8 ส.ค. 2564 รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Thira Woratanarat ระบุว่า
สถานการณ์ทั่วโลก 8 สิงหาคม 2564...
สายๆ จะทะลุ 203 ล้าน
เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 562,041 คน รวมแล้วตอนนี้ 202,924,613 คน ตายเพิ่มอีก 8,551 คน ยอดตายรวม 4,298,292 คน
5 อันดับแรกที่มีจำนวนติดเชื้อต่อวันสูงสุด ยังคงเป็นเช่นเดิมคือ อเมริกา บราซิล อินเดีย อินโดนีเซีย และสหราชอาณาจักร
อเมริกา ติดเชื้อเพิ่ม 66,987 คน รวม 36,516,985 คน ตายเพิ่ม 319 คน ยอดเสียชีวิตรวม 632,986 คน อัตราตาย 1.7%
อินเดีย ติดเพิ่ม 39,070 คน รวม 31,933,553 คน ตายเพิ่ม 491 คน ยอดเสียชีวิตรวม 427,892 คน อัตราตาย 1.3%
บราซิล ติดเพิ่ม 43,033 คน รวม 20,151,779 คน ตายเพิ่ม 945 คน ยอดเสียชีวิตรวม 562,752 คน อัตราตาย 2.8%
รัสเซีย ติดเพิ่ม 22,320 คน รวม 6,424,884 คน ตายเพิ่ม 793 คน ยอดเสียชีวิตรวม 164,094 คน อัตราตาย 2.6%
ฝรั่งเศส ติดเพิ่ม 25,755 คน ยอดรวม 6,284,708 คน ตายเพิ่ม 32 คน ยอดเสียชีวิตรวม 112,190 คน อัตราตาย 1.8%
อันดับ 6-10 เป็น สหราชอาณาจักร ตุรกี อาร์เจนติน่า โคลอมเบีย และสเปน ติดกันหลักพันถึงหลายหมื่น
แถบอเมริกาใต้ ยุโรป แอฟริกา เอเชีย หลายต่อหลายประเทศติดกันเพิ่มหลักพันถึงหลักหมื่น
หากรวมทวีปเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ พบว่ายังคงมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 82.85 ของจำนวนติดเชื้อใหม่ทั้งหมดต่อวัน
ญี่ปุ่นระลอกห้าหนักขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุดเพิ่มอีกถึง 15,645 คน สูงสุดเท่าที่เคยระบาดมา ยอดรวมทะลุล้านคนไปแล้ว
ฟิลิปปินส์ติดเชื้อทะลุกว่าหมื่นคนต่อวันไปแล้ว ส่วนเกาหลีใต้ เมียนมาร์ เวียดนาม ล้วนติดหลักพันอย่างต่อเนื่อง
แถบสแกนดิเนเวีย บอลติก และยูเรเชีย ก็มีการติดเชื้อเพิ่มขึ้นหลักร้อยถึงหลักพัน
แถบตะวันออกกลางส่วนใหญ่ยังติดเพิ่มหลักร้อยถึงหลักพัน ยกเว้นอิหร่านติดเพิ่มหลักหมื่นอย่างต่อเนื่อง
กัมพูชา ลาว จีน และออสเตรเลีย ติดเพิ่มหลักร้อย ส่วนสิงคโปร์ และไต้หวัน ติดเพิ่มหลักสิบ ในขณะที่ฮ่องกงติดเพิ่มต่ำกว่าสิบ
...สำหรับไทยเรา
เมื่อวานจำนวนติดเชื้อของเราสูงเป็นอันดับ 10 ของโลก และมากเป็นอันดับที่ 5 ของเอเชีย
จำนวนผู้เสียชีวิตเมื่อวาน 212 คน สูงเป็นอันดับ 11 ของโลก และอันดับ 6 ของเอเชีย
ส่วนจำนวนผู้ป่วยรุนแรงและวิกฤติตอนนี้ ไทยเรามีมากเป็นอันดับ 6 ของโลก อันดับ 3 ของเอเชีย และอันดับ 1 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
หากเปรียบเทียบความเข้มข้นของมาตรการภาพรวมในการจัดการการระบาดของโควิด-19 แล้ว เราจะเห็นจาก Stringency index ในภาพจาก Ourworldindata ว่าขณะนี้ความเข้มข้นอยู่ในระดับพอๆ กับช่วงระลอกสองตอนปลายปีก่อนและต้นปีที่ผ่านมา และน้อยกว่าระลอกแรก ในขณะที่สถานการณ์ระบาดที่เผชิญอยู่ตอนนี้ ย่อมทราบกันเป็นอย่างดีว่าหนักหนาสาหัสเพียงใด
ดังนั้นจึงไม่แปลกใจที่ผลลัพธ์ในการควบคุมโรคระบาดจึงออกมาดังที่เห็น
หากยังดำเนินไปเช่นนี้ คงยากที่จะจัดการได้ และมีโอกาสยืดยาวไปเรื่อยๆ ประชาชนในประเทศจะยืนระยะไม่ไหว และจะส่งผลกระทบต่อสถานะทางสังคมและเศรษฐกิจอย่างมากมาย และจะเกิดความโกลาหลในสังคมได้ หากถึงจุดที่ทุกคนรับไม่ไหว ไม่ใช่แค่ระบบสาธารณสุข แต่จะกลายเป็นทุกภาคส่วน
ดังนั้นรัฐจึงควรทบทวนนโยบายและมาตรการที่มีอยู่อย่างเร่งด่วน ยอมรับความจริงว่าไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ
ปรับเปลี่ยนกลไกนโยบายและวิชาการ
ปรับเปลี่ยนนโยบายวัคซีนหลักของประเทศโดยมุ่งจัดหาและใช้วัคซีนประสิทธิภาพสูง
ปรับเปลี่ยนมาตรการ มุ่งเป้าตัดวงจรการระบาดระดับประเทศให้ได้ภายในสิ้นปีนี้ Full national lockdown เป็นสิ่งจำเป็น
ควรใช้เงินกู้ที่มีเพื่อประคับประคอง แต่ไม่ควรใช้เพื่อทุ่มกระตุ้นเศรษฐกิจแบบครั้งที่ผ่านมา
ควรประกาศนโยบายรัดเข็มขัด ลดการนำเข้าสิ่งฟุ่มเฟือย และรณรงค์ใช้ทรัพยากรภายในประเทศ
สำหรับประชาชนอย่างพวกเราทุกคน ขอให้มีกำลังกายกำลังใจปกป้องตนเองและครอบครัวไม่ให้ติดเชื้อ
ใส่หน้ากากนะครับ สองชั้น ชั้นในเป็นหน้ากากอนามัย ชั้นนอกเป็นหน้ากากผ้า สำคัญมาก
ด้วยรักและห่วงใย
สวัสดีวันอาทิตย์ครับ
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |