6 ส.ค.64 - สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ออกแถลงการณ์เรื่อง "กสม.ลงพื้นที่สังเกตการณ์การชุมนุม 7 สิงหาคม 64 หวังทุกฝ่ายยึดหลักสิทธิมนุษยชน" ระบุว่า ตามที่กลุ่มต่าง ๆ ได้นัดหมายชุมนุมเพื่อแสดงข้อเรียกร้องทางการเมืองต่อรัฐบาลในวันเสาร์ที่ 7 สิงหาคม 2564 ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ประกอบกับเครือข่ายกลุ่มราษฎรและกลุ่มเยาวชนปลดแอกได้ยื่นหนังสือร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2564 ขอให้ กสม.ลงพื้นที่เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์การชุมนุมในวันดังกล่าวด้วยนั้น
กสม.พิจารณาแล้วเห็นว่า เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและเสรีภาพในการแสดงออกเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่ได้รับการรับรองไว้ในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ที่ไทยเป็นภาคีและมีพันธกรณีต้องปฏิบัติตาม รวมทั้งได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 อย่างไรก็ตาม การชุมนุมในระยะหลัง มีข้อน่าห่วงกังวลทั้งในด้านความเสี่ยงที่อาจจะเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน และความเสี่ยงในด้านสุขภาพอันเนื่องมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19
กสม.จึงมีมติมอบหมาย นางปรีดา คงแป้น ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุชาติ เศรษฐมาลินี นางสาวศยามล ไกยูรวงศ์ และนายวสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พร้อมด้วยพนักงานเจ้าหน้าที่ ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์การชุมนุมทางการเมืองในวันดังกล่าว เพื่อติดตามเฝ้าระวังว่า เสรีภาพในการชุมนุมและการแสดงออกของประชาชนได้รับการคุ้มครองหรือไม่ ผู้ชุมนุมได้ดำเนินการชุมนุมให้เป็นไปโดยสงบและปราศจากอาวุธหรือไม่ และปฏิบัติการของรัฐในการควบคุมฝูงชนเป็นไปตามหลักสากล หลักความจำเป็นและได้สัดส่วนกับสถานการณ์หรือไม่ อย่างไร ทั้งนี้ กสม.ขอยืนยันในบทบาทหน้าที่การสังเกตการณ์และเฝ้าระวังสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นกลาง เป็นธรรม และรับฟังข้อเท็จจริงจากทุกฝ่าย
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ทั้งนี้เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2564 คณะรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน (ครช.) พร้อมด้วยกลุ่มแนวร่วมที่เรียกตัวเองว่า "ราษฎร" หรือม็อบ 3 นิ้ว ได้แก่ We Volunteer, ศาลายาเพื่อประชาธิปไตย - Coalition of Salaya for Democracy และ กลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย Democracy Restoration Group - DRG พร้อมเครือข่าย ได้เข้ายืนหนังสือร้องเรียนถึงคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ให้ทำการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน และเข้าร่วมสังเกตการณ์การชุมนุม
โดยขอเรียกร้องให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทำหน้าที่เฝ้าระวังและติดตามเหตุการณ์หรือ สถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศ ตามมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560 ด้วยการลงพื้นที่สังเกตการณ์การชุมนุมของกลุ่มผู้เรียกร้องที่จะจัดขึ้นในวันที่ 7 สิงหาคม 2564 เหมือนดังที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้ลงพื้นที่สังเกตการณ์การชุมนุม ในวันที่ 24 มิถุนายน 2564 ที่ผ่านมา
โดยมีรายชื่อเครือข่ายแนบท้ายดังนี้
1. จุฑาทิพย์ ศิริขันธ์
2. ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล
3. กฤษพล ศิริกิตติกุล
4. ภวัต หิรัณย์ภณ
5. เอกชัย หงส์กังวาน
6. กลุ่ม Supporter Thailand
7. กลุ่มศาลายาเพื่อประชาธิปไตย
8. กลุ่ม We Volunteer
9. กลุ่มมอกะเสด
10. กลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย Democracy Restoration Group – DRG
11. คณะรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน (ครช.)
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |