ผู้ติดเชื้อในกทม.เข้าระบบกักตัวที่บ้านแล้วเกือบ 1 แสนราย ลุยตรวจ ATK ผลบวกเกิน 20%


เพิ่มเพื่อน    

5 ส.ค.64 - ที่ทำเนียบรัฐบาล พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. แถลงสถานการณ์ประจำวัน ว่า สำหรับในพื้นที่ กทม.อธิบดีกรมควบคุมโรค ให้ข้อมูลการตรวจเชิงรุก เห็นชัดว่าการตรวจเชิงรุกโดย โดยกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ได้ปรับระเบียบให้ประชาชนสามารถหา Antigen Test Kit (ATK) มาตรวจด้วยตัวเอง และองค์การอาหารและยา (อย.) ขึ้นทะเบียนชุดตรวจ 2 แบบคือ แบบที่ใช้ในสถานพยาบาล และแบบที่ประชาชนสามารถหามาใช้เองได้ ตอนนี้อนุญาตไปแล้ว 19 ยี่ห้อ และจะมีการเสนอจะอนุมัติเพิ่มเติมอีก โดยการหาซื้อต้องซื้อในสถานพยาบาลหรือร้านขายยาเท่านั้น ยังไม่อนุญาตให้ซื้อในออนไลน์หรือร้านสะดวกซื้อ และตอนนี้กรมวิทยาศาสตร์มีนโยบายให้โรงงานและสถานบริการเข้ามาอบรมวิธีการตรวจ เพื่อจะได้สามารถดำเนินการตรวจบุคลากรของท่านได้ อีกทั้งยังเผยแพร่คลิปวิดีโอการตรวจได้ที่เว็บไซต์กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

พญ.อภิสมัย กล่าวว่า ขณะที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสข.) ได้จัดหางบประมาณอนุมัติชุดตรวจแบบห้องปฏิบัติการ 8.5 ล้านชุด ซึ่งสามารถให้ประชาชนเบิกจ่ายใช้ได้ อย่างไรก็ตาม หากประชาชนต้องการตรวจแบบ ATK สามารถเข้าไปตรวจสอบสถานที่ให้บริการตรวจแบบ ATK ได้ที่ www.koncovid.com ส่วนการตรวจเชิงรุกในกทม.สามารถเข้าไปดูข้อมูลได้ที่เพจกรุงเทพมหานคร โดยสำนักงานประชาสัมพันธ์

ทั้งนี้ สำหรับผู้ตรวจ ATK แล้ว ข้อมูลของกทม.ตั้งแต่วันที่ 20 ก.ค.ที่ผ่านมา พบว่ามีบางช่วงผลเป็นบวกเกิน 20% โดยนโยบายของกรมการแพทย์ทุกคนที่ติดเชื้อโควิด-19 ต้องรับบริการทางการแพทย์อย่างเป็นรวดเร็ว และถ้าผลบวกอย่าตื่นตระหนก ขอให้ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบก่อน โดยติดต่อโรงพยาบาลที่ไปตรวจ หรือสายด่วน 1330 เบอร์เดียวเท่านั้น ส่วนสายด่วน 1669 ขอสงวนไว้เป็นสายด่วนช่วยชีวิต ให้ผู้ป่วยสีแดงได้ใช้เข้าถึงข้อมูลโดยเร็ว เพื่อลดความหนาแน่นที่ประชาชาชนจะโทรเข้าไป และในกทม.ยังมีสายตรง 50 เลขหมาย ใน 50 เขตโดยแต่ละเลขหมายมี 20 คู่สาย โดยจากข้อมูลเฉพาะวันที่ 4 ส.ค.ที่ผ่านมา มีผู้ใช้บริการถึง 5 พันสาย

ทั้งนี้ ก่อนจะโทรสายด่วนไม่ว่าหมายเลขใด ขอให้ทุกคนเตรียมข้อมูล และเอกสารส่วนตัวให้พร้อม ทั้งหมายเลขบัตรประชาชน หมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่ เพื่อลงทะเบียนให้สามารถเบิกจ่ายจาก สปสช.ได้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการส่งยา และเวชภัณฑ์ อย่างไรก็ตามขณะนี้มีศูนย์บริการที่จะเข้ามาดูแลผู้ป่วยในกทม.มีทั้งหมด 226 หน่วย

ข้อมูลถึงวันที่ 5 ส.ค. มีผู้ป่วยในกรุงเทพมหานครที่เข้าสู่ โฮมไอโซเรชั่น เกือบ 100,000 รายแล้ว และมีการรายงานในที่ประชุมศปก.ศบค. ถึงการจับคู่ศูนย์บริการร่วมกันดูแลผู้ป่วยในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีมากถึง 232 จุดแล้ว โดยมีความคืบหน้าและทุกภาคส่วนทำงานหนักเพื่อให้ระบบการดูแลประชาชนปลอดภัย รวดเร็ว

นอกจากนี้ ขณะนี้ตัวเลขอัพเดท คอมมูนิตี้ไอโซเรชั่น ในกรุงเทพมหานครมีจำนวน 64 แห่ง จำนวนเตียงรองรับได้อยู่ที่ 6,958 เตียงมีผู้ป่วยเข้าไปแล้ว 3,015 คน หรือ 43% และยังมีคอมมูนิตี้ไอโซเรชั่น ที่ดำเนินการโดยชุมชนภาคประชาสังคมอีกกว่า 100 แห่งที่เปิดให้บริการแล้ว และมีที่เปิดให้บริการโดยชุมชนในกทม. ที่ได้เร่งลงทะเบียนกับสำนักงานเขตเพื่อช่วยสนับสนุนทั้ง ค่ายา ค่าอาหาร และส่งทีมช่วยจัดสุขาภิบาล ขยะติดเชื้อ 

พญ.อภิสมัย กล่าวว่า คอมมูนิตี้ไอโซเรชั่น ได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากโรงพยาบาลพี่เลี้ยงและภาคประชาสังคมชุมชน เอ็นจีโอ โดยจะมีโรงพยาบาลพี่เลี้ยง จากกรมการแพทย์ เช่น โรงพยาบาลราชวิถี เป็นพี่เลี้ยงให้กับอาคารกีฬาเวสน์2 โรงพยาบาลกลางเป็นพี่เลี้ยงให้กับศูนย์สร้างสุขทุกวัยจตุจักร โรงพยาบาลตำรวจ เป็นพี่เลี้ยงที่วัดบรมนิวาส นอกจากนี้ ยังมีโรงพยาบาลเอกชน เช่น  โรงพยาบาลปิยะเวท เป็นพี่เลี้ยงให้กับสุเหร่าบ้านดอน โรงพยาบาลบางปะกอก8 เป็นพี่เลี้ยงโรงเรียนวัดตลิ่งชัน โรงพยาบาลกรุงเทพดูแลเพิ่มเป็น 122 เตียง ที่ช่วยดูแลผู้ป่วย โควิด-19 ไอซียู 24 เตียงและยังเปิดให้บริการฮอสพิทอลอีก 77 เตียง และกำลังจะเปิดอีก2แห่ง ให้ได้ 1,000 เตียง และยังเป็นพี่เลี้ยงให้กับวัดบุญรอดธรรมาราม ดูแลผู้ป่วยได้ 30 เตียง และให้บริการโฮมไอโซเรชั่นรองรับผู้ป่วยได้ 176 คน และให้วัคซีนในกลุ่มพระสงฆ์ แม่ชี ผู้พิการ ด้วย

พญ.อภิสมัย กล่าวว่า นอกจากนี้ โรงพยาบาลเอกชนที่เข้ามามีส่วนร่วมมือ อาทิ โรงพยาบาลในเครือสมิติเวช โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา โรงพยาบาลปิยะเวท ซึ่งเปิดฮอทพิเทล 2,500 เตียง เต็มไป 98% แล้ว กำลังจะเปิดในเดือนสิงหาคมนี้อีก 1,000 เตียง และมีการดูแลผู้ป่วยสีเหลือง 350 เตียง สีแดง รับได้อีก 120 เตียง ซึ่งจะเปิดในเดือน ส.ค.  

อย่างไรก็ตาม ศบค. ชุดเล็กต้องขอขอบคุณโรงพยาบาลเอกชนเพราะในยามนี้การได้เห็นความร่วมมือช่วยเหลือถือเป็นขวัญและกำลังใจให้กับคนทำงานและที่สำคัญมีการหารือกับกรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุขด้วยว่ากำลังใจของบุคลากรทางการแพทย์ถือเป็นสิ่งที่ภาครัฐให้ความสำคัญอย่างยิ่ง 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"