ปัจจุบันที่ประเทศไทยกำลังได้รับผลกระทบจากการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ ที่ดูรุนแรงและสร้างความเสียหายให้กับหลายภาคส่วนอย่างมาก แม้จะผ่านเวลามาช่วงหนึ่ง แต่ก็ยังไม่มีแนวโน้มที่สถานการณ์จะเบาบางลงพร้อมเหตุการณ์อื่นๆ ทั้งเรื่องอุปกรณ์การแพทย์ โรงพยาบาล หรือแม้แต่วัคซีนก็ยังถือเป็นสถานการณ์ฉุกเฉินที่สร้างความโกลาหลอยู่มากพอสมควร ด้วยเหตุนี้ประเทศไทยจำเป็นที่จะต้องมีแผนการรับมือและต่อสู้กับวิกฤติรอบนี้ให้ได้
ทางสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เองจึงได้ตระหนักและเข้าใจในสถานการณ์ดังกล่าว เนื่องจากปัจจุบันกลุ่มที่ได้รับผลกระทบไม่น้อยกว่าภาคประชาชนคือภาคอุตสาหกรรม ที่โรงงานหรือบริษัทหลายแห่งต้องชะลอหรือหยุดกิจการไปก่อนในช่วงนี้ เนื่องจากมีการแพร่ระบาดของโควิด-19 เกิดขึ้นในพื้นที่ทำงาน ซึ่งที่ผ่านมา ส.อ.ท.ได้จัดตั้งคณะทำงานช่วยเหลือผู้ป่วยโควิด-19 อย่างเร่งด่วน แบ่งออกเป็น 5 คณะ ดังนี้ 1.คณะทำงานด้านข้อมูลโควิด มีหน้าที่จัดการให้ความรู้คู่มือการใช้ชุดตรวจโควิด (Rapid Test), แนวการปฏิบัติตัวในช่วงโควิดและหลังโควิดผ่านระบบ e-Learning และจัดทำคู่มือการปลูกและแจกเมล็ดพันธุ์ฟ้าทะลายโจร โดยมีนายศักดิ์ชัย อุ่นจิตติกุล รองประธาน ส.อ.ท. เป็นประธานคณะทำงานฯ
2.คณะทำงานจัดหาชุด Rapid test และจัดทำห้องความดันลบ มีหน้าที่ดำเนินการจัดหาชุด Rapid test & Product และจัดทำห้องความดันลบ โดยมีนายเกรียงไกร เธียรนุกุล รองประธาน ส.อ.ท.เป็นประธานคณะทำงานฯ 3.คณะทำงาน Call Center และประสานงาน ทำหน้าที่ประสานงานรับเรื่องการตรวจโควิด-19 ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร และให้ข้อมูลที่ถูกต้องในการช่วยเหลือผู้ป่วยโควิด-19 โดยมีนายอภิชิต ประสพรัตน์ รองประธาน ส.อ.ท.เป็นประธานคณะทำงานฯ
4.คณะทำงานระบบแจ้งเตือนผู้มีความเสี่ยงโควิด ทำหน้าที่ผลักดันต่อกรมควบคุมโรคเพื่อให้ภาคราชการ เอกชน ประชาชนได้ใช้ระบบ Exposure Notification Express (ENX) ในการติดตามและแจ้งเตือนเมื่อใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อหรือกลุ่มเสี่ยง โดยมีนายสมโภชน์ อาหุนัย รองประธาน ส.อ.ท.เป็นประธานคณะทำงานฯ และ 5.คณะทำงานรับบริจาคช่วยเหลือ ทำหน้าที่เปิดรับบริจาคหาเงินช่วยเหลือในการดำเนินโครงการจัดทำห้องความดันลบ การจัดซื้อชุด Rapid test และการจัดหาวัคซีนเพิ่มเติม โดยมีนางพิมพ์ใจ ลี้อิสสระนุกูล รองประธาน ส.อ.ท.เป็นประธานคณะทำงานฯ
ซึ่งล่าสุด ส.อ.ท.ยังได้เตรียมแนวทางการป้องกันและรับมือการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในภาคอุตสาหกรรมเพิ่มเติม หลังนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข อนุมัติ 3 มาตรการหลัก ได้แก่ การจัดอบรมวิธีการใช้ชุดตรวจโควิดแบบเร่งด่วน ATK อย่างถูกต้อง, การจัดอบรมการควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 หรือ Bubble and seal ในสถานประกอบการ และการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามแบบ Community Isolation
โดย นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธาน ส.อ.ท. กล่าวว่า หลังจากที่ ส.อ.ท.ได้จัดตั้งคณะทำงานช่วยเหลือผู้ป่วยโควิด-19 อย่างเร่งด่วนภายใต้มาตรการ “ป้องกัน รักษา เยียวยา” เพื่อช่วยเหลือพี่น้องประชาชน สังคม สมาชิกและผู้ประกอบการไทยนั้น ส.อ.ท.ยังได้จัดเตรียมแนวทางการป้องกันและรับมือกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในภาคอุตสาหกรรม โดยท่านรองนายกฯ ได้อนุมัติใน 3 มาตรการหลัก ได้แก่ 1.การจัดอบรมวิธีการใช้ชุดตรวจโควิดแบบเร่งด่วน ATK อย่างถูกต้อง โดยให้ตรวจอย่างน้อย 20% ของจำนวนพนักงานทั้งหมด
2.การจัดอบรมการควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ในสถานประกอบการด้วยการทำ Bubble and seal โดยไม่ต้องปิดโรงงานสำหรับสถานประกอบการที่มีพนักงานตั้งแต่ 200 คนขึ้นไป ส่วนสถานประกอบการที่มีพนักงานน้อยกว่า 200 คน แนะนำให้ใช้มาตรฐาน Thai Stop Covid ของกระทรวงอุตสาหกรรม และ 3.การจัดตั้งโรงพยาบาลสนามในสถานประกอบการรูปแบบ Community Isolation รับรองโดยสาธารณสุขจังหวัดและดูแลโดยโรงพยาบาลในสังกัดประกันสังคม
ซึ่งสถานประกอบการแต่ละแห่งจะต้องมี Heathy Leader อย่างน้อย 2 คน นอกจากนี้จะมีการนำระบบแจ้งเตือนผู้มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ (Exposure Notification Express: ENX) ที่พัฒนาขึ้นโดย Google และ Apple มาใช้เพื่อช่วยป้องกันการแพร่ระบาดลดการติดเชื้อและการเสียชีวิต ซึ่ง ส.อ.ท.เสนอตัวเป็นผู้ดูแลระบบและประสานงาน โดยจะนำร่องเพื่อใช้งานในภาคอุตสาหกรรมก่อน
ขณะเดียวกัน 5 คณะทำงานขับเคลื่อนได้มุ่งทำ 10 ภารกิจ เพื่อช่วยเหลือภาคอุตสาหกรรม ดังนี้ 1.พัฒนาระบบ ENX 2.จัดหา ATK 3.จัดทำห้องความดันลบ 4.ตั้งคอลเซ็นเตอร์ 1453 เพื่อช่วยเหลือสมาชิกในกลุ่มสมาชิก ส.อ.ท. 5.แจกเมล็ดพันธุ์ฟ้าทะลายโจร 6.ทำคู่มือการเรียนรู้และคำแนะนำทั้งการดูแลตัวเอง รวมถึงการใช้เครื่องมือต่างๆ 7.สนับสนุนกองทุน ส.อ.ท.ช่วยไทยสู้โควิด 8.เตรียมแจกกล่องห่วงใย (Health Box) 9.ปฏิบัติตามมาตรการ Bubble and seal และ 10.ทำฟาสเตอร์ปาร์ตี้โดยการร่วมมือกับกลุ่มอุตสาหกรรมและหน่วยงานอื่นๆ
จากการดำเนินการต่างๆ เพื่อตั้งเป้าไม่ให้ภาคอุตสาหกรรมเกิดคลัสเตอร์ใหม่ๆ ในอนาคต เนื่องจากปัจจุบันมีหลายโรงงานเกิดคลัสเตอร์ขนาดใหญ่จนทำให้ส่งผลกระทบกับการดำเนินงานและกลุ่มแรงงาน จนทำให้โรงงานโดนสั่งปิด เนื่องจากเมื่อเกิดการระบาดแล้วไม่สามารถจัดการให้เป็นระบบได้
ขณะเดียวกันก็อยากเร่งรัดให้รัฐบาลทำการฉีดวัคซีนให้กับกลุ่มแรงงานตามมาตรา 33 ให้มากขึ้น โดยกำหนดโควตาทั้งหมด 10 ล้านคน แต่ปัจจุบันวัคซีนที่ถูกแบ่งมายังกลุ่มดังกล่าวมีแค่ 800,000 โดส ซึ่งยังไม่ถึง 10% ของบุคลากรทั้งหมด จึงได้ประสานไปยังกระทรวงแรงงานเพื่อขอจัดสรรวัคซีนเพิ่มเติมเบื้องต้นให้ได้เพิ่มอยู่ที่ 1.5 ล้านโดส ขณะเดียวกันโรงงานต่างๆ ก็จำเป็นจะต้องมีการตรวจคัดกรองผู้ติดเชื้อภายในโรงงานด้วย.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |