ทำผิดซ้ำคุมขังฉุกเฉิน


เพิ่มเพื่อน    

ครม.ผ่านร่าง กม.ป้องกันการทำผิดซ้ำของผู้พ้นโทษคดีอุกฉกรรจ์ใช้ความรุนแรง พบมากกว่า 50% ก่อเหตุซ้ำใน 3 ปี  งัดมาตรการก่อนปล่อยตัวให้กรมคุมประพฤติประเมินเฝ้าระวังหลังพ้นโทษ ศาลสั่งคุมขังฉุกเฉินกรณีแสดงพฤติการณ์ใกล้จะกระทำความผิดอุกฉกรรจ์ทั้งฆาตรกรรม ข่มขืน ละเมิดเด็ก
วันที่ 3 ส.ค. นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติป้องกันการกระทำความผิดซ้ำของผู้กระทำความผิดอุกฉกรรจ์ที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ เพื่อเป็นการป้องกันสังคมและลดอัตราการกระทำความผิดซ้ำของผู้พ้นโทษผิดอุกฉกรรจ์ที่ใช้ความรุนแรง เช่น การฆาตกรรม การข่มขืน การกระทำความผิดทางเพศกับเด็ก ซึ่งกระทรวงยุติธรรมพบว่าผู้กระทำผิดอุกฉกรรจ์ที่ใช้ความรุนแรง เมื่อพ้นโทษแล้วจะกระทำความผิดซ้ำในระยะเวลา 3 ปีมากกว่าร้อยละ 50 จึงมีความจำเป็นต้องยกร่างกฎหมายฉบับนี้ขึ้น โดยมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำของผู้กระทำความผิดอุกฉกรรจ์ที่ใช้ความรุนแรง ได้แก่ กำหนดให้มีคณะกรรมการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำ กำหนดมาตรการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิดเฉพาะราย การเฝ้าระวังภายหลังพ้นโทษ การคุมขังภายหลังพ้นโทษ การคุมขังฉุกเฉิน และการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยที่มีประวัติเป็นผู้กระทำความผิดเหตุการณ์ที่ใช้ความรุนแรง ซึ่งมีรายละเอียด อาทิ
1.กำหนดนิยาม (1) ความผิดอุกฉกรรจ์ที่ใช้ความรุนแรง เช่น ความผิดฐานวางเพลิงเผาทรัพย์จนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ความผิดฐานกระทำชำเราเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี ความผิดฐานฆ่าผู้อื่น ความผิดฐานทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส เป็นต้น และ (2) ผู้กระทำความผิดอุกฉกรรจ์ที่ใช้ความรุนแรง หมายความว่า ผู้กระทำความผิดอุกฉกรรจ์ที่ใช้ความรุนแรงที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป
2.กำหนดให้มีคณะกรรมการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำ โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานและอธิบดีกรมคุมประพฤติเป็นกรรมการและเลขานุการ ซึ่งมีอำนาจหน้าที่กำหนดนโยบายและทิศทางในการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำของผู้กระทำความผิดอุกฉกรรจ์ที่ใช้ความรุนแรง และกำหนดมาตรฐานการดำเนินงานต่างๆ ของพนักงานคุมประพฤติ
3.มาตรการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิดเฉพาะราย คือ เมื่อศาลพิพากษาลงโทษจำเลย ซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดอุกฉกรรจ์ที่ใช้ความรุนแรง ให้ศาลมีอำนาจออกคำสั่งให้ใช้มาตรการฟื้นฟูผู้กระทำความผิดเฉพาะรายก็ได้
4.การเฝ้าระวังภายหลังพ้นโทษ (supervision order) โดยก่อนที่กรมราชทัณฑ์จะปล่อยตัวนักโทษเด็ดขาดที่เป็นผู้กระทำความผิดอุกฉกรรจ์ที่ใช้ความรุนแรง ให้กรมคุมประพฤติจัดทำสำนวนการเฝ้าระวังภายหลังพ้นโทษสำหรับนักโทษเด็ดขาด พร้อมทั้งเสนอความเห็นว่าควรจะเฝ้าระวังนักโทษเด็ดขาดภายหลังพ้นโทษหรือไม่ แล้วเสนอพนักงานอัยการ ให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องต่อศาล เพื่อขอให้ศาลสั่งให้มีการเฝ้าระวังภายหลังพ้นโทษ
5.การคุมขังฉุกเฉิน (emergency detention order) ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้ถูกเฝ้าระวังภายหลังพ้นโทษ แสดงพฤติการณ์ใกล้ที่จะกระทำความผิดอุกฉกรรจ์ที่ใช้ความรุนแรง และไม่มีมาตรการอื่นใดที่ยับยั้งได้ ให้พนักงานคุมประพฤติหรือพนักงานของหน่วยงานที่รับผิดชอบร้องขอต่อศาล เพื่อออกคำสั่งคุมขังฉุกเฉิน
6.การพิจารณาปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยที่มีประวัติเป็นผู้กระทำความผิดอุกฉกรรจ์ที่ใช้ความรุนแรง ให้ศาลพิจารณารายงานการสืบเสาะและพินิจ รายงานผลการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิดเฉพาะราย และสำนวนการเฝ้าระวังภายหลังพ้นโทษ ประกอบการพิจารณาด้วย.
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"