ครม.เคาะแล้ว!ปรับโฉมสภาพัฒน์


เพิ่มเพื่อน    

12 มิ.ย.2561 – การประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ (ครม.สัญจร) ครั้งที่ 4/2561 ได้มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. …. ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้แก้ไขเพิ่มเติมตามมติที่ประชุมหารือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเมื่อวันที่ 7 มิ.ย.2561 ที่มีนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานแล้วให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (วิป สนช.) พิจารณา ก่อนเสนอ สนช.ต่อไป 

สำหรับสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ สศช.ประกอบด้วย 1.กำหนดให้มี “สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ” ประกอบด้วยประธานสภาหนึ่งคนและกรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิอีกไม่เกิน 15 คน และให้ปลัดกระทรวงการคลัง เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการ ก.พ. เลขาธิการ ก.พ.ร. ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ และผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการสภา และให้เลขาธิการ สศช.เป็นกรรมการและเลขานุการ โดยกำหนดให้ประธานสภาและกรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี โดยผู้ซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ แต่ไม่เกิน 2 วาระติดต่อกัน 

กำหนดให้สภาสามารถมีมติให้เชิญปลัดกระทรวงหรือหัวหน้าส่วนราชการที่มีอำนาจหน้าที่โดยตรงเกี่ยวกับเรื่องที่พิจารณา หรือผู้ซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญมาเข้าร่วมประชุมเป็นครั้งคราวในฐานะกรรมการสภาด้วยก็ได้ โดยให้ผู้ที่ได้รับเชิญมามีฐานะเป็นกรรมการสภาสำหรับการประชุมครั้งที่ได้รับเชิญนั้น  และกำหนดให้ สศช.มีอำนาจหน้าที่กำหนดกรอบทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ จัดทำร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และให้ความเห็นต่อนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี 

2.แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กำหนดให้มีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอย่างต่อเนื่องในแต่ละช่วงระยะเวลา 5 ปี โดยกำหนดให้มีคณะกรรมการยกร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในแต่ละด้านตามกรอบของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  ทำหน้าที่ยกร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และเสนอต่อสภาพิจารณา โดยต้องมีการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนเพื่อนำมาประกอบการยกร่างด้วย พร้อมทั้งกำหนดให้หน่วยงานของรัฐต้องจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี และงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดในแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยให้เป็นหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีที่จะกำกับดูแลและสนับสนุนให้หน่วยงานของรัฐทุกแห่งดำเนินการให้เป็นไปตามแผนดังกล่าวด้วย 

3. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กำหนดให้มีสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ทำหน้าที่ดำเนินงานในฐานะเจ้าหน้าที่ฝ่ายเลขานุการของสภา ประสานงานกับหน่วยงานของรัฐและประชาชนเกี่ยวกับการจัดทำร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ฯลฯ  รวมทั้งกำหนดให้มีคณะกรรมการประสานการดำเนินงานด้านยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ ทำหน้าที่วิเคราะห์ ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่อื่นที่สภามอบหมาย  

4. บทเฉพาะกาล ให้คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตามพระราชบัญญัติพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2521 ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ใช้บังคับปฏิบัติหน้าที่สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพลางก่อน และให้โอนบรรดาภารกิจ อำนาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ สิทธิ หนี้ ภาระผูกพัน ข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้าง และอัตรากำลังของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ไปเป็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  รวมทั้งให้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตามประกาศพระราชโองการ เรื่อง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) ลงวันที่ 29 ธันวาคม พุทธศักราช 2559 ที่ใช้อยู่ในวันก่อนที่ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ใช้บังคับ ถือว่าเป็นแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตามร่างพระราชบัญญัตินี้ และยังให้คงใช้ได้ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2565 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"