ชาวบ้านโวยร่วมบุกเบิกสร้างทางรถไฟกลับถูกลอยแพ เรียกเก็บค่าเช่าโหดแถมขู่ดำเนินคดี


เพิ่มเพื่อน    

3 ส.ค.64 - นายพงศ์ศักดิ์ สายวัน ตัวแทนชาวบ้านชุมชนลับแล (ชุมชนกรรมกรรถไฟ) ต.วารินชำราบ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี เปิดเผยว่า เมื่อวานนี้ชาวบ้านรวมตัวเข้ายื่นหนังสือต่อนายสถานีรถไฟอุบลราชธานี(วารินชำราบ) เพื่อเรียกร้องให้การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)ดำเนินการแก้ไขปัญหาที่ดินที่อยู่อาศัยของชุมชนลับแลร่วมกับชาวบ้าน ที่ได้รับความเดือดร้อน ภายหลัง รฟท.มีหนังสือทวงค่าเช่าที่ดินอย่างไม่เป็นธรรม บางรายมียอดทวงเงินสูงถึง 300,000-400,000 บาท โดยให้จ่ายภายใน 15 วันไม่เช่นนั้นจะถูกดำเนินคดีตามกฏหมาย ทำให้ชาวบ้านที่หาเช้ากินค่ำไม่สามารถหาเงินมาจ่ายได้ โดยมีข้อเรียกร้อง 1.ให้ชะลอการดำเนินคดีและการทวงค่าเช่า 2.ตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาที่ดินที่อยู่อาศัยร่วมกับชาวบ้าน โดยยึดแนวทางโฉนดชุมชน

นายพงศ์ศักดิ์ กล่าวต่อว่า ชุมชนแห่งนี้มีพื้นที่ประมาณ 2 ไร่ 2 งาน มีชาวบ้านอาศัยอยู่ 328 ครัวเรือน หรือประมาณ 2,500 คน โดยเป็นชุมชนดั้งเดิม ก่อตั้งขึ้นจากกรรมกรก่อสร้างทางรถไฟสายนครราชสีมา-อุบลราชธานี เมื่อปี พ.ศ.2474 แต่เดิมเป็นที่รกร้าง ชาวบ้านจึงเข้ามาสร้างบ้านเพื่ออยู่อาศัยระหว่างรองานก่อสร้างเส้นทางรถไฟที่มีแผนขยายถึงนครพนม แต่เมื่อไม่มีการก่อสร้างทางรถไฟต่อ ชาวบ้านจึงปักหลักถิ่นฐานที่นี่ และอาศัยทำงานกรรมกรขนถ่ายสินค้ารถไฟ และเป็นกรรมกรรับจ้างอยู่คู่กับสถานีรถไฟมายาวนาน

นายพงศ์ศักดิ์ กล่าวต่อว่า กระทั่งการรถไฟฯ ประกาศขยายเขตสถานีรถไฟทับชุมชน ช่วงนั้นชาวบ้านบางรายไปขอออกโฉนดก็ถูกจับดำเนินคดี บังคับข่มขู่ให้เซ็นยินยอมเช่าที่ดิน จนมีการเจรจาให้ชาวบ้านจ่ายค่าเช่าที่ดินให้การรถไฟฯ ซึ่งชาวบ้านจำยอมตกเป็นผู้เช่าที่ดินในสัญญาระยะยาว 30 ปี  ตารางเมตรละ 7 บาท โดยเป็นอัตราค่าเช่าก้าวหน้าที่ค่าเช่าจะเพิ่มขึ้นทุกปี

"ปี 55-56 ชาวบ้านขอเจรจาเรียกร้องสิทธิที่ดินให้เป็นโฉนดชุมชน เพื่อให้ชีวิตมีความมั่นคงโดยผ่าน พอช. จึงหยุดการจ่ายค่าเช่าระหว่างกระบวนการเจรจาให้เสร็จสิ้น กระทั่งล่าสุดการรถไฟส่งหนังสือทวงค่าเช่าและทวงค่าปรับรวบยอด 4 ฉบับ บางรายเจอค่าเช่า 3 แสน แพงกว่าการซื้อที่ดินใหม่ กรรมกรที่บุกเบิกก่อสร้างทางรถไฟสายอีสานใต้ เรายืนยันตามสิทธิพื้นฐาน ให้เป็นโฉนดชุมชน หรือถ้าต้องเช่าที่ดิน ค่าเช่าต้องเป็นธรรมกับชาวบ้านสามารถจ่ายได้" นายพงศ์ศักดิ์ กล่าว

นายจำนงค์ จิตรนิรัตน์ ที่ปรึกษาขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม(พีมูฟ) กล่าวว่า เมื่อสัปดาห์ก่อนชาวบ้านชุมชนลับแลแทบร้องไห้เพราะมีการส่งตัวผู้ที่ได้รับเชื่อโควิดจากกรุงเทพฯกลับมาชุมชนต่างๆกว่า 400 คน หลังจากที่ผู้ป่วยเหล่านี้มีการรักษาไปแล้วระดับหนึ่ง ผู้ป่วยบางส่วนมาอยู่ที่ชุมชนนี้ ทั้งๆที่ตามมาตการที่ถูกต้อง ผู้ที่ได้รับเชื้อเหล่านี้ต้องไปกักตัวในพื้นที่ห่างไกลจากบ้านคนอื่น แต่เจ้าหน้าที่กลับเอามาไว้ที่ชุมชนทั้งๆที่ควรดูผลอีก 14 วัน ทำให้ชาวบ้านลับแลตกใจมากเพราะกำลังหวาดวิตกเรื่องโควิด และหลังจากนั้นอีก 2 วันมีหนังสือจาก รฟท.มาทวงค่าเช่าบ้าน สะท้อนให้เห็นว่าหน่วยงานรัฐไม่สนใจว่าชาวบ้านเป็นอย่างไร แทนที่จะดูแลป้องกันโควิดให้ดีไม่ใช่เอาผู้ป่วยมาปล่อยไว้โดยไม่มีมาตรการรอบรับ รฟท.ควรดูว่าชุมชนตกอยู่ในสถานการณ์ใด ไม่ใช่ซ้ำเติมปัญหาของชาวบ้าน

“ชุมชนลับแลทำงานให้ รฟท.ตั้งแต่ยุคบุกเบิกม แต่คุณกลับไม่เห็นคุณค่าเขาเลย ค่าเช่าก็ถูกบังคับให้เช่า สถานการณ์ตอนนี้แทนที่จะลดหย่อนให้ชาวบ้านในฐานะผู้ที่มีคุณประโยชน์ รฟท.มาก่อน กลับไม่คำนึงถึงเลย สะท้อนให้เห็นว่ารัฐขาดการให้ความสำคัญกับชุมชนอย่างเห็นได้ชัด ความเหลื่อมล้ำเห็นได้ชัด เป็นการซ้ำเติมชาวบ้าน ผิดวิสัยการบริหารงานในสถานการณ์วิกฤต ทั้งๆที่น่าจะปรึกษาชุมชนว่ารองรับโควิดได้หรือไม่ แทนที่จะเอาปัญหามาทับถม เช่นเดียวกับอีกหลายชุมชนใน อุบลฯกำลังขาดแคลนอุปกรณ์ในการป้องกันโควิดทั้งหน้ากากอนามัย แอลกอฮอล์ล้างมือ เครื่องวัดอุณหภูมิ ตอนนี้ 6-7 ชุมชนติดโควิดราว 20 คน แม้จังหวัดพาเข้าโรงพยาบาล แต่ชาวบ้านที่เหลือตกอยู่ในอาการหวาดผวาเพราะไม่ได้มีการตรวจทั้งชุมชน พวกเขาเหมือนถูกลอยแพ ภายใจ 1-2 วันนี้ชาวบ้านในชุมชนจะไปที่จังหวัดเพราะต้องการให้รัฐบาลแสดงความรับผิดชอบมากกว่านี้”นายจำนงค์ กล่าว


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"