จากสถานการณ์โควิด-19 ที่ยังแพร่ระบาดหนัก ซึ่งล่าสุดที่ประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่มี “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม เป็นประธานการประชุมได้ขยายล็อกดาวน์ต่อไปอีก 14 วัน พร้อมเพิ่มพื้นที่สีแดงเข้มเป็น 29 จังหวัด
ขณะที่มาตรการต่างๆ เข้มข้นต่อเนื่อง ยังคงขอความร่วมมือทุกภาคส่วนเวิร์กฟรอมโฮม 100% เพื่อลดการเคลื่อนย้าย และจากมาตรการเวิร์กฟรอมโฮมซึ่งเป็นแนวทางการทำงานที่สำคัญในช่วงนี้ ทำให้ภาครัฐต้องวางแนวทางการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 เพื่อรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด
ซึ่งที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ล่าสุดก็ได้มีมติเห็นชอบเรื่องการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 และประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เสนอ
ทั้งนี้ การประเมินส่วนราชการฯ เนื่องจากสถานการณ์ดังกล่าวส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานของส่วนราชการและจังหวัด ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติงานของส่วนราชการและจังหวัดในภาวะวิกฤติมีการติดตามผลการดำเนินงาน เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการประเมินผลกระทบ จึงได้กำหนดให้มีการติดตามผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดของส่วนราชการและจังหวัดประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564
โดยให้ส่วนราชการและจังหวัดรายงานผลการดำเนินงานต่อสำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อใช้ในการติดตาม แต่จะไม่นำผลไปจัดประเภทตามเกณฑ์การประเมินในระดับคุณภาพ ระดับมาตรฐาน และระดับต้องปรับปรุง ให้ส่วนราชการและจังหวัดถอดบทเรียนการบริหารจัดการผลกระทบและการแก้ไขปัญหาของหน่วยงานในการปฏิบัติงานและการให้บริการประชาชนอย่างต่อเนื่อง และให้สำนักงาน ก.พ.ร.สรุปบทเรียนการบริหารจัดการผลกระทบในภาพรวมของส่วนราชการและจังหวัด เพื่อใช้เป็นแนวทางในการบริหารงานและการให้บริการประชาชน และมีประสิทธิภาพหากเกิดภาวะวิกฤติในอนาคต
ขณะที่กรอบและแนวทางการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 จะมุ่งเน้นให้กระทรวงมีบทบาทหลักในการพิจารณากำหนดตัวชี้วัดและติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานของกระทรวงและส่วนราชการในสังกัดกระทรวง ซึ่งพิจารณาจากประเด็นสำคัญในการบูรณาการและขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนการปฏิรูปประเทศ และแผนระดับชาติอื่นๆ มากำหนดเป็นตัวชี้วัดระดับกระทรวงและถ่ายทอดลงสู่ระดับกรม
กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วยส่วนราชการและจังหวัด สำหรับส่วนราชการสังกัดกระทรวงกลาโหม กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ให้นำแนวทางการประเมินประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในสังกัดฝ่ายบริหารไปประยุกต์ใช้ และส่งผลการประเมินให้สำนักงาน ก.พ.ร.เพื่อรายงานต่อนายกรัฐมนตรี
ส่วนกลไกในการประเมินในส่วนราชการจะแบ่งเป็น 2 ระดับคือ 1.ระดับคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการ (อ.ก.พ.ร.) เกี่ยวกับการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน จะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณา
และ 2.ระดับคณะกรรมการกำกับการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการที่แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ ส่วนราชการระดับกระทรวง 18 กระทรวง ให้มีคณะกรรมการฯ ในกระทรวงที่แต่งตั้งโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวง มีหน้าที่กำกับ ติดตาม และส่วนราชการในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีและส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกฯ กระทรวงหรือทบวง รวม 21 หน่วยงาน ให้มีคณะกรรมการฯ แต่งตั้งโดยรองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีที่กำกับส่วนราชการ มีหน้าที่เช่นเดียวกับคณะกรรมการฯ ในระดับกระทรวง ขณะที่ในส่วนจังหวัดใช้กลไกการประเมินผ่านคณะทำงานของจังหวัด
ทั้งนี้ กรอบระยะเวลาการประเมินตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ถึงวันที่ 30 กันยายนของทุกปี หรือปีละ 1 ครั้ง โดยรายงานผลการดำเนินงานผ่านระบบการรายงานผลการประเมินส่วนราชการ และหากส่วนราชการมีผลการดำเนินงานรอบ 3 เดือน 6 เดือน และ 9 เดือน สามารถรายงานผ่านระบบดังกล่าวได้ ส่วนผู้ประเมิน ได้แก่ นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรีว่าการหรือรัฐมนตรีช่วยว่าการ และเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
อย่างไรก็ตาม การประเมินผลการดำเนินงานในช่วงวิกฤตินี้ นอกจากจะช่วยปรับปรุงการทำงานภาครัฐให้ดีขึ้นแล้ว ยังจะเป็นการวางแนวทางการดำเนินงานในอนาคต ที่คาดว่าสถานการณ์โควิด-19 จะยังอยู่กับเราไปอีกนาน.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |