8 ส.ค.64- นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค แถลงข่าวการกระจายวัคซีนไฟเซอร์ว่า วัคซีนไฟเซอร์ที่ได้รับมา 1.5 ล้านโดสต้องถูกเก็บรักษาอย่างดีในอุณหภุมิ -70 องศา และเป็นวัคซีนใหม่เพิ่งผลิตเมื่อเดือน มิ.ย. และจะหมดอายุในเดือน พ.ย. 2564 โดยการผลิตอยู่ที่โรงงานในสหรัฐอเมริกา จากแผนเดิมจะเริ่มส่งวัคซีนไฟเซอร์ไปถึงรพ.ต่างจังหวัดในวันที่ 7-8 ส.ค. และเริ่มฉีดใน วันที่ 9 ส.ค. แต่เนื่องจากความจำเป็นเร่งด่วนวัคซีนจึงถูกนำส่งไปยังรพ.ในต่างจังหวัด ซึ่งได้มีการดำเนินการส่งไปใน 170 โรงพยาบาลทั่วประเทศ จากการประเมินจากข้อมูลในระบบที่รพ. สำรวจบุคลากรทางการแพทย์ส่งมาให้ เน้นรพ.พื้นที่ห่างไกลในวันที่ 4-6 ส.ค.64 ในล็อตแรกประมาณกว่า 4.4 แสนโดสหรือ 50-75% และนำไปเก็บรักษาไว้ที่ตู้เย็นโรงพยาบาลจังหวัด ซึ่งสามารถเก็บรักษาความเย็นไว้ได้ในอุณหภูมิ 2-8 องศา ไฟไม่ตก และต้องฉีดวัคซีนให้หมดล็อตภายใน 31 วัน
โดยข้อมูลในวันที่ 4-7 ส.ค.64 มีบุคลากรทางการแพทย์ได้รับวัคซีนรวม 5.7 หมื่นคน เพิ่มขึ้นจากเมื่อวันที่7 ส.ค. 1.1 หมื่นคน ซึ่งส่วนใหญ่มีอาการหลังฉีดที่พบ คือ ปวด บวม ร้อน มีไข้นิดหน่อย ในส่วนวัคซีนที่เหลืออยู่อีก 2.5 แสนโดสในส่วนของบุคลากรทางการแพทย์ จะกระจายส่งไปเพิ่มเติมเป็นเข็มที่ 2 หรือเข็มที่ 1 สำหรับบุคลากรที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน และสำหรับบุคลากรต้องการจะฉีดเข็มบูสเตอร์ หรือในกลุ่มบุคลากรที่ทำงานในพื้นที่ต่างจังหวัดที่มีการระบาดใหม่ ตามนโยบายที่ส่งผู้ติดเชื้อกลับภูมิลำเนาเกือบแสนคน
ส่วนวัคซีนไฟเซอร์จำนวน 6.45 แสนโดส สำหรับกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป กลุ่ม 7 โรคเรื้อรัง หญิงตั้งครรภ์ 12 สัปดาห์ และในเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไป เพราะเด็กก็มีโรคเรื้อรังและเป็นโรคที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิดและเสีย ชีวิตเยอะ เช่น โรคเบาหวานตั้งแต่กำหนิด โรคไตเรื้อรัง โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง โรคหัวใจ ที่จะส่งให้ในจังหวัดควบคุมเข้มข้น 13 จังหวัดแรกก่อน สำหรับ 16 จังหวัดที่เพิ่งประกาศเป็นพื้นที่ควบคุม เข้มข้นเพิ่มเติมต้องรอการจัดสรรในล็อตถัดไป
สำหรับบุคลากรที่ได้รับวัคซีนไฟเซอร์เข็มที่ 1 จะต้องฉีดเข็มที่ 2 ในอีก 3 สัปดาห์ ก็จะมีส่วนหนึ่งที่เก็บสำรองไว้ให้ และมีบุคลาการแพทย์ด้านหน้าอีกส่วนหนึ่งที่ยังได้รับวัคซีนเลย และส่วนที่ รอวัคซีนไฟเซอร์อีกประมาณ 70% แต่ส่วนใหญ่ก็ได้รับวัคซีนซิโนแวคครบ 2 โดส หรือแสตร้าเซนิก้าครบ 2 โดสแล้วซึ่งผู้เชี่ยวชาญยังไม่แนะนำให้ฉีดเข็มกระตุ้นที่ 3 เนื่องจากยังมีภูมิคุ้มันสูงสู้กับ สายพันธุ์เดลต้าได้ ซึ่งวัคซีนที่เหลือหลังจากฉีดครบแล้วก็จะเก็บไว้ให้ส่วนวัคซีน และวัคซีนไฟเซอร์ เป็นวัคซีนแพลตฟอร์มใหม่ของไทย ยังรู้จักและมีประสบการณ์เกี่ยวกับวัคซีนไม่มากเท่ากับ วัคซีนซิโนแวคและแอสตร้าเซนิก้าที่มีการใช้มาตั้งแต่เดือน ก.พ.64 จึงต้องฉีดในกลุ่มบุคลากรแพทย์ก่อนเนื่องจากทำงานใกล้ชิดกับผู้ป่วย และมีความแข็งแรง สามารถติดตามประเมินอาการ หลังฉีดได้ง่าย ซึ่งการติดตามอาการก็มีในลักษณะเดียวกันคือ ประเมินอาการหลังฉีด 30 นาที เมื่อฉีดครบ 24 ชั่วโมง ก็ต้องติดตามอาการอีก 7 วัน และ 30 วัน
ถามในกรณีสำหรับผู้ที่ได้รับวัคซีนซิโนแวคครบ 2 โดสมานานพอสมควร สามารถนับรวมเป็นภูมิคุ้มกันหมู่ได้หรือไม่ นพ.โสภณ กล่าวว่า ฉีดวัคซีนซิโนแวคครบ 2 โดส ยังสามารถป้องการ ตายได้เกือบ 90% อย่างประเทศชิลีที่มีตัวเลขของผู้ที่ฉีดซิโนแวคครบ 2 เข็มในการป้องกันการตายและป่วยหนักได้เกือบ 90% เช่นกัน เพียงแต่เปอร์เซ็นป้องกันการติดเชื้อจะลดลง หรือในอเมริกา แม้ว่าจะฉีดวัคซีนไฟเซอร์หรือโมเดอร์นาแล้ว ก็ยังมีผู้ติดเชื้อเพิ่มกว่า 5-7 แสนคน เพราะสายพันธุ์เดลต้ามีการติดเชื้อได้ง่าย
ทั้งนี้ สำหรับแผนการกระจายวัคซีนในเดือน ส.ค. สำหรับไฟเซอร์ในล็อตถัดไปวันที่ 9 ส.ค. นี้ ใน 13 จังหวัดควบคุมสูงสุดและเข้มงวด จะกระจายไปกลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่ม 7 โรคเรื้อรัง หญิงตั้งครรภ์ และเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไป และจะเริ่มให้บริการฉีดวัคซีนได้ในช่วงกลางสัปดาห์ ส่วนใน 29 จังหวัดควบคุม จะไม่ได้แค่ไฟเซอร์ แต่จะรวมทั้งวัคซิโนแวค และแอสตร้าเซนิก้าด้วย โดยแต่ละสัปดาห์ จะส่งวัคซีนไปต่างจังหวัดในจำนวน 2 ล้านโดส รวม 4 สัปดาห์ 10 ล้านโดส ดังนั้นรวมวัคซีนที่ส่งไปยังต่างจังหวัดกว่า 80% โดยครึ่งหนึ่งจะถูกส่งไปใน 29 จังหวัด ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีการระบาด และตั้งเป้าฉีดวัคซีนในกลุ่ม 608 ให้ได้ 70% และประมาณต้นปีหน้าจะฉีดให้กับคนที่ยังไม่ได้วัคซีนเลย โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ และฉีดเข็มบูสเตอร์ให้กับประชาชนทั่วไป
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |