ปัจจุบันประเทศทั่วโลกต่างกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยประเทศญี่ปุ่นถือเป็นประเทศแรกที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัวในปี 2549 สำหรับประเทศไทยในขณะนี้ถือว่าได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว และกระทรวงสาธารณสุขยังระบุว่า จะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ภายในปี 2568 หรืออีก 7 ปีข้างหน้า แต่ก่อนจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย คนรอบข้างไม่ว่าจะเป็นลูกๆ หลานๆ หรือแม้กระทั่งตัวผู้สูงอายุเองควรเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะด้านอารมณ์และสุขภาพ เพื่อเตรียมตัวเข้าสู่วัยสูงอายุอย่างมีความสุข
ด้วยอายุของประชากรที่เพิ่มขึ้น ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสถิติจำนวนประชากรในประเทศ แสดงให้เห็นได้ว่าประเทศไทยมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น และมีจำนวนประชากรเด็กน้อยลง จึงคาดว่าจำนวนประชากรไทยที่มีอายุมากกว่า 65 ปี จากเดิมที่มีเพียง 7 ล้านคน จะเพิ่มสูงขึ้นเป็น 17 ล้านคนในอีก 30 ปีข้างหน้า เนื่องมาจากการพัฒนาอย่างรวดเร็วในด้านเศรษฐกิจ รวมไปถึงความสำเร็จในการรณรงค์ให้มีการคุมกำเนิดในช่วงปี พ.ศ.2513 เป็นผลให้ประชากรผู้สูงอายุมีมากขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของสถิติจำนวนประชากรเช่นนี้ได้เกิดขึ้นในประเทศที่พัฒนาแล้วร่วม 100 ปีก่อน อัตราการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรผู้สูงอายุดังกล่าวนั้น รวดเร็วยิ่งกว่าอัตราการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรทั้งหมดของประเทศ
การใส่ใจดูแลสุขภาพและการรับโภชนาการที่ดี รวมถึงพัฒนาการทางการแพทย์ที่สูงขึ้นในปัจจุบัน ส่งผลให้ประชากรมีอายุที่ยืนยาวขึ้น ผู้สูงอายุจึงมีความสุขในการใช้ชีวิตหลังวัยเกษียณมากขึ้น และมีจำนวนไม่น้อยที่ยังสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างคล่องแคล่ว โดยมีเวลาในการออกกำลังกาย รวมไปถึงการดูแลสุขภาพด้วยวิธีอื่นๆ ขณะที่บางกลุ่มเลือกที่จะเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศ เพื่อค้นหาประสบการณ์ใหม่ๆ ให้ชีวิต กับอีกจำนวนหนึ่งที่ชื่นชอบในการเข้าร่วมสื่อสังคมออนไลน์ เช่น โปรแกรมไลน์ และเฟซบุ๊ก
อย่างไรก็ตาม การเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย ก็เพื่อให้เราก้าวเข้าสู่การเป็นผู้สูงวัยที่พร้อมและมีความสุข เพราะอนาคตเป็นสิ่งที่คาดเดาไม่ได้ การเตรียมความพร้อมจึงเป็นเรื่องที่ดีที่สุด ด้วยอายุที่สูงขึ้น สภาพร่างกายและระบบการทำงานต่างๆ ของร่ายกาย ก็เกิดการเสื่อมถอยตามธรรมชาติ และอาจเกิดโรคประจำตัวเรื้อรัง ซึ่งต้องได้รับการดูแลที่แตกต่างไป นอกจากนี้ การเจ็บป่วยของผู้สูงอายุอาจเกิดขึ้นกับอวัยวะต่างๆ ได้ในเวลาเดียวกัน หนึ่งในปัญหาที่พบได้บ่อยกับผู้สูงอายุ ได้แก่ ปัญหาในการควบคุมการขับถ่าย เช่น ปัสสาวะเล็ด
แต่แม้อาการดังกล่าวจะเป็นเพียงปัญหาเล็กๆ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ และเป็นเรื่องปกติสำหรับผู้สูงวัยทั้งเพศชายและเพศหญิง แต่ก็ยังคงเป็นสิ่งที่รบกวนการใช้ชีวิตในสังคมของผู้สูงอายุ เช่น อาการปัสสาวะเล็ด เมื่อไอ จาม หรือ หัวเราะ โดยความรุนแรงของอาการนั้น เริ่มตั้งแต่การมีปัสสาวะหยดมาเปื้อนกางเกงในปริมาณที่ไม่มากนัก จนถึงมีอาการปัสสาวะเล็ดออกมาเป็นปริมาณมาก บางครั้งอาจมีอุจจาระเล็ดร่วมด้วย อาการที่เกิดขึ้นนั้น ร่างกายไม่สามารถควบคุมได้ ส่งผลให้เกิดความยากลำบากในการใช้ชีวิตประจำวัน และก่อให้เกิดความกังวลใจในการเข้าสังคม
ด้วยวิวัฒนาการที่เจริญก้าวหน้า ทำให้ปัจจุบันมีตัวช่วยในการรับมือกับอาการปัญหาปัสสาวะเล็ดเมื่อต้องออกจากบ้าน หรือต้องเดินทางไกล ซึ่งไม่สะดวกในการใช้ห้องน้ำสาธารณะหรือการลุกมาเข้าห้องน้ำบ่อยๆ ในตอนกลางคืน ผลิตภัณฑ์กางเกงซึมซับผู้ใหญ่ จึงเป็นนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ผู้สูงอายุ เพื่อผู้สวมใส่รู้สึกมั่นใจมากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่าง กางเกงซึมซับผู้ใหญ่ยี่ห้อ “ซีเคียว” ที่สามารถใช้สวมใส่แทนกางเกงชั้นใน ป้องกันการรั่วซึมได้รอบทิศทาง ให้ความกระชับ คล่องตัว ทำให้เคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ พร้อมกับเจลซึมซับและนวัตกรรมผิวด้านนอกนุ่มคล้ายผ้า ช่วยระบายอากาศและความร้อน ก็เป็นการตอบโจทย์ผู้สูงวัยได้อย่างดี.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |