10 ส.ค. 2564 นายธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “ทุกคนและทุกองค์กรต่างต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงและความไม่แน่นอนในสถานการณ์ปัจจุบัน เราจึงมองเห็นความต้องการที่จะนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ เพื่อให้องค์กรต่างๆได้อยู่รอดและเติบโตต่อไปได้ ความร่วมมือในการผลักดันสตาร์ทอัพไทยกับเอไอเอสในครั้งนี้ ก็เพื่อที่จะทำให้สตาร์ทอัพเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยกันซ่อมสร้างเศรษฐกิจและสังคมด้วยกัน การทำให้สตาร์ทอัพสามารถเข้าถึงทรัพยากรทางเทคโนโลยี และพบโจทย์ลูกค้าโดยตรงกับเราจะทำให้มิชชั่นนี้ของเราสำเร็จไปด้วยกัน และจากเป้าหมายนี้ไมโครซอฟท์มีความมุ่งมั่นในการส่งเสริมและผลักดันให้สตาร์ทอัพไทยเติบโตได้อย่างเต็มศักยภาพ เพื่อเป็นหนึ่งฟันเฟืองในการร่วมกันเอาชนะความท้าทาย พัฒนาธุรกิจให้เดินหน้าไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลในประเทศไทย และด้วยการผสานความรู้ความเชี่ยวชาญจากสององค์กรชั้นนำ เราจึงมั่นใจว่าจะสามารถร่วมปลดล็อคศักยภาพของสตาร์ทอัพในประเทศได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และสนับสนุนคนไทยและธุรกิจไทยให้ปรับตัวพร้อมรับกับสถานการณ์และเดินหน้าต่อไป”
นายซันเจย์ แอนดรูว์ โทมัส หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ AIS อธิบายเพิ่มเติมว่า “ในภาพใหญ่ของการขับเคลื่อนประเทศในทุกระดับ ทั้งภาครัฐและเอกชน สิ่งสำคัญที่นับว่าเป็นฟันเฟืองหลักในวันนี้ คือ Business Model หรือ กระบวนการทำงานรูปแบบใหม่ที่แตกต่าง ซึ่งสามารถแก้ปัญหา (Pain point) ได้อย่างตอบโจทย์ ด้วยเครื่องมือ Digital และนวัตกรรม ซึ่งเป็นรูปแบบการดำเนินธุรกิจของ Startup ที่ผ่านมาร่วม 10 ปี AIS จึงเป็น Telecom Operator รายแรกในประเทศไทยที่มีวิสัยทัศน์ในการสนับสนุน สร้างเวทีให้แก่ Startup ซึ่งจนถึงวันนี้ เป็นบทพิสูจน์แล้วในระดับหนึ่งว่า ไอเดียจาก Startup เป็นอีกหนึ่งกุญแจสำคัญของการสร้างนวัตกรรมรูปแบบบริการใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตของคนในสังคมอย่าง่ชัดเจน
โดยจุดยืนของ AIS ในการทำงานกับ Start Up ก็คือ พลังจากคู่คิด (Digital Partnership) ที่จะอยู่เคียงข้าง สนับสนุนไม่ให้พวกเขาทำงานเพียงลำพัง หากแต่ใช้ศักยภาพทั้งจากภายใน ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีแพล็ตฟอร์ม องค์ความรู้ ฐานลูกค้าทั้งของ AIS และในกลุ่ม Singtel กว่า 750 ล้าน รายทั่วโลก รวมถึงการเชื่อมต่อกับกลุ่มพันธมิตรภายนอก และกลุ่มนักลงทุน เพื่อสร้างโอกาสในการเติบโตอย่างยั่งยืน ซึ่งล่าสุด เราได้รับเกียรติอย่างยิ่งจากพาร์ทเนอร์ระดับโลกอย่าง Microsoft ในฐานะ Strategic Partner ที่นอกจากจะร่วมส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมแล้ว ยังเข้ามาร่วมเติมเต็มศักยภาพ เสริมขีดความสามารถด้าน IT infrastructure ของกลุ่ม Startup ให้แข็งแกร่ง พร้อมที่จะแข่งขันในตลาดที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาได้อย่างยั่งยืน”
สตาร์ทอัพที่เข้าร่วมโครงการ “AIS x Microsoft for Startups” จะได้รับการสนับสนุนทรัพยากรด้านเทคโนโลยี การเข้าถึงสตาร์ทอัพคอมมูนิตี้ต่างๆ และเทคนิคการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่ตลาด ดังต่อไปนี้
สร้างธุรกิจบนคลาวด์ที่ได้รับความเชื่อถือมากที่สุดและมีโครงสร้างพื้นฐานที่ดีที่สุด โดยสตาร์ทอัพจะได้รับประโยชน์จากระบบความปลอดภัยแบบ built-in ของ Azure ซึ่งมีการรับรองมาตรฐานที่มากที่สุดในอุตสาหกรรม อีกทั้งยังได้รับการสนับสนุนการเชื่อมต่อด้วยเครือข่ายไฟเบอร์และ 5G ที่น่าเชื่อถือที่สุดจากเอไอเอส
เตรียมความพร้อมในการจำหน่ายโซลูชันให้กับลูกค้าองค์กร ผู้ประกอบการและเอสเอ็มอี เชื่อมต่อกับผู้ขายและพันธมิตรจำนวนกว่าหลายร้อยรายของไมโครซอฟท์และเอไอเอส เพื่อมองหาโอกาสในการจำหน่ายโซลูชันของสตาร์ทอัพให้กับองค์กรชั้นนำของประเทศไทย
สามารถใช้เครื่องมือในการพัฒนาและภาษาใดก็ได้ สามารถเชื่อมต่อกับแอปพลิเคชัน ข้อมูล อุปกรณ์ต่างๆ ได้อย่างง่ายดาย ด้วยเครื่องมือที่พร้อมให้บริการกว่า 150 รายการ เช่น ตัวเชื่อม Azure Logic Apps สำหรับ Salesforce, Microsoft 365, Twitter, Dropbox และอื่นๆ อีกมากมาย
การเชื่อมต่อเข้ากับคอมมูนิตี้ของสตาร์ทอัพไทย เพื่อเชื่อมต่อและเรียนรู้จากสตาร์ทอัพอื่นๆ รวมถึงผู้พัฒนา และวิศวกรที่อยู่ในชุมชนทั้งจากโครงการ Microsoft for Startups, AIS The StartUp และนักพัฒนาซอฟต์แวร์อิสระอีกมากมายมากไปกว่านั้นการทำงานของที่สอดประสานของ AIS และ Microsoft ยังมีเป้าหมายเพื่อทำให้ศักยภาพของ Startup ที่เข้าร่วมสามารถเติบโตได้สูงสุดตามเป้าหมายอย่างแท้จริงในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็น
ความเร็ว (Speed) จากการเป็นพันธมิตรร่วมกันที่แข็งแกร่ง ทำให้ Startup ที่เข้าร่วมโครงการ “AIS x Microsoft for Startups” จะผ่าน APAC ซึ่งนับว่าเป็นการลดขั้นตอนในการเข้าถึงบริการของ Microsoft ได้เร็วยิ่งขึ้นซึ่ง AIS เป็น Local Certified หรือการให้สิทธิ์ของโปรแกรมเพียงรายเดียวในไทย อีกทั้งยังสามารถทำงานบนเครือข่ายพิเศษเฉพาะของ AIS เพื่อให้ทำงานได้อย่างรวดเร็ว
ความคุ้มค่า (Saving) ได้รับสิทธิประโยชน์ในการใช้งานสินค้าและบริการต่างๆ เพื่อเสริมประสิทธิภาพการทำงานของ Startup ในราคาที่พิเศษ และคุ้มค่า ไม่ว่าจะเป็นใช้งานบน Cloud Microsoft Azure ได้ฟรี, เครื่องมือต่างๆ ที่ให้เพิ่มเติมในการใช้งานฟรี เช่น Microsoft Teams, Microsoft 365 เป็นต้น
ความเข้าใจ (Solutions) สำหรับ Startup ในโครงการสามารถเลือกใช้โซลูชั่นต่างๆ ได้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย อาทิ Cloud : Microsoft Azure, Development : Visual Studio Enterprise, Productivity : Microsoft 365, Dynamic 365 : for Sales ซึ่งจะช่วยให้กระบวนการทำงานดีขึ้น สร้างรายได้การเติบโตที่เร็วและมั่นคง
ความเข้าถึงตลาด และการเติบโต (Sales & Marketing) สุดท้ายแล้วเป้าหมายสำคัญก็คือการสร้างยอดขายให้เติบโต โดยที่โครงการมีช่องทางขายให้กับ Startup ที่หลากหลายสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้โดยตรง ทั้งในส่วนของพนักงานขายจาก AIS และ Microsoft ที่ช่วยสนับสนุนอย่างเต็มที่, Telesell, การนำเสนอผ่านพาร์ทเนอร์ที่หลากหลาย หรือแม้แต่บน Market Place ที่มีนักลงทุนมากมาย
ในโครงการดังกล่าว สตาร์ทอัพสามารถใช้ Azure ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ซึ่งเปิดโอกาสในการต่อยอดจากเทคโนโลยีแบบโอเพนซอร์ส และสามารถเลือกใช้งานได้ทุกภาษา และขอบเขตการทำงานในทุกรูปแบบ อีกทั้งยังสนับสนุนด้านการรักษาความปลอดภัยตั้งแต่แรกเริ่ม ในขั้นตอนนี้ สตาร์ทอัพสามารถขอคำแนะนำแบบตัวต่อตัวจากผู้เชี่ยวชาญของไมโครซอฟท์เกี่ยวกับการพัฒนาธุรกิจและการทำตลาดในประเทศไทย เมื่อพัฒนาโซลูชันสำเร็จ สตาร์ทอัพที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับโอกาสในการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ผ่าน Commercial Marketplace ของไมโครซอฟท์ ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการขายโซลูชันแก่ลูกค้าระดับองค์กร นอกจากนี้ Commercial Marketplace ยังเป็นช่องทางการขายและการตลาดที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งช่วยให้สตาร์ทอัพสามารถเข้าถึงตลาดใหม่ๆ กลุ่มลูกค้าใหม่ๆ รวมถึงผู้ใช้งานคลาวด์ของไมโครซอฟท์จำนวนมาก และสร้างยอดขายได้สำเร็จ
สตาร์ทอัพที่สนใจเข้าร่วมโครงการ AIS x Microsoft for Startups สามารถสมัครได้ที่ https://thestartup.ais.co.th/register
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |