การแพร่ระบาดโควิดยังคงทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคปรับเปลี่ยนในทุกๆ เดือน เนื่องจากการระบาดยังไม่แน่ชัดว่าจะสิ้นสุดเมื่อใด โดยผลสำรวจการคาดการณ์พฤติกรรมผู้บริโภคไทยประจำเดือนสิงหาคม 2564 พบว่า คนไทยมีความสุขลดลง ซึ่งมีผลกระทบมาจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในระลอกที่ 4 ในขณะเดียวกัน มีการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นสวนทางกับสภาวะเศรษฐกิจที่ฝืดเคือง โดยส่วนใหญ่เน้นใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็น รวมไปถึงการกักตุนอาหารเพื่อการดำรงชีพของตนเองและครอบครัวภายในบ้าน และวางแผนใช้จ่ายในช่วงเทศกาลวันแม่ สร้างความสุขเล็กๆ น้อยๆ เพื่อลดความตึงเครียดจากข่าวสารเรื่องวัคซีนโควิด ซึ่งเป็นประเด็นข่าวอันดับต้นๆ ที่ผู้คนสนใจไม่น้อยไปกว่าข่าวการเมืองและสถานการณ์ความเป็นไปในสังคมที่เข้มข้น รวมถึงหาแนวทางในการปรับตัวและดำเนินชีวิตให้อยู่รอดในช่วงนี้
ในเรื่องนี้ นางสาวชุติมา วิริยะมหากุล ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจ สถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน (ประเทศไทย) ได้ให้ความเห็นว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่รุนแรงมากขึ้นในขณะนี้ ส่งผลให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่ต้องใช้ชีวิตอยู่บ้านเป็นหลัก โดยเฉพาะในพื้นที่ควบคุมสูงสุด และเพิ่มความรู้และทักษะในการหารายได้จากออนไลน์มากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งจากการสำรวจจากสถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน (ประเทศไทย) ร่วมกับ บริษัท โซซิอัส จำกัด พบว่าสังคมไทยส่วนใหญ่มีความวิตกกังวลอย่างเห็นได้ชัดว่า คนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ และในจังหวัดพื้นที่สีแดงเข้ม มีความสุขลดลง 2% เมื่อเทียบจากผลสำรวจในช่วงเดือนมิถุนายน 2564 ที่ผ่านมา โดยมีข้อบ่งชี้สำคัญเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคอยู่ 2 ข้อ
ข้อแรกเลยจะเป็นเรื่องวางแผนการใช้เงินให้เกิดประโยชน์ และพัฒนาความสามารถในการหารายได้ คนไทยส่วนใหญ่ยังคงมีความระมัดระวังในการจับจ่ายใช้สอย โดยเน้นซื้อของที่คิดว่าจำเป็นก่อน เช่น ของใช้ในชีวิตประจำวัน และเครื่องใช้ภายในบ้าน รวมไปถึงมีการวางแผนใช้จ่ายล่วงหน้าพร้อมรับมือกับสถานการณ์โควิด ที่สำคัญคือ มีการปรับตัวในการดำรงชีพ ด้วยการเพิ่มความรู้และทักษะในการหารายได้ โดยโทรศัพท์มือถือและคอมพิวเตอร์ยังคงเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับทุกอาชีพในตอนนี้ เพื่อใช้ในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ จากออนไลน์ที่จะสามารถทำอะไรได้ด้วยตัวเองเพื่อความประหยัด
ข้อต่อมาคือ คนกรุงเทพฯ เน้นการใช้จ่ายเพื่อใช้ชีวิตที่สะดวกในบ้าน ในขณะที่คนต่างจังหวัดอยากจับจ่ายนอกบ้านมากขึ้น ถึงแม้จะมีความอัดอั้นตึงเครียดต่อเนื่อง แต่ก็ต้องการให้ชีวิตมีความสะดวกสบายเพิ่มขึ้น คนกรุงเทพฯ และจังหวัดข้างเคียงจึงเน้นการซื้อสิ่งอำนวยความสะดวกในบ้าน เช่น เครื่องนอน เครื่องใช้ไฟฟ้า ในขณะที่ภาคเหนือและภาคตะวันออก ผู้คนอยากออกไปใช้ชีวิตนอกบ้านมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการทานอาหารนอกบ้าน กิจกรรมกลางแจ้ง รวมไปถึงการท่องเที่ยว เพราะสถานการณ์โควิดในภูมิภาคนั้นไม่รุนแรงเท่า อีกปัจจัยหนึ่งในการใช้จ่ายก็คือ เทศกาลวันแม่ นอกจากมีโอกาสพาแม่ไปทานอาหาร แล้วผู้คนยังวางแผนซื้อกระเป๋า รองเท้า และเครื่องประดับเป็นของขวัญในวันแม่อีกด้วย
ไม่เพียงเท่านั้น เพราะดูเหมือนจากผลวิจัยในครั้งนี้ สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดคือ ปัญหาปากท้องของประชาชนที่มองว่าไม่มีอะไรเหมือนเดิมอีกต่อไป และต้องปรับตัวอย่างมากเพื่ออยู่รอด เมื่อดูจากพฤติกรรมผู้บริโภคทั้งในกลุ่มเสี่ยงหรือพื้นที่สีแดงเข้ม และกลุ่มพื้นที่เสี่ยงในต่างจังหวัด หากแบ่งตามภูมิภาคจะพบว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หลังจากภาครัฐประกาศล็อกดาวน์ ทำให้ผู้คนต่างกลับภูมิลำเนาและวางแผนอยู่แบบระยะยาว ส่งผลให้มีแนวโน้มการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ทั้งนอกจากเครื่องอุปโภคบริโภคที่มากขึ้นแล้ว ยังรวมถึงค่าน้ำมันและยานพาหนะ และใช้จ่ายเกี่ยวกับที่พักอาศัย ไม่ว่าจะเป็นการต่อเติมหรือตกแต่งบ้าน
หากจำแนกเป็นช่วงอายุ สำหรับวัย 20-39 ปี พบว่ามีความต้องการซื้อผลิตภัณฑ์ที่รองรับในช่วงเวิร์กฟรอมโฮม เช่น ของตกแต่งบ้านและเฟอร์นิเจอร์ และในช่วงอายุ 50-59 ปี มีความต้องการสิ่งที่จำเป็นในชีวิตประจำวันเพื่อความสะดวกสบาย และมีการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในเรื่องสุขภาพและความงาม จากข้อมูลพบว่า 5 กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่คนไทยใช้จ่ายมากที่สุดในช่วงสถานการณ์ล็อกดาวน์ เป็นกลุ่มสินค้าที่เน้นอำนวยความสะดวกการใช้ชีวิตในบ้านเป็นหลัก ได้แก่ อาหาร 25% ของใช้ประจำวัน 17% โทรศัพท์มือถือและสมาร์ทโฟน 11% อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และแท็บเล็ต 6% เสื้อผ้าและเครื่องประดับ 5%.
รุ่งนภา สารพิน
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |