พลาสติกอาวุธทางการแพทย์


เพิ่มเพื่อน    

การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ที่ยังส่งผลกระทบต่อเนื่อง ส่งผลให้ผู้คนต้องปรับพฤติกรรมและวิถีชีวิตตัวเองอย่างต่อเนื่อง จนปัจจุบันแทบจะเรียกได้ว่าเป็นเรื่องปกติไปแล้ว ขณะที่บุคลากรทางการแพทย์เองก็ยังต้องเป็นด่านหน้าในการกำราบโรคระบาดนี้ จึงจำเป็นอย่างมากที่บุคลากรทางการแพทย์ต้องเพิ่มมาตรการป้องกันการติดเชื้อให้มากกว่าเดิม
โดยที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าอุปกรณ์และเครื่องมือที่สำคัญในการช่วยดูแลและรักษาให้บุคลากรทางการแพทย์ทำหน้าที่ได้อย่างเต็มที่ก็คือกลุ่มอุปกรณ์พื้นฐานที่จำเป็นต้องใช้ อย่างเช่น หน้ากากอนามัยที่ดี และชุดป้องกันที่ดี รวมถึงเครื่องมือช่วยเหลือลดผลกระทบต่างๆ ซึ่งหลายอย่างนั้นถูกผลิตมาจากพลาสติก ที่เดิมก่อนเกิดโรคระบาดนั้นอาจจะถูกมองว่าเป็นวัตถุดิบที่สร้างผลกระทบให้กับโลก
แต่เมื่อย้อนกลับไปดูประวัติของพลาสติกที่ถูกนำเข้าไปใช้ในแวดวงการแพทย์ ก็จะเห็นได้ว่ามีอดีตมาอย่างยาวนาน โดยเริ่มต้นตั้งแต่ปี ค.ศ.1930 ด้วยคุณสมบัติโดดเด่นที่หลากหลายและตอบโจทย์วงการแพทย์ ทั้งในด้านความแข็งแรง ทนทานและเหนียว แตกหักได้น้อยกว่าแก้วหรือเซรามิก อีกทั้งยังป้องกันของเหลวซึมผ่านได้ดี มีน้ำหนักเบา จึงเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้มากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ พลาสติกยังสามารถขึ้นรูปเป็นชิ้นงานที่มีความซับซ้อนได้ด้วยต้นทุนที่ไม่สูง และที่สำคัญคือ ทนต่อสารเคมีและผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อด้วยรังสีได้โดยไม่เกิดการกัดกร่อนเหมือนโลหะ รวมถึงสามารถสังเคราะห์และใส่สารเติมแต่งเพื่อปรับแต่งคุณสมบัติได้ตามความต้องการในวงการแพทย์
พลาสติกจึงเข้ามาทดแทนวัสดุประเภทอื่นๆ อย่างโลหะ เซรามิก และแก้ว ได้อย่างมีประสิทธิภาพในราคาที่ถูกลง และกลายเป็นวัสดุสำคัญในการผลิตเครื่องมือทางการแพทย์ต่างๆ ทำให้ผู้คนสามารถเข้าถึงการรักษาได้ทั่วถึงมากขึ้น เนื่องจากสามารถขนส่งได้สะดวกไปยังที่ห่างไกลได้โดยไม่แตกหักเสียหายระหว่างการเดินทาง
และเมื่อปัจจุบันที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จนต้องทำให้การแพทย์เป็นทัพหน้าที่สำคัญในการที่จะต่อสู้ครั้งนี้ หลายคนจึงได้เห็นบทบาทของพลาสติกที่ตอบสนองกับความต้องการมากขึ้น อาทิ หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ และหน้ากาก N95 ต่างมีวัตถุดิบหลักเป็นเส้นใยสังเคราะห์จากพลาสติกประเภทพอลิโพรพิลีน (PP) มีความต่อเนื่องของเส้นใยและสามารถควบคุมช่องว่างได้ดี เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อจากการสูดละอองได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
แว่นครอบตา (Goggles) และกระบังป้องกันใบหน้า (Face Shield) เป็นส่วนสำคัญในการป้องกันใบหน้าและดวงตาจากละอองสารคัดหลั่งระหว่างทำหัตถการหรือใกล้ชิดผู้ป่วย ส่วนมากผลิตจากพลาสติกประเภทพอลิคาร์บอเนต (PC) เพื่อความแข็งแรงทนทาน ทนรอยขีดข่วน แต่ยังมีความใส และน้ำหนักเบา เพื่อความสบายในการสวมใส่
ชุดหมี (Coverall) และชุดกาวน์ (Medical Gown) ช่วยป้องกันผู้สวมใส่จากของเหลวหรือของแข็งที่ติดเชื้อ รวมถึงการซึมผ่านของสารเคมีและเชื้อโรคต่างๆ ตั้งแต่ศีรษะและลำตัวไปจนถึงข้อมือและข้อเท้า ชุดหมีทำจากเส้นใยพลาสติกประเภทพอลิโพรพิลีน (PP) และเคลือบด้วยสารกันน้ำ จึงกันน้ำ และระบายอากาศได้ ส่วนชุดกาวน์ซึ่งใช้สวมทับชุดหมีนั้น ทำจากพลาสติกพอลิเอทิลีน ความหนาแน่นต่ำเชิงเส้น (LLDPE) ที่มีเนื้อนิ่มแต่เหนียว และสามารถระบายอากาศได้ดีอีกด้วย
ทั้งนี้ ที่ผ่านมาจึงได้เห็นกลุ่มธุรกิจเคมิคอลส์ ภายใต้บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ เอสซีจี นำความเชี่ยวชาญทั้งในด้านวัสดุพลาสติก วิศวกรรมศาสตร์ และการออกแบบนวัตกรรม ผสมผสานกับความรู้ความสามารถและประสบการณ์ของทีมแพทย์ พัฒนาเกราะคุ้มกันให้บุคลากรทางการแพทย์ปลอดภัยจากการติดเชื้อ โดยมีการพัฒนานวัตกรรมป้องกันโควิด-19 แบบเคลื่อนที่
ทั้งการพัฒนาห้องตรวจเชื้อความดันลบหรือบวกแบบเคลื่อนที่, ห้องแยกป้องกันเชื้อความดันลบแบบเคลื่อนที่ และแคปซูลเคลื่อนย้ายผู้ป่วยความดันลบป้องกันการฟุ้งกระจายของเชื้อจากผู้ป่วย และทำให้นวัตกรรมนี้สามารถเข้าถึงได้ในทุกพื้นที่แม้ในที่ห่างไกล แถมยังตอบโจทย์ความสามารถของพลาสติกที่จะมาเป็นเสมือนอาวุธให้กับบุคลากรทางการแพทย์ในช่วงนี้ได้อย่างดีอีกด้วย.

ณัฐวัฒน์ หาญกล้า


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"