"ไฟเซอร์" ถึงไทยแล้ว เตรียมฉีดบุคลากรทางการแทพย์ บุคคลกลุ่มเสี่ยงทันที เพราะวัคซีนมีอายุแค่ 4 สัปดาห์ จ่อได้เพิ่มอีกรวม 2.5 ล้านโดส ขณะที่ "บิ๊กตู่" ขอบคุณรัฐบาลอังกฤษบริจาคแอสตร้าเซนเนก้า 4 แสนโดสให้ไทย
เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2564 นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ขอบคุณมิตรไมตรีที่รัฐบาลสหราชอาณาจักรประกาศว่าจะส่งมอบวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ของบริษัท AstraZeneca จำนวน 415,040 โดส ให้แก่ประเทศไทยในช่วงต้นเดือนสิงหาคม 2564 ซึ่งจะเป็นส่วนช่วยสนับสนุนมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรค โดยรัฐบาลไทยจะดำเนินการตามแผนกระจายวัคซีนเพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับประชาชน บรรเทาสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค และนำไปสู่การฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศโดยเร็วที่สุด
นายอนุชากล่าวว่า การมอบวัคซีนจากสหราชอาณาจักร สะท้อนถึงความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์ที่แน่นแฟ้นระหว่างไทย-สหราชอาณาจักร ตลอดจนสะท้อนบทบาทของสหราชอาณาจักรในฐานะมิตรประเทศที่มีความร่วมมือกับไทยในหลายมิติมายาวนาน โดยเฉพาะในด้านสาธารณสุข ที่ไทยและสหราชอาณาจักรมีความร่วมมือมาอย่างใกล้ชิดและครอบคลุมหลากหลายด้าน
ด้าน นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวถึงวัคซีนไฟเซอร์ที่ได้รับการบริจาคจากสหรัฐอเมริกา 1.5 ล้านโดส ว่า ถึงประเทศไทย ในเวลา 04.00 น. วันที่ 30 ก.ค. หลังจากมาแล้วจะเก็บในคลังวัคซีนที่กำหนดไว้ เนื่องจากการเก็บวัคซีนไฟเซอร์จะต้องเก็บในอุณหภูมิ -70 องศาเซลเซียส จากนั้นมีการสอนวิธีผสมการฉีดวัคซีน ซึ่งวัคซีนนี้ไม่เหมือนกับวัคซีนที่เราเคยใช้ ทั้งแอสตร้าเซนเนก้า และซิโนแวค ที่ดูดจากขวด 2-8 องศาเซลเซียสแล้วสามารถฉีดได้เลย แต่วัคซีนไฟเซอร์จะต้องเก็บที่อุณหภูมิ -70 องศาเซลเซียส
จากนั้นก็จะส่งไปยังหน่วยฉีดเพื่อเก็บที่อุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส ซึ่งวัคซีนจะอยู่ได้ไม่นาน อยู่ได้แค่ 4 สัปดาห์ เพราะฉะนั้นเวลานำมาจะต้องรีบใช้ และการใช้ก็จะแตกต่างกัน มีการผสม เนื่องจากเป็นวัคซีนเข้มข้น จะต้องมีผสมน้ำเกลือลงไปให้ได้ตามสัดส่วน และดูดจากขวดใหญ่เพื่อฉีดกับประชาชน โดย 1 ขวดจะฉีดได้ 6 คน ดังนั้นคงจะต้องมีการเตรียมการทั้งการเก็บรักษา ผสมวัคซีน และนัดหมายการฉีด ซึ่งจะต้องอบรมบุคลากรอีกครั้งผ่านระบบออนไลน์
ทั้งนี้ จะมีคณะกรรมการกำหนดว่าจะฉีดให้กับกลุ่มไหน ซึ่งหลักการเบื้องต้นนโยบายได้รับความเห็นชอบจาก ศบค.เรียบร้อยแล้ว และจะมีการประกาศให้ประชาชนได้ทราบในระยะต่อไป ส่วนความคืบหน้าที่สหรัฐอเมริกามีความประสงค์บริจาควัคซีนเพิ่มเติม จะต้องรอสหรัฐอเมริกาประกาศอีกครั้งหนึ่ง
นายธานี แสงรัตน์ อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวถึงกรณีที่มีข่าวระบุถึงวัคซีนในสต๊อกคงเหลือของสหรัฐ ที่ไทยอาจเจรจาขอเพิ่มจากสหรัฐได้ว่า กรณีนี้สถานเอกอัครราชทูตได้ตรวจสอบข้อมูลกับทั้งกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐและทำเนียบขาว และได้รับแจ้งว่าวัคซีนส่วนเกินที่อยู่ในสต๊อกของรัฐต่างๆ ยังไม่มีมาตรการส่งวัคซีนเพื่อบริจาค หรือขายต่อกับประเทศอื่นๆ อย่างไรก็ตาม สถานเอกอัครราชทูตไทยกำลังประสานงานกับบุคคลต่างๆ เพื่อย้ำสถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศไทย และขอรับการสนับสนุนการส่งมอบวัคซีนที่หน่วยราชการไทยได้สั่งซื้อจากบริษัทต่างๆ โดยเร็ว รวมทั้งอยู่ระหว่างการติดต่อทำเนียบขาว กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐประสานงานกับมิตรประเทศที่สถานเอกอัครราชทูตใกล้ชิดและมีความเห็นในทางเดียวกัน ตลอดจนประธานสมาคม ชุมชนไทยที่คอยสนับสนุนสถานเอกอัครราชทูต เพื่อช่วยผลักดันการเข้าถึงวัคซีนที่สหรัฐไม่ได้ใช้ต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เพจเฟซบุ๊กสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐประจำประเทศไทยได้โพสต์ข้อความถึงคำกล่าวของวุฒิสมาชิกสหรัฐรายนี้ด้วยว่า “เรากำลังจะส่งมอบวัคซีนโควิดอย่างน้อย 1.5 ล้านโดส จริงๆ เป้าหมายคือการบริจาครวม 2.5 ล้านโดส แต่การส่งมอบล็อตแรกคือ 1.5 ล้านโดส สายสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นของเราสำคัญเสมอมาและเสมอไป” อีกทั้งสถานทูตสหรัฐระบุด้วยว่า สหรัฐจะส่งมอบให้เพิ่มเติม 1 ล้านโดสด้วย
เพจเฟซบุ๊ก U.S. Embassy Bangkok สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย โพสต์ข้อความว่า "เรากำลังจะส่งมอบวัคซีนโควิดอย่างน้อย 1.5 ล้านโดส จริงๆ เป้าหมายคือการบริจาครวม 2.5 ล้านโดส แต่การส่งมอบล็อตแรกคือ 1.5 ล้านโดส สายสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นของเราสำคัญเสมอมาและเสมอไป" วุฒิสมาชิกสหรัฐ แทมมี ดักเวิร์ธ #FriendsPartnersAllies
ด้าน นายไมเคิล ฮีท อุปทูตรักษาการเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ทวีตข้อความก่อนหน้านี้ว่า ได้หารือกับ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขของไทยถึงแนวทางการแจกจ่ายวัคซีน ซึ่งเห็นพ้องต้องกันว่าต้องแจกจ่ายวัคซีนให้ทุกคนในประเทศไทยไม่ว่าจะสัญชาติใด เพื่อให้ทุกคนปลอดภัยจากเชื้อโควิด
ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค แถลงว่า การฉีดวัคซีน กรุงเทพฯ ฉีดวัคซีนเข็มแรกไปแล้ว 4,643,227 โดส และเข็มที่สอง 1,025,493 โดส ยอดสะสมฉีดวัคซีนทั้งหมดใน กทม. 5,668,720 โดส ถ้าเทียบกับประชากรใน กทม.ที่เราตั้งเป้าฉีดวัคซีนไว้ที่ 7,699,174 คน ถือว่า กทม.ฉีดวัคซีนค่อนข้างเป็นไปตามแผน โดยแผนที่วางไว้คือสิ้นเดือน ก.ค.จะต้องมีการฉีดวัคซีนใน กทม.อย่างน้อย 5 ล้านโดส รวมถึงกลุ่มเสี่ยงที่ได้กำหนดไว้ จะต้องได้รับวัคซีนร้อยละ 80 ก็ค่อนข้างใกล้เคียงกับเป้าหมาย ทั้งนี้ เกิดจากความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุขและสำนักอนามัย
สำหรับผู้ที่ได้รับวัคซีนในกรุงเทพฯ นอกจากการรายงานในระบบตัวเลขแล้ว ทางกรมควบคุมโรคได้สุ่มสำรวจประชาชนใน กทม.ทั้ง 50 เขต จำนวน 1,500 คน โดยมีคำถามว่าท่านฉีดวัคซีนไปแล้วหรือยัง ปรากฏว่า ประชาชนร้อยละ 76.5 ได้รับวัคซีนไปแล้วอย่างน้อย 1 เข็ม โดยส่วนใหญ่เป็นแอสตร้าเซนเนก้า 74% ซิโนแวค 23% นอกจากนี้ยังมีคำถามว่าท่านมีผู้สูงอายุในบ้านหรือไม่ ส่วนใหญ่มี 65.7% โดยฉีดวัคซีนแล้ว 79.92% เห็นว่าการดำเนินงานของเราสามารถดำเนินการบรรลุเป้าหมายเบื้องต้น.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |