก้มลิงที่สอดล้องตามผลศึกษาจัดทำผังน้ำ ลุ่มน้ำสะแกกรัง ป่าสัก เจ้าพระยา ท่าจีน
ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยว่า ในโอกาสลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าการเตรียมความพร้อมพื้นที่ลุ่มต่ำรับน้ำนองในฤดูฝนปี 2564 และความก้าวหน้าผลการศึกษาโครงการจัดทำผังน้ำลุ่มน้ำสะแกกรัง ป่าสัก เจ้าพระยา ท่าจีน ในบริเวณพื้นที่รับน้ำนองท่าวุ้ง ต.บางลี่ อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี ทุ่งผักไห่ และทุ่งเจ้าเจ็ด ณ ประตูระบายน้ำเจ้าเจ็ด จ.พระนครศรีอยุธยา ว่า พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ หรือ กอนช. มีความห่วงใยต่อสถานการณ์ฝนที่จะเริ่มตกเพิ่มขึ้นในช่วง 3 เดือนจากนี้ ดังนั้น จึงเรียกประชุม กอนช.เป็นการด่วนในวันพรุ่งนี้
เพื่อติดตามประเมินผลความก้าวหน้าตาม 10 มาตรการรับมือฤดูฝนปี’64 ตามที่ได้สั่งการและเน้นย้ำให้ทุกหน่วยงานภายใต้ กอนช.มีแผนปฏิบัติที่ชัดเจนรายพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยและขาดแคลนน้ำได้ทั้งก่อนเกิดภัย และระหว่างเกิดภัยเพื่อแก้ไขสถานการณ์ได้ทันที ซึ่งรวมถึงความพร้อมของพื้นที่ลุ่มต่ำรับน้ำจุดต่างๆ หรือแก้มลิงที่มีศักยภาพรองรับน้ำหลากได้ โดยเฉพาะในพื้นที่ลุ่มภาคกลาง ซึ่ง กอนช.มีการคาดการณ์ว่าในช่วงเดือน ส.ค.-พ.ย. จะมีพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมในภาคกลาง รวม 368 ตำบล 56 อำเภอ ใน 9 จังหวัด ได้แก่ จ.ชัยนาท นครปฐม ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี และอ่างทอง
สำหรับทุ่งท่าวุ้ง จ.ลพบุรี ทุ่งผักไห่ และทุ่งเจ้าเจ็ด จ.พระนครศรีอยุธยา ที่ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าการเตรียมการรับน้ำหลากครั้งนี้ เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำใน 12 ทุ่งที่กรมชลประทานได้วางแผนการบริหารจัดการน้ำพื้นที่ลุ่มต่ำเพื่อรองรับน้ำหลาก และบรรเทาปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ใกล้เคียง โดยเริ่มจัดสรรน้ำสนับสนุนภาคเกษตรช่วงต้นฤดูฝนตั้งแต่เดือน พ.ค.-ก.ค. 64 ปัจจุบันมีการเพาะปลูกในพื้นที่แล้วประมาณ 90 กว่า% และจะเริ่มเก็บน้ำเข้าทุ่งในช่วงปลายเดือน ก.ย.-ต.ค.นี้ ซึ่งทั้งสามทุ่งสามารถกักเก็บน้ำได้ราว 784 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) เพื่อให้เกษตรกรนำน้ำไปเพาะปลูกหลังจากฤดูฝนสิ้นสุดลง และบรรเทาปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ใกล้เคียง โดย สทนช. พร้อมสนับสนุนการบริหารจัดการพื้นที่ทั้งสามทุ่งดังกล่าว โดยมีระบบบังคับน้ำเข้า-ออก เพื่อเพิ่มศักยภาพพื้นที่เก็บน้ำดังกล่าวให้มากขึ้นในอนาคตด้วย เนื่องจากเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำรับน้ำนองที่มีศักยภาพตามโครงการศึกษาจัดทำผังในพื้นที่ตอนกลาง 4 ลุ่มน้ำ ได้แก่ ลุ่มน้ำสะแกกรัง ป่าสัก เจ้าพระยา ท่าจีน โดยขณะนี้มีความก้าวหน้ากว่า 90% และจะศึกษาแล้วเสร็จในเดือน ก.ย.นี้ แล้วส่งต่อให้หน่วยงานปฏิบัติที่เกี่ยวข้องใช้เป็นกรอบแนวทางในการปฏิบัติ โดยเฉพาะการกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินและทางน้ำอย่างชัดเจน จะเป็นการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในช่วงฤดูฝน ช่วยลดความเสียหายให้แก่ชุมชนเมือง รวมถึงพืชผลทางการเกษตรจากปริมาณน้ำที่ไหลหลากจากพื้นที่ตอนบนเข้ามารวมตัวในพื้นที่ลุ่มต่ำ เช่น บริเวณจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี ลพบุรี ขณะเดียวกัน ยังสามารถจัดระบบทางน้ำเพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้ประโยชน์ในช่วงฤดูแล้งได้ด้วยเช่นกัน
“ที่ผ่านมา สทนช.ได้เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น และสร้างความเข้าใจทุกภาคส่วนในโครงการศึกษาจัดทำผังในพื้นที่ตอนกลางทั้ง 4 ลุ่มน้ำ อาทิ คณะกรรมการลุ่มน้ำ หน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนในพื้นที่ เพื่อสะท้อนปัญหาและความต้องการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ รวมถึงชี้แจงทำความเข้าใจในการกำหนดขอบเขต 4 พื้นที่หลัก ที่อาจจะมีผลกระทบกับประชาชนได้พื้นที่ ได้แก่ 1.พื้นที่ทางน้ำหลากริมแม่น้ำ 2) พื้นที่ทางน้ำหลากเพื่อระบายน้ำ 3) พื้นที่น้ำนอง และ 4) พื้นที่ลุ่มต่ำ ก่อนที่หน่วยงานจะนำผังน้ำไปใช้สนับสนุนแผนงานการป้องกันแก้ไขภัยแล้งและอุทกภัย โดยเฉพาะการใช้ประโยชน์ที่ดินที่อยู่ในระบบทางน้ำตามผังน้ำ ที่ไม่ส่งผลต่อการเบี่ยงเบนทางน้ำ กระแสน้ำ หรือกีดขวางการไหลของน้ำที่เป็นอุปสรรคในการป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำท่วมน้ำแล้งได้ในอนาคต ”ดร.สมเกียรติ กล่าว
เลขาธิการ สทนช. กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า นอกจากการพัฒนาทุ่งท่าวุ้ง ทุ่งผักไห่ และทุ่งเจ้าเจ็ด ที่มีผลดำเนินการที่เห็นผลประโยชน์ได้อย่างชัดเจน คือ สามารถรองรับน้ำหลากเพิ่มขึ้น แก้ไขปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้งให้กับประชาชน ซึ่งสอดคล้องกับมาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2564 เรื่องการบริหารจัดการน้ำพื้นที่ลุ่มต่ำเพื่อรองรับน้ำหลากตั้งแต่ 1 เมษายน ถึง 15 สิงหาคม 2564 ตามนโยบายของ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี แล้ว สทนช.ยังติดตามความก้าวหน้าความพร้อมการบริหารจัดการพื้นที่ลุ่มต่ำรับน้ำนองอื่นๆ อาทิ พื้นที่ลุ่มต่ำบางระกำ มีพื้นที่ 0.265 ล้านไร่ได้เริ่มเพาะปลูกตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564 ปัจจุบันเพาะปลูกไปแล้ว 0.245 ล้านไร่ รวมถึงพื้นที่กรุงเทพมหานคร ที่ได้ดำเนินการเตรียมแก้มลิงเพื่อรองรับน้ำในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ปริมาตรรวม 13.04 ล้าน ลบ.ม.ที่จะต้องมีการติดตามผลการเตรียมการให้เป็นไปตามแผนสามารถรับน้ำหลากในช่วงฤดูฝนนี้ด้วยเช่นกัน
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |