9 ส.ค.64 - เวลา 13.30 น. ที่กระทรวงสาธารณสุข พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก แถลงข่าวในประเด็นงานวิจัยฟ้าทะลายโจร ว่าจากการศึกษาประสิทธิภาพและความปลอดภัยของฟ้าทะลายโจรสกัดในผู้ป่วยที่เป็นโควิด-19 ที่ไม่มีอาการรุนแรง โดยเราได้ส่งข้อมูลเอกสารไปวารสารวิชาการรอให้มีการตีพิมพ์ต่อไป แต่ระหว่างนั้นก็มีการเก็บข้อมูลเชิงรายละเอียด ซึ่งพบข้อผิดพลาดของตัวเลขเล็กน้อย จึงได้ดึงข้อมูลตัวนี้ออกมา มิได้มีการปฏิเสธจากวารสารแต่ประกาศใด ซึ่งถ้าย้อนกลับไปในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19ใหม่ๆ ไม่มียาตัวไหนที่มีความชัดเจนที่จะได้รับรองอย่างเป็นทางการว่าจะสามารถกำจัดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้โดยตรง เพราะฉะนั้นทีมงานนักวิจัยได้พยายามค้นหาข้อมูลที่มีความครบถ้วน รักษาโควิด-19 ได้ ในประเทศไทยได้หยิบตัวยาฟ้าทะลายโจรซึ่งมีคำตอบในระดับห้องทดลองมาวิจัยกันต่อเนื่อง มีการทดลองใช้สารสกัดฟ้าทะลายโจรกับผู่ป่วยโควิด-19 พบว่ามีผลลัพธ์ที่ดีในการลดการพัฒนาของโรคไม่ให้เดินหน้ารุนแรงไปจนกระทั่งเกิดปอดอักเสบ
พญ.อัมพร กล่าวว่า โดยการทดลองเป็นแบบสุ่มโดยแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม 1.ใช้ยาสารสกัดฟ้าทะลายโจรในผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการเล็กน้อยอายุ 18-60 ปี 2.กลุ่มที่ไม่ได้รับยาฟ้าทะลายโจร แต่ให้ยาหลอก ผลลัพธ์ออกมาว่ากลุ่มที่ได้รับสารสกัดฟ้าทะลายโจร 29 รายพบว่าผู้ป่วยทุกคนไม่เป็นโรคปอดอักเสบ อย่างไรก็ตามการผลักดันการศึกษาต่อเนื่องนั้นนำไปสู่ข้อเสนอแนะในเชิงนโยบายในลำดับถัดไป แต่อีกด้านหนึ่งทางนักวิจัยต้องขยับงานวิจัยชิ้นนี้ใหเป็นผลงานที่นำไปแบ่งปันเพื่อนนักวิจัยในแวดวงอื่นๆด้วย จึงต้องมีการคิดค่าคำนวณต่างๆ โดยในเอกสารการวิจัยที่เสนอ ประเด็นปัญหาอยู่ที่ค่านัยยะสำคัญทางสถิติที่คำนวณได้ในครั้งแรกมีความคาดเคลื่อน ซึ่งตอนแรกใส่ไว้ว่าคำนวณได้ว่าเป็น 0.03 แล้วนำเสนอไป โดยเมื่อกลับมาพิจารณาใหม่จึงค้นพบว่าตัวเลขต้องเป็น 0.112
"ความเข้าใจของประชาชนทั่วไปค่านัยยะสำคัญทางสถิติอาจจะหมายความว่าถ้าตัวเลขที่เราเสนอไปตั้งแต่ตอนแรกนั้นเปรียบเสมือนว่า หากมีการทดลอง 100 ครั้ง การค้นพบว่าจะมีผลลัพธ์คงเดิมจะอยู่ที่ประมาณ 97 ครั้ง ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจมาก แต่ตัวเลขที่คำนวณให้ถูกต้องนั้นกลายเป็นว่า หากมีการทดลอง 100 ครั้ง ผลลัพท์ที่เจอว่าเหมือนเดิมนั้นจะอยู่ประมาณ 90 ครั้ง ความเที่ยงจะลดลงมาในระดับหนึ่ง "กล่าวและว่า ความคลาดเคลื่อน เกิดขึ้นเพราะกลุ่มตัวอย่างมีจำนวนค่อนข้างน้อย ส่วนเรื่องของความคงอยู่ของไวรัสเมื่อได้รับการรักษาในฟ้าทะลายโจร ซึ่งกลุ่มที่ได้รับสารสกัดฟ้าทะลายโจรนั้น พบว่าใน 29 รายที่รับประทานฟ้าทะลายโจร เจอตัวไวรัสที่ยังคงอยู่เพียง 10 ราย จาก 29 ราย นอกจากนี้ในการศึกษาฟ้าทะลายโจรไม่ได้พบว่ามีปัญหาในเชิงของผลกระทบต่อตับ ไต และระบบเลือด สะท้อนว่ามีความปลอดภัยที่ไว้วางใจได้เลยทีเดียว
พญ.อัมพร กล่าวอีกว่า เพราะฉะนั้นเรื่องราวการถอนงานวิจัยในครั้งนี้สรุปว่าทีมนักวิจัยไทย กรมการแพทย์แผนไทยฯได้ค้นพบความผิดผลาดของสถิติในจุดที่ว่านี้ แล้วก็ขอดึงงานวิจัยนี้ออกมา ไม่ได้ถูกปฏิเสธหรือถูกส่งคืนกลับมาจากวารสาร รวมถึงผลการวิจัย และเนื้อหาทั้งหมดยังคงเป็นไปตามรายงานฉบับแรกอยู่ และเมื่อปรับปรุงตัวเลขให้เรียบร้อย ก็จะมีการส่งกลับไปที่วารสารอีก ดังนั้นสารสกัดฟ้าทะลายโจรมีแนวโน้มที่ดีเช่นเดิมในการรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 ในระยะเริ่มต้น
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |