12 มิ.ย.61-การแชร์ข้อความในโลกโซเชียลว่า "วันนี้เป็นวันแรกของการบังคับใช้กฎหมายเมาแล้วขับ ปรับ 1 หมื่น คุก 1 เดือน ไม่รอลงอาญาไม่บำเพ็ญประโยชน์ แปลว่า... เป่าเจอ ไปติดคุกเลย โปรดทราบแจ้งเพื่อนๆ ในกลุ่มประชาสัมพันธ์ด้วยนะครับหากรับราชการโดนไล่ออกเลยครับ"
นายสุริยัณห์ หงษ์วิไล โฆษกศาลยุติธรรม กล่าวว่า การรณรงค์สร้างจิตสำนึกสาธารณะกรณีเมาแล้วขับถือเป็นสิ่งดี แต่ในแง่ของตัวกฎหมายจราจรที่บังคับใช้ในปัจจุบัน จากการตรวจสอบพบว่า การเเก้ไข พ.ร.บ.จราจรทางบก ล่าสุดในปี 2560 แก้ไขเรื่องเกี่ยวกับปริมาณแอลกฮอล์สำหรับผู้ขับขี่บางประเภท หรือคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ก็เป็นเรื่องมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยจราจรทางบก ไม่เกี่ยวข้องกับการใช้ดุลพินิจในการกำหนดโทษในชั้นศาล ดังนั้น ส่วนที่บอกว่าหากโดนข้อหานี้แล้วบทลงโทษจะต้องถูกจำคุกสถานเดียวนั้น จึงไม่ใช่ข้อเท็จจริง การสั่งลงโทษหรือให้รอการลงโทษหรือไม่นั้น ยังคงเป็นดุลพินิจของผู้พิพากษาตามบทบัญญัติของกฎหมาย
นายสุริยัณห์ กล่าวต่อไปว่า ข้อความที่ระบุว่าหากผู้ที่เมาแล้วขับเป็นข้าราชการจะต้องโดนโทษวินัยไล่ออกนั้น ก็อาจจะเป็นเรื่องที่ว่าหากศาลสั่งลงโทษจำคุกแล้วไม่ได้รับการรอลงอาญา เมื่อเป็นข้าราชการก็อาจเป็นการผิดวินัยร้ายแรงได้ ตรงนี้ถือว่าเป็นผลต่อเนื่องจากคำพิพากษา ซึ่งการเผยแพร่หรือแชร์ข้อความลักษณะดังกล่าวนั้นแม้เป็นการเผยแพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จ แต่ก็อาจมองได้สองทางคือทำให้ตื่นตระหนก หรือ เป็นลักษณะป้องปรามที่ไม่ได้มีเจตนาร้าย อย่างไรก็ตาม การเผยแพร่และแชร์เรื่องราวใดต่อนั้น ประชาชนจะต้องพึงระวังว่าอาจจะทำให้สังคมตื่นตระหนกจนกระทบต่อความปลอดภัยสาธารณะได้.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |