ทำเอาคนหลัก 5 หลัก 6 แอบน้อยใจเบาๆ เพราะลูกหลานอาจจะมองว่าคุณพ่อคุณแม่ต้องอยู่เย้าเฝ้าบ้านเพื่อเลี้ยงลูกหลาน ซ้ำร้ายยังถูกกีดกันจากตำแหน่งหรืองานบางอย่าง เพราะอายุที่เพิ่มมากขึ้น จริงอยู่ที่คนวัยนี้ก็ควรได้รับพักผ่อนและการปรนนิบัติพัดวีจากลูกหลาน แต่ถ้าหากท่านยังแข็งแรงและทำประโยชน์เพื่อสังคมได้ ลูกหลานควรสนับสนุนเห็นจะถูก เพราะนั่นไม่เพียงช่วยป้องกันภาวะเหงา เศร้าซึม และห่อเหี่ยว แต่ยังเป็นการกระตุ้นการโชว์พลังที่มีอยู่ในตัว หรือประสบการณ์การใช้ชีวิตล้ำค่าไปสู่ลูกหลานและคนในสังคม ดังคำกล่าวที่ว่า “เป็นผู้แก่วิชาความรู้” อ.ณรงค์ เทียมเมฆ ผู้ทรงคุณวุฒิจาก สสส. ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้ชีวิตให้มีความสุข และทำประโยชน์เพื่อสังคมของคนวัยเกษียณไว้น่าสนใจ
(อ.ณรงค์ เทียมเมฆ)
อ.ณรงค์ ผู้ทรงคุณวุฒิจาก สสส. ให้ความรู้ว่า “อันที่จริงแล้วคนอายุ 50, 60 ไปจนถึงวัย 70 และ 80 ปี หากว่าร่างกาย จิตใจ และสมองยังปกติ หรือพูดง่ายๆ ว่ายังทำงานได้อยู่ โดยเฉพาะงานที่ต้องอาศัยประสบการณ์ หรือเกี่ยวกับภูมิปัญญาที่ได้สะสมไว้ในวัยทำงาน และไม่ได้ใช้แรงหนักมาก การส่งเสริมให้ได้เข้าสังคมและพูดคุยทำประโยชน์ให้กับผู้อื่น ก็เป็นสิ่งที่ควรสนับสนุน โดยเฉพาะท่านไหนที่ยังต้องการอยากทำงาน และหากเป็นผู้สูงวัยที่ไม่ได้ทำงานประจำ เช่น ผู้ที่ประกอบอาชีพการเกษตร หรือทำงานอิสระอื่นๆ เช่น เป็นช่างซ่อมมอเตอร์ รถยนต์ คนวัยนี้จึงถือเป็นผู้ที่มีคุณประโยชน์ ภาษาชาวบ้านคือ ความรู้ความสามารถของท่านไม่มีวันหมดอายุ หรือแม้แต่ผู้ที่ประกอบอาชีพแพทย์ วิศวกร สถาปนิก และนักกฎหมาย ที่ยิ่งอายุมากเท่าไร ประสบการณ์และความรู้ความสามารถ ตลอดจนการรู้จักพลิกแพลงในการแก้ปัญหาก็จะมากขึ้นตามไปด้วย
ทั้งนี้ กลุ่มอาชีพที่กล่าวมาสามารถเป็นผู้ให้คำแนะนำ หรือเป็น “วิทยากร” รวมถึง “อาจารย์สอนพิเศษ” ให้ความรู้กับคนรุ่นใหม่ในวิชาที่ตัวเองถนัด ซึ่งก็ถือเป็นการใช้พลังที่มีอยู่ในตัวในการทำงานเพื่อสังคมอย่างหนึ่ง เช่น การที่คุณลุงคุณป้าซึ่งประกอบอาชีพเป็นเกษตรกร ที่อยู่กับการปลูกพืชและการเลี้ยงสัตว์ ก็ย่อมต้องคลุกคลีอยู่กับปัญหาตลอด และเห็นมันทุกวัน ดังนั้นการทำหน้าที่ “ปราชญ์ชาวบ้าน” เพื่อให้คำปรึกษาลูกหลานยุคใหม่ที่เพิ่งเริ่มต้นในอาชีพการเกษตร ก็ถือเป็นสิ่งที่ผู้สูงวัยสามารถทำได้ และเป็นงานที่ไม่หนักจนเกินไป ที่สำคัญเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาที่มีประโยชน์ให้คงอยู่ในชุมชนท้องถิ่นอีกด้วย
(ผู้ที่ประกอบอาชีพพยาบาล หลังเกษียณอายุการทำงาน สามารถสมัครเป็นจิตอาสาเพื่อช่วยงานโรงพยาบาล ซึ่งช่วยป้องกันโรคซึมเศร้าจากการพูดคุย ให้คำแนะนำคนไข้)
หรือแม้แต่ผู้สูงวัยที่ประกอบอาชีพพยาบาล เมื่อเกษียณอายุการทำงานออกมาแล้ว ก็สามารถสมัครเป็น “จิตอาสาตาม รพ.” เช่น การช่วยงานด้านเอกสาร ช่วยรับโทรศัพท์ ให้คำแนะนำคนผู้ป่วยใหม่ ที่อาจจะไม่ได้รับค่าตอบแทน แต่เป็นการคืนสิ่งดีๆ สู่สังคมอย่างหนึ่ง อีกทั้งทำให้ผู้ที่เคยทำงานในด้านดังกล่าวไม่รู้สึกโดดเดี่ยว หรือ เหงา เศร้าซึม เมื่อเข้าสู่วัยเกษียณ กระทั่งการที่ผู้สูงวัย ลุกขึ้นมา “ดูแลตัวเอง” ด้วยการ “แต่งตัว” เพื่อไม่ให้ตัวเองจมอยู่กับปัญหาทางกายจากอายุที่เพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นผิวหนังเหยี่ยวย่น หรือมีผมขาวเต็มศีรษะ สิ่งเหล่านี้ไม่เพียงทำให้คนสูงวัยดูแช่มชื่น สดใสตามวัยแล้ว แต่ก็ยังสามารถแนะนำเพื่อนไว้เดียวกันให้หันมาดูแลตัวเอง เช่น การเลือกเสื้อให้เหมาะกับรูปร่าง ก็จะช่วยผู้สูงวัยรู้สึกมั่นใจเวลาออกนอกบ้าน ก็เป็นการสร้างความสุขให้กับตัวเองและคนรอบข้างได้ทางหนึ่ง
(วัยเก๋าที่ลุกขึ้นมาดูแลตัวเองด้วยการแต่งหน้าแต่งตัว ก็จะทำให้รู้สึกสดชื่น ไม่เหี่ยวเฉา และยังสามารถแนะนำไปสู่เพื่อนวัยเดียวกันได้ เพื่อสร้างบุคลิกภาพที่ดี)
สิ่งสำคัญการที่ผู้สูงวัยจะโชว์พลังและประสบการณ์ที่ดีๆ ในตัวเองไปสู่ผู้อื่น ก็ต้องดูแลสุขภาพตัวเองให้ดีเช่นกัน โดยต้องดูแลกายและจิตใจให้ดีจากการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ อีกทั้งอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีความสุข เช่น การจัดห้องนอน หรือห้องน้ำ เพื่อส่งเสริมสุขอนามัยที่ดี ทำอารมณ์ให้สดชื่นแจ่มใส สุดท้ายต้องอยู่ในสังคมที่ดี ซึ่งหมายถึงการคบเพื่อนฝูงวัยเดียวกันที่มีความเป็นมิตรและจริงใจ
ไม่มีคำว่าแก่ถ้าใจอยากทำงาน...เห็นด้วยไหมค่ะ.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |