ขอนแก่นฝึกผู้สูงอายุรับ Aging society


เพิ่มเพื่อน    

            องค์การสหประชาชาติให้นิยามผู้สูงอายุ หมายถึง ประชากรที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป และแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับการก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging soiety) เป็นสังคมที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศ ระดับสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged society) เป็นสังคมที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศ และระดับสังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มที่ (Super-aged society) หมายถึง สังคมหรือประเทศที่มีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศ

            ผศ.ดร.สาธร พรตระกูลพิพัฒน์ รองผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนและประกันคุณภาพ สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดเผยว่า สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดโครงการโรงเรียนผู้สูงอายุและนวัตกรรม ภายใต้โครงการอำเภอ มข.พัฒนา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการเรียนรู้ ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตลอดจนเสริมสร้างสุขภาพที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจของผู้สูงอายุ รวมทั้งเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาสู่นวัตกรรม ให้สามารถสร้างรายได้และเป็นประโยชน์แก่สังคม เพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ (Aging soiety) ในประเทศไทย โดยจัดกิจกรรมในพื้นที่ตำบลขามป้อมและตำบลหนองแวง อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น รวมพื้นที่ครอบคลุมกว่า 20 หมู่บ้าน มีผู้สูงอายุสมัครเข้าโรงเรียนกว่า 270 คน ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวเป็นไปตามนโยบายตามยุทธศาสตร์ที่ 3 Culture and Care Community คือเป็นองค์กรที่ดูแลห่วงใยใส่ใจสังคม ด้วยเล็งเห็นว่าประเทศไทยได้ก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ โครงการนี้จัดทำขึ้นเพื่อตอบสนองนโยบายรัฐบาลอย่างแท้จริง

            "สำนักบริการวิชาการกำหนดชุมชนต้นแบบ 12 ชุมชน ในปีนี้มีกำหนด 6 ชุมชน โดยชุมชนขามป้อมและหนองแวง อำเภอพระยืน เป็นชุมชนเป้าหมาย ซึ่งอยู่ในโครงการอำเภอ มข.พัฒนา มีคณะศึกษาศาสตร์เป็นแกนนำหลักสูตร ผนวกนักวิชาการมหาวิทยาลัยขอนแก่นมาให้ความรู้แกนนำในชุมชน เพื่อพยุงหลักสูตรให้เข้มแข็ง เมื่อเราทำสำเร็จ เขาจะยังสามารถต่อยอดโรงเรียนผู้สูงอายุอยู่ได้อย่างยั่งยืน"

            นายวิลัย มาป้อง อายุ 73 ปี ผู้อำนวยการโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลหนองแวง อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า เมื่อสำรวจปัญหาพบว่าผู้สูงอายุในชุมชนเกิดอาการซึมเศร้า รู้สึกโดดเดี่ยว ก่อนเริ่มโครงการมีการตรวจสุขภาพเบื้องต้นให้ผู้สูงอายุจำนวน 270 คน ทั้งนี้ มีอายุเฉลี่ย 67 ปี อายุสูงสุด 88 ปี การจัดโครงการเพื่อผู้สูงอายุนับเป็นครั้งแรกของชุมชน ผู้สูงอายุมีความกระตือรือร้นอยากเข้าร่วมกิจกรรม และมีความสุขเป็นอย่างมาก

            หลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุมีระยะเวลา 10 เดือน เรียนวันศุกร์ละ 2 วันต่อเดือน รวม 20 วัน แบ่งเป็นความรู้ วิชาชีวิต ร้อยละ 50 ประกอบด้วย วิชาสังคม ศาสนา ภูมิปัญญา ศิลปวัฒนธรรม สุขภาพ สิ่งแวดล้อม การออกกำลังกายสันทนาการ วิชาชีพร้อยละ 30 ประกอบด้วย วิชาเศรษฐกิจพอเพียง อาชีพและงานฝีมือ การจัดทำบัญชีครัวเรือน ดนตรีพื้นบ้าน และวิชาการร้อยละ 20 ประกอบด้วย วิชากฎหมายและสิทธิผู้สูงอายุ ภาษาต่างประเทศ เทคโนโลยี เป็นต้น

            ปัจจุบันประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และคาดการณ์ว่าสัดส่วนประชากรจะเปลี่ยนแปลงและกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ในปี 2563 นับเป็นวิกฤติที่ทุกประเทศต้องเผชิญ ทั้งในด้านจำนวนแรงงานลดลง  ด้านการแพทย์และสาธารณสุข ด้านสังคมและเศรษฐกิจ เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ทุกประเทศจึงตื่นตัวและจัดเตรียมรับมือกับวิกฤตการณ์ดังกล่าว.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"