หมอธีระเผยผลวิจัยจีน พบฉีด'วัคซีนซิโนฟาร์ม'ช่วงเช้า ภูมิคุ้มกันขึ้นสูงกว่า ฉีดช่วงบ่าย


เพิ่มเพื่อน    

 

3ส.ค.64-รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์  จากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ  ได้โพสต์ความคืบหน้างานวิจัยวัคซีนซิโนฟาร์มของจีน ว่า 
ช่วงเวลาของวันในการฉีดวัคซีน กับระดับภูมิคุ้มกัน

Zhang H และคณะ เผยแพร่ผลวิจัยในจดหมายถึงบรรณาธิการ วารสาร Cell Researchศึกษาว่าช่วงเวลาของวันในการฉีดวัคซีน มีผลต่อระดับภูมิคุ้มกันมากน้อยเพียงใดทำในอาสาสมัคร 63 คนที่มหาวิทยาลัยซุนยัทเซน ประเทศจีน เปรียบเทียบการฉีดวัคซีน Sinopharm (BBIBP-CorV, Sinopharm, Beijing) ช่วงเช้า (9-11 น.) และช่วงเย็น (15-17 น.) จำนวน 2 เข็มห่างกัน 28 วัน และเจาะเลือดวัดระดับภูมิคุ้มกัน ณ วันที่ 0, 14, 21, 28 และ 56


น่าสนใจที่พบว่า กลุ่มที่ฉีดช่วงเช้ามีระดับภูมิคุ้มกันที่สูงกว่าช่วงเย็นอย่างมีนัยสำคัญ โดยประเมินจากระดับ Neutralizing antibody  ทั้งนี้เค้าเชื่อว่า circadian rhythm นั้นมีอิทธิพลต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ดังนั้นหากฉีดวัคซีนโดยหวังผลให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายตอบสนอง การพิจารณาเรื่องช่วงเวลาของวันในการฉีดก็อาจเกิดประโยชน์

อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมเพื่อดูว่าจะได้ผลยืนยันเช่นเดียวกับที่ทีมวิจัยนี้ทำหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นการใช้กลุ่มตัวอย่างที่มากขึ้น การใช้วัคซีนชนิดอื่นๆ เพื่อประเมินผลที่ได้ว่าแตกต่างกันหรือไม่ รวมถึงระยะเวลาที่ใช้ในการประเมินผลลัพธ์ที่ต้องการที่ยาวขึ้น ทั้งภูมิคุ้มกันในน้ำเลือดและภูมิคุ้มกันระดับเซลล์ 


โดยปกติแล้วเวลาเราอ่านงานวิจัยต่างๆ จำเป็นต้องประเมินเรื่องระเบียบวิธีวิจัย ก่อนที่จะนำผลวิจัยนั้นไปใช้ประกอบการตัดสินใจประพฤติปฏิบัติ
อัพเดตความรู้ไปเรื่อยๆ จะช่วยให้รู้เท่าทันสถานการณ์ และมีโอกาสนำไปพัฒนาต่อยอดเพื่อจัดการปัญหาต่างๆ ในชีวิต
อ้างอิง
Zhang, H., Liu, Y., Liu, D. et al. Time of day influences immune response to an inactivated vaccine against SARS-CoV-2. Cell Res (2021)


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"