12 มิ.ย.2561 – เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 2/2561 เรื่อง การปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ ระบุว่า ตามที่ได้มีคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 127/2557 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พุทธศักราช 2557 กำหนดให้มีคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติภายในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เพื่อทำหน้าที่ในการบูรณาการ ติดตามประสานงาน และสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของรัฐหรือภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องในการป้องกันและขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้การดำเนินการตามนโยบายในเรื่องดังกล่าวเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ และต่อมาได้มีคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 14/2558 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการตามองค์ประกอบคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ ลงวันที่ 27 ตุลาคม พุทธศักราช 2558 กำหนดองค์ประกอบของคณะกรรมการดังกล่าวให้เกิดความชัดเจนเพื่อให้การดำเนินการเป็นไปโดยเรียบร้อยนั้น
เนื่องจากปัจจุบันได้มีการปรับปรุงองค์ประกอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ประกอบกับมีการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารราชการและการมอบหมายงานของฝ่ายบริหาร จึงสมควรปรับปรุงองค์ประกอบ ตลอดจนหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติให้สอดคล้องกันเพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ และเพื่อให้การขับเคลื่อนการดำเนินการในเรื่องของการป้องกันและขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบเกิดผลเป็นรูปธรรมอย่างต่อเนื่อง
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 265 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบกับมาตรา 42 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 127/2557 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พุทธศักราช 2557 คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 14/2558 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการตามองค์ประกอบคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ ลงวันที่ 27 ตุลาคม พุทธศักราช 2558คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 6/2559 เรื่อง แก้ไขบุคคลตามองค์ประกอบคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2559 และคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 3/2560 เรื่อง เปลี่ยนแปลงคณะกรรมการตามองค์ประกอบคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ ลงวันที่ 7 มีนาคม พุทธศักราช 2560
ข้อ 2 ให้แต่งตั้งคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติขึ้นภายในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ประกอบด้วย1.หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เป็นประธานกรรมการ 2.รองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นรองประธานกรรมการ 3.หัวหน้าฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม เป็นกรรมการ 4.ผู้ดำรงตำแหน่งในคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติมอบหมาย จำนวนไม่เกินสามคน เป็นกรรมการ 5.ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติแต่งตั้ง จำนวนไม่เกินเก้าคนเป็นกรรมการ 6.เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ เป็นกรรมการและเลขานุการ 7.ผู้แทนสำนักงานเลขาธิการ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ และ 8.ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
ข้อ 3 คณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติมีหน้าที่และอำนาจดังต่อไปนี้ 1.จัดทำแนวทางและมาตรการในการบูรณาการเพื่อเสริมสร้างและประสานความร่วมมือในการป้องกันและขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบระหว่างหน่วยงานของรัฐหรือภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องและเสนอให้คณะรัฐมนตรีทราบเพื่อดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจต่อไป 2.ประสาน เร่งรัด ติดตามการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐให้เป็นไปตามกฎหมายกฎ ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และอยู่ภายใต้กรอบธรรมาภิบาล 3.ติดตาม ประสานงาน และสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือในการดำเนินการเพื่อป้องกันและขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบ ทั้งในส่วนของหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่และอำนาจเกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ คณะกรรมการตามกฎหมาย ระเบียบ หรือคำสั่งที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนพิจารณาข้อเสนอของภาคเอกชนในการต่อต้าน ป้องกัน และขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบ
4.จัดทำผลการดำเนินการและเสนอแนะความเห็นหรือกลไกในการดำเนินการที่จำเป็นในการป้องกันและขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจในการบริหารราชการแผ่นดิน 5.ในกรณีที่เห็นสมควรอาจเสนอหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติเพื่อขอให้มีการประชุมร่วมกันของคณะรักษาความสงบแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี เพื่อปรึกษาหารือหรือพิจารณาแนวทางการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาในเรื่องของการป้องกันและขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม 6.แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงานเพื่อช่วยเหลือหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานตามความจำเป็น 7.เชิญเจ้าหน้าที่ บุคคล หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาชี้แจง ให้ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงหรือเสนอแนะความเห็นหรือคำแนะนำทางวิชาการ ตลอดจนขอให้ส่งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณาได้ตามความจำเป็น 8.ดำเนินการอื่นใดตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติมอบหมาย
ข้อ 4 การดำเนินการอื่นใดในส่วนที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 มกราคม พุทธศักราช 2558 และวันที่ 27 ตุลาคม พุทธศักราช 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติมทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |