13 ส.ค.64 - ที่รัฐสภา นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่…) พ.ศ…. แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 83 และมาตรา 91 กล่าวถึงการประชุมกมธ.แก้ไขรัฐธรรมนูญนัดสุดท้ายว่า การพิจารณารายมาตราทางกมธ.ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว โดยในวันนี้จะเป็นการพิจารณาแปรญัตติของกมธ.สัดส่วนพรรคก้าวไกลที่เหลือ 2 คน จากนั้นจะนำรายงานของคณะกมธ.มาให้ที่ประชุมตรวจสอบ ถ้าทั้งหมดเห็นชอบก็รับรองรายงาน และส่งนายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา เพื่อดำเนินการต่อไป
เมื่อถามถึงกรณีที่พรรคก้าวไกลจะยื่นญัตติด่วนถึงประธานรัฐสภา เพื่อบรรจุวาระให้ที่ประชุมรัฐสภาพิจารณาโหวตตัดสินว่า กมธ.แก้รัฐธรรมนูญแปรญัตตินอกเหนือจากที่รับหลักการมาในวาระที่ 1 ได้หรือไม่นั้น นายไพบูลย์ กล่าวว่า คงเป็นการใช้สิทธิ์ตามข้อบังคับรัฐสภาข้อที่ 151 ซึ่งทางส.ส.พรรคก้าวไกลคงเห็นว่าข้อบังคับรัฐสภาข้อที่ 124 ไม่สามารถแก้ไขเพิ่มเติมในมาตราอื่นใด ทั้งนี้ก็เป็นอำนาจของรัฐสภาต้องตีความเพื่อพิจารณาวินิจฉัย แต่ประเด็นอยู่ที่ข้อบังคับรัฐสภาข้อที่ 124 นั้นเขียนไว้ชัดเจน โดยเฉพาะวรรค 3 ที่สมาชิกสามารถแปรญัตติเพิ่มมาตราได้ แต่ต้องไม่ขัดต่อหลักการ หากเป็นเรื่องที่ขัดกับหลักการก็จะต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกัน เช่น กรณีบทเฉพาะกาล ดังนั้น ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่พิจารณานั้นดำเนินการตามข้อบังคับรัฐสภาข้อที่ 124 วรรค 3 ที่เขียนชัดเจน ถ้าพรรคก้าวไกลติดใจก็เสนอต่อที่ประชุมรัฐสภาได้ แต่ตนเชื่อว่าสมาชิกรัฐสภาหากได้อ่านข้อบังคับดังกล่าวแล้วก็เห็นว่าทุกอย่างมีความถูกต้อง ดังนั้น จึงไม่มีอะไรที่เป็นปัญหา
เมื่อถามว่าการยื่นญัตติด่วนของพรรคก้าวไกลจะทำให้การแก้ไขรัฐธรรมสะดุดใช่หรือไม่ นายไพบูลย์ กล่าวว่า ไม่มีผล ซึ่งผู้ยื่นเองก็ต้องเขียนให้ดี เพราะข้อบังคับรัฐสภาข้อที่ 124 เขียนไว้ชัดเจน หากยังต้องไปตีความ ตนก็ไม่เข้าใจเหมือนกัน หากอ่านกฎหมายเป็นก็น่าจะเข้าใจ
ถามอีกว่าประเด็นที่พรรคก้าวไกลจะยื่นนั้นได้ข้อยุติในชั้นกมธ.แก้ไขรัฐธรรมนูญหรือยัง นายไพบูลย์ กล่าวว่า กมธ.ทำตามข้อบังคับ เมื่ออ่านตามข้อบังคับรัฐสภาข้อที่ 124 แล้ว เราทำอย่างอื่นไม่ได้ คือเมื่อสมาชิกรัฐสภาแปรญัตติมาและมีการเพิ่มมาตรา รวมถึงยังมีเรื่องที่เกี่ยวเนื่องด้วย กมธ.ก็มีหน้าที่เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยเท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่ก็เห็นด้วยพบว่าต้องแก้ไขอยู่หลายมาตรา เพิ่มขึ้นตามที่มีการแปรญัตติมา ยืนยันว่าเป็นการทำหน้าที่ตามข้อบังคับ ตนจึงไม่ได้เป็นห่วงในเรื่องนี้ เพียงแต่เป็นห่วงผู้เสนอให้ตีความเท่านั้นว่าจะไปพูดอย่างไรในรัฐสภา เพราะมันขัดแย้งกับข้อบังคับ
เมื่อถามว่ามองว่าการยื่นญัตติด่วนครั้งนี้จะเป็นการขวางการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่ นายไพบูลย์ กล่าวว่า เป็นเรื่องของการใช้สิทธิ์และเป็นเรื่องเล็กน้อย เชื่อว่าไม่มีปัญหา
ถามต่อว่าดูเหมือนในส่วนประธานกมธ.กับกมธ.ในส่วนพรรคก้าวไกลจะมีปัญหาในการพิจารณาแก้ไขเนื้อหาสาระ นายไพบูลย์ กล่าวว่า ยืนยันว่าไม่มีปัญหา ซึ่งเป็นเพียงการแสดงความคิดเห็นของนายธีรัจชัย พันธุมาศ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และนายรังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ที่สามารถทำได้ ตนในฐานะประธานก็ต้องควบคุมการประชุม ทุกอย่างอยู่ที่ผลสุดท้าย ถ้าการประชุมและการพิจารณาเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ตนในฐานะประธานก็มีความพอใจ ส่วนนายธีรัจชัยและนายรังสิมันต์ก็ได้อภิปรายแสดงความคิดเห็นของตนเองแล้ว เพียงแต่ที่ประชุมไม่เห็นด้วยก็ถือเป็นเรื่องปกติ ตามระบอบประชาธิปไตยของรัฐสภา และทุกอย่างเป็นไปตามข้อบังคับทุกประการ
ถามด้วยว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญเกินรายมาตราจากญัตติที่พรรคประชาธิปัตย์เสนอมา ทางวุฒิสภามีความคิดเห็นอย่างไร นายไพบูลย์ กล่าวว่า ทุกอย่างเป็นไปตามข้อบังคับ โดยเฉพาะข้อบังคับรัฐสภาข้อที่ 124 วรรค 3 ที่สามารถแปรญัตติเพิ่มมาตราได้แต่ต้องไม่ขัดกับหลักการของร่างรัฐธรรมนูญ หรือเว้นแต่เกี่ยวเนื่องกัน เขียนไว้ชัดเจนขนาดนี้ตนเชื่อว่าไม่มีปัญหาอะไร เพราะทางวุฒิสภาก็อ่านกฎหมายกันเป็นประจำอยู่แล้ว ทุกอย่างมีความชัดเจนทุกประการ และที่ผ่านมาวุฒิสภาก็ไม่ได้มีการทักท้วงอะไร
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |