6 ก.ค. 2564 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการหารือกับนายแดน เทฮัน รัฐมนตรีการค้า การท่องเที่ยว และการลงทุนของออสเตรเลีย ผ่านระบบ Zoom Confirm ว่า ออสเตรเลียมีความสนใจจัดทำหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจกับประเทศไทย หลังจากที่ก่อนหน้านี้ มีความสัมพันธ์ในรูปแบบทวิภาคี หรือ FTA และมีการลดภาษีระหว่างกันเกือบครบทุกรายการ โดยการจัดทำหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจระหว่างไทยออสเตรเลียจะเป็นอีกรูปแบบความสัมพันธ์ทางการค้าการลงทุนที่ลงลึกกว่า FTA ซึ่งขณะนี้ มีการเตรียมการจัดทำข้อตกลงใน 7 สาขา 1.การเกษตรแปรรูปโดยเฉพาะด้านอาหาร 2.ด้านการท่องเที่ยว 3.ด้านบริการสุขภาพ 4.ด้านการศึกษา 5.ด้านอีคอมเมิร์ซ 6.ด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และ 7.อื่นๆ เช่น พลังงาน หรือการลงทุนร่วมกัน เป็นต้น และออสเตรเลียแจ้งว่าจะเร่งให้ได้ข้อสรุปเร็ว เมื่อได้ข้อสรุปแล้ว ขอเชิญตนไปลงนามการทำหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจที่ออสเตรเลีย คาดว่าจะเป็นในปีหน้า
ทั้งนี้ ออสเตรเลียยังได้เร่งรัดการให้สัตยาบันความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ที่ปัจจุบันมีประเทศให้สัตยาบันแล้ว 3 ประเทศ คือ สิงคโปร์ จีน และญี่ปุ่น ส่วนไทย คาดว่าให้สัตยาบันได้ในเดือนต.ค.หรือไม่เกินพ.ย.2564 ซึ่งออสเตรเลียแจ้งว่าจะยื่นได้ในช่วงเวลาประมาณเดียวกัน เพื่อให้ RCEP มีผลบังคับใช้ได้โดยเร็วภายในต้นปีหน้าตามเป้าหมาย
ส่วนเรื่ององค์การการค้าโลก (WTO) ในประเด็นการอุดหนุนการประมง ไทยมีจุดยืนในการสนับสนุนประมงชายฝั่งและประมงพื้นบ้าน และห้ามการอุดหนุน IUU Fishing (Illegal Unreported and Unregulated Fishing) หรือการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุมตามข้อตกลงของ IUU ซึ่งออสเตรเลียเห็นคล้อยตามกัน
สำหรับการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (APEC) ซึ่งปีนี้ นิวซีแลนด์เป็นเจ้าภาพ จากนั้นปีหน้า ไทยจะเป็นเจ้าภาพ ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่ช่วงปลายปีนี้ทางออสเตรเลียได้สอบถามถึงประเด็นสำคัญที่ไทยได้เตรียมไว้ ซึ่งตนแจ้งว่าเตรียมประเด็นใหญ่ไว้ 3 ประเด็น คือ 1.การเจรจาหาข้อสรุปการอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศสมาชิก APEC 2.ข้อสรุปในการกำหนดแนวทางฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยหลังโควิด-19 3.การส่งเสริมการเติบโตอย่างยั่งยืนของกลุ่มประเทศ APEC ภายใต้ทิศทาง BCG (Bio-Circular-Green Economy) โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
อย่างไรก็ตาม ออสเตรเลียยังเสนอให้รัฐมนตรีพาณิชย์ของทั้ง 2 ประเทศ ประชุมอย่างเป็นทางการเป็นประจำอย่างน้อยปีละครั้งด้วย
นายจุรินทร์กล่าวว่า ในส่วนของไทย ได้เสนอให้ออสเตรเลียนำเข้าสินค้าจากไทยเพิ่มมากขึ้น ซึ่งรายการสำคัญประกอบด้วย 1.สินค้าด้านการเกษตร โดยเฉพาะยางรถยนต์ ซึ่งออสเตรเลียเลิกผลิตแล้ว ทั้งชิ้นส่วนยานยนต์และรถยนต์ ต้องนำเข้า เป็นโอกาสดีสำหรับยางรถยนต์ของไทยที่ใช้ยางพาราเป็นวัตถุดิบ 2.อุปกรณ์ทางการแพทย์โดยเฉพาะถุงมือยาง เพราะไทยถือเป็นแหล่งผลิตรายใหญ่รายหนึ่งของโลก และจะเป็นการช่วยเกษตรกรชาวสวนยาง 3.อาหารแปรรูป เพราะไทยเป็นประเทศผลิตอาหารแปรรูปที่มีคุณภาพและมีศักยภาพติด 1 ใน 10 ของโลก และ 4.อาหารสัตว์เลี้ยง เพราะอัตราขยายตัวสูงมากและออสเตรเลียจัดเป็นตลาดสำคัญต่อไปในอนาคตได้
นอกจากนี้ ยังได้หารือในเรื่องที่ออสเตรเลีย เป็นหนึ่งในประเทศผู้ผลิตวัคซีนรายใหญ่ และขณะนี้ ออสเตรเลียได้บริจาควัคซีนให้กับหลายประเทศ ตนได้เรียนให้ท่านรัฐมนตรีทราบว่าถ้าออสเตรเลียจะช่วยสนับสนุนวัคซีนให้กับไทย ทางไทยก็ยินดีและขอขอบคุณล่วงหน้าในไมตรีจิต โดยรัฐมนตรีออสเตรเลีย แจ้งว่า ขณะนี้กระทรวงการต่างประเทศกำลังดำเนินการพิจารณาเรื่องนี้
ส่วนการทำงานในฐานะพรรคร่วมรัฐบาล ได้ยืนยันกับทางออสเตรเลียว่า จะเดินหน้าทำงานร่วมกับพรรคร่วมอื่น ๆ อย่างแข็งขัน โดยเฉพาะการแก้ปัญหาโควิด-19 และเศรษฐกิจ โดยหัวใจสำคัญ คือ จะเร่งดำเนินการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนให้ได้ไม่ต่ำกว่า 70% โดยเร็วที่สุด และจะเดินหน้าในเรื่องของเศรษฐกิจทั้ง 2 ด้าน ที่เป็นรูปธรรม คือ 1.เรื่องของการเร่งการส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยนักท่องเที่ยวต่างประเทศ ควบคู่กับ 2.การเร่งรัดการส่งออก ที่ขณะนี้การส่งออกเป็นตัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ คาดว่าในปี 2564 การส่งออกของไทยจะเติบโตเกินเป้าที่กำหนดไว้เดิม ที่ 4% ไปเป็นตัวเลขสองหลักได้
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |