การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ยังคงมีอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีผู้ป่วยที่รอรับการรักษาเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) ดังนั้นทางภาครัฐจึงมีความจำเป็นที่จะต้องจัดหาพื้นที่ที่เหมาะสมจัดตั้งเป็นโรงพยาบาลสนาม (ชั่วคราว) เพื่อรองรับผู้ติดเชื้อโควิด-19 วันนี้เราจะนำข้อมูลข่าวสารของหน่วยงานที่ได้มีการเตรียมพื้นที่ตั้งโรงพยาบาลสนามมาให้ได้รับทราบกัน
จะเห็นได้ว่าข้อมูลจากศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ศบค. รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ล่าสุด เมื่อวันที่ 6 ส.ค.ที่ผ่านมา ภาพรวมของการระบาดยังต้องคอยเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด หลังพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่อีก 21,379 ราย แบ่งเป็น ผู้ติดเชื้อรายใหม่ 20,895 ราย และผู้ติดเชื้อในเรือนจำ 484 ราย ทำให้มียอดผู้ป่วยยืนยันสะสมแล้วจนถึงวันนี้ 714,684 ราย อีกทั้งยังมียอดผู้เสียชีวิตอย่างต่อเนื่อง
ส่งผลให้เกิดภาวะผู้ป่วยล้นทะลักโรงพยาบาล โรงพยายามสนามจึงมีความจำเป็น ดังนั้นเมื่อมีการประสานจากกระทรวงสาธารณสุขมายัง
กระทรวงคมนาคม พื้นที่ของหน่วยงานในสังกัดมาเป็นโรงพยาบาลสนามเพื่อรองรับผู้ป่วย จึงเป็นที่มาของการประสานน้ำใจ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างกระตือรือร้น พร้อมใจกันจัดหาพื้นที่เพื่อใช้ในการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม และโดยเฉพาะการใช้พื้นที่สนามบินดอนเมือง สร้างโรงพยาบาลสนามพลังแผ่นดินแห่งที่ 3 ที่มีชื่อว่า “โรงพยาบาลสนามใต้ร่มพระบารมี”
สำหรับ โรงพยาบาลสนามใต้ร่มพระบารมี ใช้พื้นที่ของคลังสินค้าขาออกที่ 4 สนามบินดอนเมืองเป็นที่ก่อสร้าง โดยได้รับการสนับสนุนอาคารสถานที่จากกรมธนารักษ์ และบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. และมี รพ.มงกุฎวัฒนะ ให้เข้าไปปรับปรุงพื้นที่ วางระบบโรงพยาบาลสนาม อุปกรณ์ทางการแพทย์ พร้อมจัดทีมบุคลากรทางการแพทย์
โดยโรงพยาบาลสนามที่ได้จัดตั้งขึ้นมีจุดประสงค์เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ติดเชื้อโควิด-19 จากสถานการณ์ปัจจุบันที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง ทำให้มีผู้ป่วยที่รอรับการรักษาเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จึงมีความจำเป็นที่จะต้องจัดหาพื้นที่ที่เหมาะสมจัดตั้งเป็นโรงพยาบาลสนาม (ชั่วคราว) เพื่อรองรับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่มีอาการไม่รุนแรง
สามารถรองรับได้จำนวน 1,800 เตียง สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง (สีเขียว) ที่ผ่านมาได้มีการทดสอบระบบงานทั้งด้านการแพทย์และการสนับสนุน ทั้งความเรียบร้อยอื่นๆ เนื่องจากต้องรับผู้ติดเชื้อจำนวนมาก โดยคาดว่าจะรับผู้ติดเชื้อโควิด-19 อาการน้อยได้ภายในวันที่ 12 ส.ค.64 นี้ และได้รับการอนุมัติตรวจและรับรองมาตรฐานจากหน่วยงานสาธารณสุขและกรุงเทพมหานคร โดยไม่ส่งผลกระทบต่อกิจการท่าอากาศยานและชุมชนโดยรอบแล้ว
มากันต่อที่ โรงพยาบาลสนามจุดที่ 2 โดยกระทรวงคมนาคมได้เปิดพื้นที่อาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 (แซตเทิลไลต์ : SAT-1) สนามบินสุวรรณภูมิ ถือว่าได้รับเลือกให้เป็นโรงพยาบาลรองรับผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 โดยโรงพยาบาลสนามแห่งนี้ โดยได้รับการรับรองจากกระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจากที่ได้มีการลงพื้นที่สำรวจสถานที่ดังกล่าว ซึ่งมีขนาดพื้นที่มากกว่าโรงพยาบาลบุษราคัม ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี ประมาณ 3 เท่า และมีเป้าหมายจะใช้ทดแทนโรงพยาบาลบุษราคัม ที่จะครบการใช้พื้นที่ในเดือนสิงหาคมนี้
สำหรับ SAT-1 เป็นอาคาร 4 ชั้น มีความยาวประมาณ 1,000 เมตร พื้นที่ใช้สอยถึง 216,000 ตารางเมตร มีระบบปรับอากาศ ไฟฟ้า น้ำประปาพร้อม หากปรับใช้เป็นโรงพยาบาลสนามจะต้องมีการปรับพื้นที่ และเพิ่มเติมห้องอาบน้ำ ตลอดจนอุปกรณ์การแพทย์ต่างๆ ส่วนการเดินทางมายังอาคาร SAT 1 จากบางนาจะใช้เวลา 20 นาที ขณะนี้มีถนนชั่วคราวเข้าอาคาร SAT-1 แล้ว โดยที่ผ่านมาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เข้าไปดูแลความเรียบร้อยเพื่อเตรียมความพร้อมในการเปิดให้บริการโรงพยาบาลสนามแล้ว ถือว่ามีมาตรฐานเอามากๆ
สำหรับโรงพยาบาลสนามแห่งนี้จะสามารถตั้งเตียงรองรับผู้ป่วยได้ถึง 5,000 เตียงในระยะแรก โดยจะใช้พื้นที่ชั้น 2 เป็นสถานที่ทำการของแพทย์และห้อง ICU ส่วนชั้น 3 และ 4 เป็นพื้นที่ สำหรับคนไข้สีเขียวและเหลือง ซึ่งจะเริ่มเปิดให้บริการได้ภายในเดือนสิงหาคมนี้
ทั้งหมดนี้ก็เป็นข้อมูลดีๆ ที่นำมาฝากท่านผู้อ่าน ในสถานการณ์วิกฤติที่ต้องพึ่งพาอาศัยกันอาจจะช่วยได้บ้าง ไม่มากก็น้อยที่ได้ส่งผ่านข้อมูลออกไป เพื่อบางท่านมีบุคคลในครอบครัวที่ได้ติดเชื้อโควิด หากในช่วงเวลาดังกล่าวไม่สามารถเข้าถึงระบบสาธารณสุขได้ วันนี้โรงพยาบาลสนามทั้ง 2 แห่ง อาจจะเป็นทางเลือกที่จะได้พักรักษาตัว ซึ่งโรงพยาบาลสนามทั้ง 2 แห่งจะทยอยเปิดในเร็วๆ นี้ ก็อาจจะช่วยท่านได้บ้าง.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |