30 ก.ค. 64 - ที่กระทรวงสาธารณสุข มีการแถลงข่าว คาดการณ์แนวโน้มการติดเชื้อโควิด 19 ในประเทศไทย / การดูแลเชิงรุกในชุมชน / วัคซีนไฟเซอร์ โดยนพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค เผยว่า ในวันนี้ที่วัคซีนไฟเซอร์มาถึงประเทศไทย เก็บอยู่ที่อุณหภูมิ -70 องศา อยู่ที่คลังบริษัท ซิลลิค ฟาร์มา(ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งมีการนำส่งตัวอย่างวัคซีนไปตรวจสอบคุณภาพและความปลอดภัยแล้วที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ คาดว่าในวันที่ 2 สิงหาคมจะได้รับผล เมื่อทุกอย่างเรียบร้อยจะให้บริษัทตรวจสอบย้อนกลับอีกครั้ง จากนั้นวันที่ 5-6 สิงหาคม จะส่งวัคซีนล็อตแรกไปฉีดเข็มกระตุ้น และกลุ่มเป้าหมายที่กำหนด ซึ่งจะมีการซักซ้อมผู้ที่จะทำการฉีดให้มีความแม่นย่ำเพราะใน 1 ขวดต้องฉีดได้ 6 โดส รวมไปถึงการควบคุมเวลาเป็นอย่างดี โดยในวันที่ 9 สิงหาคมจะเริ่มบริการฉีดวัคซีน คาดว่าทุกในปลายเดือนสิงหาคมจะฉีดวัคซีนไฟเซอร์ได้ครบ 1.5 ล้านโดส ในส่วนที่สหรัฐจะบริจาควัคซีนให้กับไทยเพิ่มนั้น ทั้งจำนวนและเวลา กำลังอยู่ในขั้นตอนการปรึกษารายละเอียด จะมีการแจ้งให้ทราบต่อไป
นพ.โอภาส กล่าวต่อว่า สำหรับวัคซีนไฟเซอร์ใน 1 ขวด มีความเข้มข้นจะต้องผสมด้วยน้ำเกลือ 0.9% นอร์มัลซาไลน์ จะผสมได้ 2.25 มล. ฉีดได้จำนวน 6 โดส ฉีดโดสละ 0.3 มล. เข้าในกล้ามเนื้อ จะแตกต่างจากวัคซีนซิโนแวคและแอสตร้าเซนิก้าที่จะใช้ฉีด 0.5 มล. ไฟเซอร์จะฉีด 2 เข็มห่างกัน 2 สัปดาห์ ใช้ได้สำหรับคนที่มีอายุ 12 ปีขึ้นไป และต้องเก็บในอุณหภูมิ -90 ถึง -60 องศา ได้ 6 เดือน หรือนำมาเก็บในตู้เย็นธรรมที่อุณหภูมิ 2 ถึง 8 องศา เก็บได้นาน 1 เดือน จึงต้องมีการจัดการและไทม์ไลน์ที่แน่ชัด
ส่วนการจัดสรรวัคซีนไฟเซอร์แบ่งเป็น 4 กลุ่มหลัก ได้แก่ 1.บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขทั่วประเทศเป็นเข็มที่ 3 ตั้งเป้าไว้ที่ 700,000 โดส 2.ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค หญิงตั้งครรภ์มากกว่า 12 สัปดาห์ โดยเฉพาะในพื้นที่ 13 จังหวัดควบคุมสูงสุดและเข้มงวด จำนวน 645,000 โดส 3.ชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในไทย เป็นผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค หญิงตั้งครรภ์มากกว่า 12 สัปดาห์ และคนไทยผู้เดินทางไปต่างประเทศ เช่น นักเรียน นักศึกษา เป็นต้น รวม 150,000 โดส 4.เพื่อทำการศึกษาวิจัย โดยการอนุมัติของ คกก.วิจัยจริยธรรม จำนวน 5,000 โดส
นพ.โอภาส กล่าวอีกว่า ไทยได้มีการปรับสูตรฉีดวัคซีนผสมระหว่างซิโนแวค(S )และแอสตร้าเซนิก้า(A) หรือ SA มีการวิจัยและเผยแพร่ข้อมูลสู่สาธารณะทั้งจาก ม.จุฬา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ หรือไบโอเทค ในการให้วัคซีนต่างชนิด ต่างวิธีการผลิต ข้อดีคือ ทำให้ภูมิคุ้มกันขึ้นได้ค่อนข้างเร็ว โดยจะฉีดซิโนแวคเป็นเข็มที่ 1 หลักจากฉีดสามสัปดาห์ต่อมาจะฉีดเข็มที่ 2 ด้วยแอสตร้าเซนิก้า จากการทดสอบในห้องปฏิบัติการค่าภูมิคุ้มกันสูงใกล้เคียงกับแอสตร้าเซนิก้า 2 เข็ม ห่างกัน 12 สัปดาห์ สามารถการจายวัคซีนในประชาชนฉีดครบ 2 เข็มเร็วขึ้น และจากการทดสอบฉีดวัคซีนสูตร SA ในประชาชนพอสมควร ในแง่ของความปลอดภัย ผลข้างเคียง หรืออาการไม่พึงประสงค์ไม่แตกต่างจากเดิม ในรายที่ฉีดวัคซีน SA เสียชีวิตตามที่เป็นข่าว มีการชันสูตรศพ สาเหตุที่เสียชีวิตไม่ได้เกี่ยวข้องกับวัคซีน
ทั้งนี้แผนการกระจายวัคซีนในเดือนสิงหาคม มีแผนจะการจายไปในพื้นที่ต่างจังหวัดมากขึ้น ในกลุ่มเป้าหมายกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค หญิงตั้งครรภ์มากกว่า 12 สัปดาห์ และอสม. จากนั้นวัคซีนส่วนหนึ่งจะใช้ในพื้นที่ควบคุมการระบาด หรือฉีดให้กับกลุ่มเป้าหมายพิเศษ เช่น พื้นที่ท่องเที่ยวในจังหวัดพังงา กระบี่ เป็นต้น
นพ.โอภาส ยังได้คาดการณ์สถานการณ์โควิด19 ในประเทศไทยว่า หากไม่มีมาตรการล็อคดาวน์ จากการคาดการณ์เป็นไปได้ว่าผู้ติดเชื้อรายวันอาจจะสูงถึง 40,000 คน โดยจุดสูงสุดคือวันที่ 14 กันยายน และมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 500 คน/วัน โดยจุดสูงสุดคือวันที่ 28 กันยายน ซึ่งหลังจากเริ่มมีมาตรการล็อคดาวน์ และได้รับความร่วมมือจากประชาชนตั้งแต่ช่วงปลายเดือนกรกฎาคมนั้น สะท้อนให้เห็นว่ามาตรการล็อคดาวน์มีประสิทธิภาพสามารถลดการติดเชื้อได้ 20% หรือ 30,000 คน เป็นเวลานาน 1 เดือน โดยจุดสูงสุดอยู่ในช่วงต้นเดือนตุลาคม ดังนั้นหากมีการใช้มาตรล็อคดาวน์นานขึ้นอาจจะลดจำนวนผู้ติดเชื้อได้อีก 25% นาน 1 เดือน หรือมีการล็อคดาวน์นานขึ้นกว่าเดิมอีก 20% นาน 2 เดือนก็จะทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อลดเหลือ 2,000 คน และมาตรล็อคดาวน์มีประสิทธิภาพขึ้นอีก 25% นาน 2 เดือน ก็จะมีจำนวนผู้ติดเชื้อลดลงไม่เกิน 400 คน/วัน ดังนั้นมาตรการต่างๆที่ทาง สธ.ได้ดำเนินการทั้งการล็อคดาวน์ การตรวจโควิด19 เชิงรุก และเร่งฉีดซีนในกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค หญิงตั้งครรภ์ ตามที่คาดการณ์ผู้ติดเชื้อก็จะลดลงเหลือ 100 คน/วัน
นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวเสริมว่า ปัจจุบันไทยมีการฉีดวัคซีนไปทั้งหมด 17 ล้านโดส แบ่งเป็นเข็ม 1 จำนวน 17 ล้านโดส เข็ม 2 จำนวน 3.7 ล้านโดส ซึ่งครอบคลุมทั้งในกรุงเทพฯและปริมณฑล 44% โดยเฉพาะกรุงเทพฯ ที่ฉีดครอบคลุมไปถึง 61.67% และคนสูงอายุในกรุงเทพฯประมาณ 70% ได้รับการฉีดวัคซีนเรียบร้อยแล้ว ในส่วนภูมิภาคมีการฉีดวัคซีนไปแล้ว 12.43% เนื่องจากวัคซีนมีจำนวนจำกัด และต้องใช้ในพื้นที่ที่มีการระบาดหนักอย่างในกรุงเทพและปริมณฑล คาดว่าภายในเดือนนี้จะได้รับวัคซีนอีก 10 ล้านโดส เป็นวัคซีนหลักที่ใช้ฉีดคือซิโนแวคและแอสตร้าเซนิก้า ก็จะมีการกระจายไปในพื้นที่ต่างจังหวัดแน่นอน
นพ.เกียรติภูมิ กล่าวเสริมว่า จากเดิมเตียงสำหรับการดูแลผู้ป่วยทั่งไปทั้งระบบสาธารณสุขประมาณ 100,000 เตียง จนมีสถานการณ์โควิด19 จึงมีเตียงสำหรับผู้ป่วยโควิด โดยส่วนภูมิภาคมีประมาณกว่า 135,000 เตียง ในกรุงเทพฯ 40,000 เตียง รวมทั้งประเทศ 175,000 เตียง และมีอัตราการใช้ในส่วนภูมิภาคกว่า 80% กรุงเทพฯกว่า 90% ซึ่งเตียงทั้งหมดก็จะมีการแบ่งเตียงตามอาการผู้ป่วยโควิดเป็น สีแดง สีเหลือง และสีเขียว จึงต้องมีระบบการดูแลของสาธารณสุขด้วยระบบการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน (Home Isolation - HI) หรือการดูแลในชุมชน (Community Isolation) หรือการตรวจเชิงรุกด้วย ATK หรือให้วัคซีนเชิงรุก รวมไปถึงการตั้งทีม CCRT ในการดูแลผู้ป่วยโควิดถึงบ้าน
นพ.ยงยศ ธรรมวุฒิ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เพิ่มเติมว่า ในช่วง 2 สัปดาห์ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม จะมีทีมสาธารณสุขจากในส่วนภูมิภาค อาทิ โรงพยาบาลชุมชน ชมรมแพทย์ชนบท ชมรมเภสัชชนบท ชมพยาบาลอาสา ชมรมโรงพยาบาลชุมชน ในการส่งเจ้าที่ที่มีความอดทน สามารถปรับตัวในการทำงานได้ทุกสถานการณ์จำนวน 40-50 ทีม ประมาณ 500 คน ร่วมกับศูนย์บริการสาธารณสุขในกรุงเทพฯทั้ง 69 ศูนย์ เป็นทีม CCRT หลักในการตรวจเชิงรุกด้วย ATK หรือการดูแล HI โดยคาดว่า 50 ทีมใน 1 สัปดาห์ จะสามารถตรวจเชิงรุกได้ 400,000-500,000 ราย และแยกผู้ป่วยติดเชื้อออกมาได้ประมาณ 70,000-80,000 ราย
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |