อีวีรับเทรนด์โลกลดปล่อยคาร์บอน  GPSCคิกออฟรง.แบตเตอรี่มุ่งสู่พลังงานสะอาด


เพิ่มเพื่อน    

ด้วยกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกทั้งในด้านพลังงานที่อยู่ในช่วงของการเปลี่ยนผ่านจากการใช้พลังงานฟอสซิล ไปสู่การใช้พลังงานหมุนเวียนมากยิ่งขึ้น เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ โดยประเทศส่วนใหญ่ในโลกได้ให้ความสำคัญกับการตั้งเป้าหมายที่จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนให้เหลือศูนย์ในปี พ.ศ.2593 ขณะที่รัฐบาลได้เร่งผลักดันแผนพลังงานแห่งชาติ โดยมุ่งเน้นการกำหนดเป้าหมายในการสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอนและการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ให้สอดรับกับทิศทางด้านพลังงานของประเทศอื่นๆ ทั่วโลก และที่สำคัญต้องสอดรับกับเป้าหมายการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยอีกด้วย
    

ดังนั้น ยานยนต์ไฟฟ้า หรือ Electric Vehicle (EV-อีวี) จึงถือเป็นตัวเลือกสำคัญ ซึ่งปัจจุบันเราจะเห็นได้ชัดว่ามีการใช้รถอีวีตามท้องถนนมากยิ่งขึ้น ซึ่ง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่ากำลังการผลิตรถอีวีโลกน่าจะพุ่งแตะ 22.7 ล้านคันในปี 2568 สะท้อนให้เห็นถึงการแข่งขันในตลาดรถอีวีที่ตามมาว่าน่าจะมีแนวโน้มทวีความเข้มข้นยิ่งขึ้นในระยะข้างหน้า 
    

สำหรับประเทศไทยนั้น นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ดอีวี) กล่าวว่า แนวทางการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า (อีวี) ของประเทศ โดยพุ่งเป้าไปสู่การเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่สำคัญของโลก มีเป้าหมายการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์นั่งและรถกระบะทั้งสิ้น 725,000 คัน ประเภทรถจักรยานยนต์จะมีการผลิตทั้งสิ้น 675,000 คัน คิดเป็น 30% ของการผลิตในปี 2573 รวมถึงการผลิตแบตเตอรี่เพื่อตอบสนองการผลิตในประเทศด้วย ถือเป็นอีกหนึ่งกลไกที่จะนำพาประเทศไทยเข้าสู่การเป็นสังคมคาร์บอนต่ำในอนาคต ดังนั้นเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่ (Battery Electric Vehicle หรือ BEV) ถือว่ามีประสิทธิภาพใกล้เคียงรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายใน (ICE)   
  

 ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การส่งเสริมพัฒนาอุตสาหกรรมให้รองรับการเติบโตของตลาดยานยนต์ไฟฟ้าหรือรถอีวี จึงเป็นสิ่งสำคัญที่รัฐบาลต้องสนับสนุนให้เกิดขึ้น ซึ่งที่ผ่านมากำหนดให้อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่เป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายเพื่อจูงใจให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมผลักดันเศรษฐกิจ ดังนั้นการเปิดโรงงานผลิตแบตเตอรี่ที่ทันสมัยในภูมิภาคเป็นก้าวสำคัญที่จะช่วยให้อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยรักษาจุดยืนการเป็นผู้นำฐานการผลิตยานยนต์ในภูมิภาค และต่อยอดเปลี่ยนผ่านตัวเองเข้าสู่เทคโนโลยีการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าสมัยใหม่ได้เร็วขึ้น
  

 เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ผ่านมา บมจ.โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ หรือ GPSC เปิดโรงงานผลิตหน่วยกักเก็บพลังงาน (แบตเตอรี่) ด้วยเทคโนโลยีเซมิโซลิดแห่งแรกในภูมิภาคอาเซียน ตั้งอยู่ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานกรรมการ GPSC กล่าวว่า โรงงานแบตเตอรี่แห่งนี้ถือเป็นแห่งแรกของประเทศไทยและภูมิภาคเอเชีย กำลังการผลิต 30 เมกะวัตต์ชั่วโมง (MW) ด้วยทุน 1,100 ล้านบาท และในอนาคตจะขยายขึ้นเป็น 1 กิกะวัตต์ชั่วโมง (GWh) ต่อปี 
  

 "โรงงานแห่งนี้จะสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับอุตสาหกรรมด้านพลังงานของไทยที่จะมุ่งไปสู่ทิศทางพลังงานสะอาดและอุตสาหกรรมใหม่ในอนาคต เพื่อนำมาสู่ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ควบคู่ไปกับการดูแลสิ่งแวดล้อม และสนับสนุนแนวทางการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (net zero emission) ตามเป้าหมายของรัฐบาล" นายไพรินทร์กล่าว
  

 ด้าน นายวรวัฒน์ พิทยศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ GPSC กล่าวว่า ตามเป้าหมายของ GPSC ที่จะมีกำลังผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนอยู่ที่ 8,000 เมกะวัตต์สำหรับเป้าหมายการจัดตั้งโรงงานแบตเตอรี่แห่งนี้ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของระบบพลังงานทดแทน  ด้วยนวัตกรรมการผลิตแบตเตอรี่เซเซมิ-โซลิด ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการผลิตของบริษัท 24 เอ็มเทคโนโลยี จากประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งบริษัทได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการผลิตและจัดจำหน่าย โดยโรงงานดังกล่าวจะผลิตจีเซลล์ (G-Cell) แบบลิเทียมไอรอนฟอสเฟต ที่มีจุดเด่นในเรื่องความปลอดภัยในการใช้งานสูง และมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า รวมทั้งยังสามารถรีไซเคิลได้ง่ายเมื่อแบตเตอรี่หมดอายุการใช้งาน จึงเป็นแบตเตอรี่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
    

นายวรวัฒน์ กล่าวว่า ลูกค้าหลักของบริษัทนั้นเป็นกลุ่ม ปตท. กลุ่มโรงไฟฟ้าพลังงานสะอาด กลุ่มลูกค้าอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ และกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม (SME) รวมไปถึงผู้ประกอบการที่ต้องใช้แบตเตอรี่เป็นส่วนประกอบของสินค้า โดยในระยะแรกจะมุ่งเน้นไปที่กลุ่มผู้ผลิตและใช้งานระบบกักเก็บพลังงาน (ESS) และยานยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ด้วยลักษณะการใช้งานที่เหมาะสมกับจุดแข็งของจีเซลล์แบบลิเทียมไอรอนฟอสเฟต 
    

สำหรับแผนการดำเนินงานครั้งนี้จะเสริมสร้างความพร้อมด้านพลังงานให้กับอุตสาหกรรมแห่งอนาคต โดยเฉพาะยานยนต์ไฟฟ้า การเพิ่มขึ้นของการผลิตและใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนและการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ฯลฯ ซึ่งจะสร้างศักยภาพการแข่งขันให้กับประเทศ และเสริมคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนคนไทยตามนโยบายรัฐบาล
  

   นายวรวัฒน์ กล่าวว่า บริษัทยังอยู่ระหว่างศึกษาและพิจารณาแผนการลงทุนในโรงงานผลิตแบตเตอรี่ขนาดกิกะสเกล (Giga-scale) โดยมีแผนขยายกำลังการผลิตเป็น 1 กิกะวัตต์ชั่วโมงต่อปีใน 2 ปีข้างหน้า และขยายเป็น 5 กิกะวัตต์ชั่วโมงต่อปีใน 5 ปีข้างหน้า ก่อนขยายสู่กำลังการผลิต 10 กิกะวัตต์ชั่วโมงต่อปีใน 10 ปี คาดว่าจะใช้เงินลงทุน 30,000 ล้านบาท ส่วนพื้นที่สำหรับตั้งโรงงานดังกล่าวได้ภายในปี 2565 เบื้องต้นศึกษาพื้นที่ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) และใกล้โรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (EV) เนื่องจากลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์
    

สำหรับกำลังการผลิตแบตเตอรี่ 30 เมกะวัตต์แรกนั้น จะผลิตป้อนความต้องการในประเทศเป็นหลัก เบื้องต้นหาเทียบเท่าความสามารถในการป้อนรถตุ๊กๆ ได้ 3,000 คัน หรือรถบัส 150 คันต่อปี โดยในอนาคตมีแผนส่งออกแบตเตอรี่ด้วย
เดินหน้าโรงงานผลิตแบต
    

ด้าน บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ หรือ EA หนึ่งในบริษัทที่ดำเนินธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้าครบวงจร ได้เดินหน้าโครงการก่อสร้างโรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนที่ดำเนินการภายใต้บริษัทย่อยชื่อ บริษัท อมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด หรือ ATT ระยะที่ 1 ซึ่งมีขนาดกำลังการผลิต 1 กิกะวัตต์ชั่วโมงต่อปี ปัจจุบันอยู่ระหว่างการทดสอบการทำงานของเครื่องจักรทั้งระบบ เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเริ่มการผลิตจริง 
    

สำหรับในระยะแรกจะจำหน่ายแบตเตอรี่ไปยังกลุ่มธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้าภายในกลุ่มของบริษัท เช่น รถบัสไฟฟ้า และเรือไฟฟ้า หลังจากนั้นจะทยอยเพิ่มกำลังการผลิตส่วนถัดไป เพื่อให้สอดรับกับความต้องการของตลาด นอกจากนี้ บริษัทได้เตรียมความพร้อมโดยจัดตั้งบริษัท ศูนย์ทดสอบแบตเตอรี่ ยานยนต์ไฟฟ้า และผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ จำกัด หรือ BEV เพื่อใช้ในการวิจัยและพัฒนา และให้บริการทดสอบและรับรองคุณภาพของแบตเตอรี่ รวมถึงอุปกรณ์ต่างๆ ของยานยนต์ไฟฟ้า เป็นต้น โดยบริษัทดังกล่าวได้ดำเนินการแล้วเสร็จเมื่อเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"