แด่..คุณครูที่รัก


เพิ่มเพื่อน    

            วันครู ..ก็ไม่รู้ว่ามนุษย์ลูกมนุษย์หลานยุคดิจิตอลนี้ยังให้ความสำคัญและระลึกถึงหรือเปล่านะ!!

            แต่เอาเป็นว่า ยุคการสื่อสารแค่คลิกมือเดียว ใครเล่นไลน์ในห้องที่มีครูบาอาจารย์ ก็ส่งสติกเกอร์ดอกไม้แสดงความคารวะไปให้ท่านสักหน่อย สักช่อสองช่อก็ดีนะคะ เพราะมันคือกำลังใจที่จะหล่อเลี้ยงครู โดยเฉพาะในวัยเกษียณไปแล้วได้อย่างยอดเยี่ยม ..โดยที่ไม่เสียเงินเสียทองนะจ๊ะ

            จากการไปเห็นครูบนดอยแม่ตื่น ที่โรงเรียนอูมฮวม ทำงานแล้ว ต้องยกนิ้วให้ในความเสียสละและทุ่มเทเป็นอย่างมากค่ะ

            ครูปุ้ม ครูกฤต ครูนก ครูสุชาติ และครูที่ป้าจำชื่อไม่ได้แล้ว ..แหะๆ ต้องกินอยู่กับนักเรียนที่นั่นจนกว่าจะปิดเทอมถึงจะลงจากดอยไปหาครอบครัวได้

            เฉพาะครูปุ้มเธอมาจากอุทัยธานี ในขณะที่ครูกฤตเป็นคนกรุงเทพฯ แต่ที่ต้องยกมือกดไลค์ให้คือ ครูกฤตเธอเป็นจิตอาสามาช่วยสอนหนังสือเด็กๆ โดยไม่มีเงินเดือน ไม่มีตำแหน่งทางราชการใดๆ ทั้งสิ้น ทั้งนี้ทั้งนั้นอันเนื่องมาจากเธอมาเยี่ยมครูปุ้ม เพื่อนของเธอ แล้วเห็นว่าเพื่อนทำงานหนักมาก

            ไม่ใช่งานเฉพาะในห้องเรียนเท่านั้น แต่เนื่องจากโรงเรียนอูมฮวมมีครูสอนเต็มเวลาทุกวัน ทำให้มีเด็กต่างถิ่น ต่างบ้าน ต่างตำบล เดินทางขึ้นมาเรียนที่อูมฮวม ซึ่งพระอาจารย์ผู้ก่อตั้งโรงเรียนก็แก้ไขปัญหาการเดินทางของเด็กในหมู่บ้านอื่นๆ ที่ใช้เวลาอย่างน้อย 2-3 ชั่วโมงด้วยการสร้างหอพักไว้บนนั้น จึงเป็นหน้าที่ของคุณครูที่ต้องหาอาหารให้เด็กรับประทาน 3 มื้อ แต่ในงบประมาณจากทางราชการแค่มื้อกลางวันมื้อเดียว หรือหัวละ 20 บาทเท่านั้น

            ถามคุณครูว่า เหนื่อยไหมจ๊ะ

            คุณครูตอบว่า ถ้าบอกว่าไม่เหนื่อย ก็จะเป็นการมุสานะคะ ...แต่อย่างไรก็ตาม ในความเหน็ดความเหนื่อยก็ชื่นใจ เพราะเด็กที่นี่ตั้งใจเรียนดีมาก ว่านอนสอนง่าย ไม่มีเด็กเกเร ซึ่งเหตุผลอาจจะเพราะพวกเขาไม่มีสิ่งเร้า หรือความบันเทิงจากภายนอกมาคอยเป็นแรงกดดัน

            อีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้ครูบนดอยสุขใจคือ ธรรมชาติที่สงบ เรียบง่าย พลอยให้พวกคุณครูเก็บหอมรอมริบเป็นกอบเป็นกำ ไม่มีห้างให้เดินช็อปปิ้ง ไม่ต้องแข่งแต่งตัวตามแฟชั่นกับใคร

            เหตุผลที่โดนใจในการมาเป็นครูที่อูมฮวมคือ คุณครูบอกว่า เลือกที่มาลงในโรงเรียนที่เด็กต้องการครู ดีกว่าเลือกลงในโรงเรียนที่เราอยากจะอยู่ เพราะไม่แน่ใจว่าคนที่อยู่มาก่อน หรือเด็กนั้นต้องการเราหรือเปล่า แต่บนดอยนั้น เด็กๆ ต้องการครูแน่นอน 1000 เปอร์เซ็นต์

            ฉะนั้น เมื่อเลือกเป็นครูบนดอยแล้ว ครูก็ต้องเรียนรู้วิถีชีวิตและสังคมของที่นั่น บางครั้งต้องพูดไทยคำ ภาษากะเหรี่ยงคำ และเหนืออื่นใดคือ การรู้จักทำอาหารแบบที่เด็กกะเหรี่ยงชอบรับประทาน คือเค็มและเผ็ดเข้าไว้

            มนุษย์ป้าคงต้องมีปัญหาไตวายแน่ เพราะอาหารทุกอย่างบนนั้นเค็ม แต่ขอโทษที น้ำใจของเขาทุกคนไม่มีเค็มเลยค่ะ หวานหอมด้วยไมตรี ยิ้มแย้มแจ่มใสมาก

            ขอคารวะครูบนดอยทุกแห่งค่ะ เพราะถ้าไม่ทำดีจริง ชาวบ้านก็คงไม่เคารพ ไว้ใจ และนับถือนะคะ

            สู้ๆ ค่ะ คุณครูที่รัก.

                                                                                                                      "ป้าเอง"


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"