ชาวเน็ตเฮลั่น! ศาลแพ่งสั่งคุ้มครองชั่วคราวห้ามนายกฯใช้ข้อกำหนดตาม พรก.ฉุกเฉิน มาตรา 9


เพิ่มเพื่อน    

6 ส.ค.64 - ที่ศาลแพ่ง ถ.รัชดาภิเษก ศาลนัดฟังคำสั่งขอคุ้มครองชั่วคราวคดีหมายเลขดำ พ. 3618/2564 ที่ภาคีนักกฎหมาย และตัวแทนสื่อมวลชนออนไลน์ 12 รายยื่นฟ้อง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะผอ .ศบค.ให้ถอนคำสั่งการออก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ฯข้อกำหนดที่ 29 ให้อำนาจ กสทช. ตัดเน็ต ดำเนินคดีสื่อออนไลน์ กรณีเฟกนิวส์

น.ส.ฐปณีย์  เอียดศรีไชย ผู้ก่อตั้งสื่อออนไลน์ The Reporters ในฐานะผู้ร้อง พร้อมด้วยตัวแทนสื่อสำนักต่างๆ กล่าวว่า หลังจากที่ได้มีการส่งคำร้องเมื่อวันที่ 2 ส.ค. และศาลได้ทำการไต่สวนคำร้องของผู้ร้อง และคู่กรณี ก่อนที่จะนัดหมายให้มาฟังคำสั่งในวันนี้ ตนมองว่าประกาศดังกล่าวที่ออกมา เป็นการริดรอนสิทธิของประชาชน และสื่อมวลชนในการนำเสนอข่าว โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่มีโรคระบาด ซึ่งประชาชนควรได้รับเรื่องราว การรายงานข้อมูลข่าวสารตามความเป็นจริงในสถานการณ์ต่างๆ รวมถึงสื่อมวลชน และสื่อต่างๆ ยังเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ข้อมูล การขอความช่วยเหลือ และความเดือดร้อนของประชาชนด้วย

น.ส.ฐปณีย์ กล่าวว่า ตนคาดหวังว่า พยานหลักฐานต่างๆ ที่ผู้ร้องได้เสนอไปให้ศาลพิจารณา จะทำให้ศาลระงับคำสั่งดังกล่าว จนกว่าจะมีการแก้ไข หรือระบุรายละเอียดให้ชัดเจน แต่หากศาลพิจารณาผลออกมาในทางกลับกัน ก็พร้อมยอมรับความเห็นของศาล ทั้งนี้ ตนมองว่า คดีนี้จะเป็นบรรทัดฐานให้กับผู้นำ  เจ้าหน้าที่ภาครัฐ และหน่วยงานต่างๆของรัฐบาล ระมัดระวังการใช้คำสั่งหรืออำนาจต่างๆ ที่อาจจะละเมิดสิทธิหน้าที่ของสื่อมวลชน และประชาชน ที่เกินกว่าเหตุจนอาจได้รับผลกระทบ

อย่างไรก็ตาม ได้มีตัวแทนจากสถานเอกอัครราชทูตจากต่างประเทศ เข้ามาสังเกตการณ์ในการฟังคำสั่งขอคุ้มครองในครั้งนี้ด้วย

ต่อมาเวลา 14.20 น.ศาลได้ออกนั่งพิจารณาไต่สวนพยานหลักฐานแล้วมีคำสั่งอันสรุปใจความได้ว่า ข้อกำหนดฯ ข้อ 1 ที่ห้ามเผยแพร่ข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว มิได้จำกัดเฉพาะข้อความอันเป็นเท็จดังเหตุผล และความจำเป็นตามที่ระบุไว้ในการออกข้อกำหนดดังกล่าว ย่อมเป็นการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของโจทก์ทั้งสิบสอง และประชาชนที่รัฐธรรมนูญ 2560 บัญญัติคุ้มครองไว้ ทั้งยังไม่ต้องด้วยข้อกำหนดฯ ที่ระบุว่าจำเป็นต้องมีมาตรการที่กำหนดให้การใช้สิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกเป็นไปอย่างมีเหตุผล ถูกต้องตามข้อเท็จจริงตามกรอบที่รัฐธรรมนูญกำหนด ทั้งข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัวตามข้อกำหนดข้อดังกล่าวนั้นมีลักษณะไม่แน่ชัด และขอบเขตกว้างทำให้โจทก์ทั้งสิบสอง ประชาชน และผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน ไม่มั่นใจในการแสดงความคิดเห็น และสื่อสารตามเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญฯ มาตรา 34 วรรคหนึ่งและมาตรา 35 วรรคหนึ่งบัญญัติคุ้มครองไว้ นอกจากนี้ยังเป็นการจำกัดสิทธิ และเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแก่เหตุ ไม่ต้องด้วยมาตรา 26 วรรคหนึ่งแห่งรัฐธรรมนูญฯ ทั้งข้อกำหนดดังกล่าวก็ไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์หรือแนวทางในการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อมิให้มีการปฏิบัติที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่โจทก์ทั้งสิบสอง หรือประชาชนเกินสมควรแก่เหตุตามความในมาตรา 9 วรรคสองแห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2558 

ส่วนข้อกำหนดฯ ข้อ 2 ที่ให้อำนาจระงับการให้บริการอินเทอร์เน็ตแก่เลขที่อยู่ ไอพี (IP address) ที่มีการเผยแพร่ข้อความหรือข่าวสารในอินเทอร์เน็ตที่ฝ่าฝืนข้อกำหนดฯ ไม่ปรากฏว่ามาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ให้อำนาจนายกรัฐมนตรีออกข้อกำหนดให้ดำเนินการระงับการให้บริการอินเทอร์เน็ตจึงเป็นข้อกำหนดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายอินเทอร์เน็ตมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะในสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และรัฐสั่งปิดพื้นที่หรือล็อกดาวน์ จำกัดการเดินทางหรือการพบปะระหว่างบุคคลทั้งข้อกำหนดข้อดังกล่าวมิได้ จำกัดเฉพาะการระงับการให้บริการอินเทอร์เน็ตสำหรับการกระทำครั้งที่เป็นเหตุแห่งการระงับให้บริการอินเทอร์เน็ตเท่านั้น แต่ยังระงับการให้บริการอินเทอร์เน็ตในอนาคตด้วย ปิดกั้นการสื่อสารของบุคคล และเป็นการปิดกั้นสุจริตชนผู้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการเผยแพร่ข้อความหรือข่าวสารดังกล่าว ไม่ต้องด้วยมาตรา 36 วรรคหนึ่งแห่งรัฐธรรมนูญฯ การให้ข้อกำหนดทั้งสองข้อดังกล่าวมีผลบังคับใช้ต่อไปอาจทำให้เกิดความเสียหายที่ยากแก่การเยียวยาแก้ไขในภายหลังได้ กรณีมีเหตุจำเป็นเห็นเป็นการยุติธรรม และสมควรในการนำวิธีชั่วคราวก่อนพิพากษามาใช้เพื่อเป็นการระงับการบังคับใช้ข้อกำหนดทั้งสองข้อดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 254(2) มาตรา 255(2) (ง) ประกอบมาตรา 267 วรรคหนึ่ง และการระงับการบังคับใช้ข้อกำหนดดังกล่าวไม่น่าเป็นอุปสรรคแก่การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินของรัฐหรือแก่ประโยชน์สาธารณะ 

เพราะยังมีมาตรการทางกฎหมายหลายฉบับให้สามารถดำเนินการเกี่ยวกับการเผยแพร่ข้อความหรือข่าวสารที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายผ่านช่องทางสื่อสารต่างๆ อีกทั้งรัฐสามารถใช้สื่อวิทยุ และโทรทัศน์ในการกำกับเป็นเครื่องมือในการให้ความรู้เพื่อการรู้เท่าทันสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง และตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารที่บิดเบือนแก่ประชาชนได้ด้วย จึงมีคำสั่งห้ามจำเลยดำเนินการบังคับใช้ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2558 (ฉบับที่29) เป็นการชั่วคราวจนกว่าศาลจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น  

จากนั้น ภายหลังฟังคำสั่งศาลเสร็จแล้ว นายนรเศรษฐ์ นาหนองตูม ทนายความ ให้สัมภาษณ์ว่า ศาลแพ่งมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ห้ามพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม บังคับใช้ข้อกำหนดฉบับที่ 29 ตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เหตุผล เพราะข้อกำหนดว่าห้ามนำเสนอข่าวที่มีลักษณะสร้างความหวาดกลัว เป็นข้อกำหนดที่ไม่มีความชัดเจนแน่นอนในขอบเขต ดังนั้นอาจจะทำให้ประชาชนรวมทั้งโจทก์ ไม่รู้ว่าขอบเขตในการใช้เสรีภาพนั้นเป็นอย่างไร การนำเสนอความจริงจะผิดต่อข้อกำหนดนี้หรือไม่ จึงขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 34,35 และ 26

นอกจากนี้แล้วข้อกำหนดที่ให้อำนาจ กสทช.ในการระงับอินเตอร์เน็ต ศาลเห็นว่า พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ไม่ได้ให้อำนาจนายกรัฐมนตรีในการออกข้อกำหนดลักษณะนี้ ที่ให้สั่งระงับอินเตอร์เน็ตได้ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย และอินเตอร์เน็ตมีความจำเป็นต่อการใช้ชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ ประชาชนจะต้องใช้อินเตอร์เน็ตในการสื่อสาร ติดต่อข่าวสารต่างๆ การให้อำนาจสั่งระงับอินเตอร์เน็ตที่รวมไปถึงในอนาคตด้วยนั้น ขัดต่อรัฐธรรมนูญ  ทั้งนี้อย่างไรก็ตามคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ไม่ให้ใช้ข้อกำหนด ตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ  และไม่ให้ระงับอินเตอร์เน็ตดังกล่าว ก็ไม่ได้ทำให้การบริหารราชการแผ่นดินได้รับการกระทบกระเทือน หรือก่อให้เกิดความเสียหาย เนื่องจากรัฐยังสามารถบังคับใช้ประมวลกฎหมายอาญา หรือ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ในการใช้บังคับเกี่ยวกับข่าวปลอม หรือข่าวบิดเบือนข้อเท็จจริงได้  

เมื่อถามว่า รู้สึกพอใจกับคำสั่งศาลแพ่งที่ให้ระงับข้อกำหนดฉบับที่ 29 ตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เกี่ยวกับข่าวที่สร้างความหวาดกลัวหรือไม่ นายนรเศรษฐ์ กล่าวว่า พอใจ เพราะถือว่าศาลมุ่งคุ้มครองเสรีภาพของประชาชนและเสรีภาพของสื่อในการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร โดยเฉพาะในสถานการณ์แบบนี้ควรจะสามารถนำเสนอความจริงอย่างตรงไปตรงมาได้ แม้ความจริงนั้นบางครั้งอาจจะน่ากลัวก็ตาม แต่ว่าเราก็ต้องนำเสนอเพราะมันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในสังคม  

ขณะที่ น.ส.ฐปณีย์ กล่าวว่าขอขอบคุณศาลที่ได้รับฟังเสียงประชาชน คำสั่งศาลวันนี้เป็นการคุ้มครองชั่วคราวในการใช้ข้อบังคับนี้ เหตุผลสำคัญคือศาลให้ความคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ  โดยข้อกำหนดตามที่เราได้ยื่นไปคือ การโพสต์ข้อความทำให้เกิดความหวาดกลัว เป็นข้อความที่คลุมเครือ ไม่ชัดเจน ไม่มีมาตรการดำเนินการที่ชัดเจน ขัดหลักสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ รวมถึงปัจจุบันประชาชนใช้อินเทอร์เน็ตในการสื่อสาร ยิ่งสถานการณ์การแพร่ระบาดที่มีการล็อคดาวน์ ศาลเห็นว่าประชาชนใช้อินเทอร์เน็ตทั้งในเรื่องการสื่อสาร การพาณิชย์ และการรักษาพยาบาล ดังนั้นหากมีการปิดกั้นอินเทอร์เน็ตในลักษณะที่ไม่ได้มีกฎหมายให้อำนาจนายกฯ ดำเนินการในเรื่องนี้ชัดเจน เราจึงต้องการใช้สิทธิเสรีภาพในการทำหน้าที่ เพื่อข้ามผ่านสถานการณ์นี้ไปให้ได้  

“วันนี้ศาลให้ความคุ้มครอง เราในฐานะสื่อก็ต้องใช้สิทธิเสรีภาพด้วยความรับผิดชอบ คงไม่ทำอะไรที่ก่อให้เกิดความหวาดกลัวอย่างที่ทุกคนกังวลแน่นอน เราจะใช้สิทธิเสรีภาพของเราอย่างรับผิดชอบ และเราคงไม่ทำเฟคนิวส์ เพราะมันเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย ในฐานะตัวแทนสื่อขอให้ทุกคนแม้กระทั่งประชาชน ใช้เสรีภาพด้วยความรับผิดชอบ” น.ส.ฐปณีย์ กล่าว.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"