29 ก.ค.64 - เวลา 13.30น. ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค แถลงถึงการบริหารจัดการวัคซีน ว่า สถานการณ์การระบาดในพื้นที่ประเทศไทย จุดศูนย์กลางการระบาดอยู่ที่ กรุงเทพฯและปริมณฑล มีการเคลื่อนย้ายผู้ติดเชื้อต่างจังหวัด ทำให้มีการระบาดในต่างจังหวัดเพิ่มเติม อย่างไรก็ต่างในกรุงเทพฯ มีแนวโน้มการติดเชื้อที่สูงขึ้น เช่นเดียวกับแนวโน้มของประเทศไทย เพราะฉะนั้นความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุขกับหน่วยงานต่างๆ จึงมีความสำคัญมากในการควบคุมสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19
นพ.โอภาส กล่าวว่า สำหรับความร่วมมือที่เรามีกับกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะสำนักงานอนามัย ก็จะมีในเรื่องการสนับสนุนวัคซีนผ่านคณะอนุกรรมการบริหารจัดการการให้วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 กทม. โดยจัดสรรให้กับหน่วยงานต่างๆผ่านสำนักงานอนามัย กับพื้นที่ต่างๆในกรุงเทพฯ สิ่งสำคัญคือ การดำเนินร่วมกันในการทำงานเชิงรุกในชุมชน Comprehensive COVID 19 response Team (CCRT) มีกำลังพลจากหลายหน่วยงานทั้ง กระทรวงสาธารณสุข สำนักอนามัย จิตอาสา ฝ่ายความมั่นคง ลงไปในชุมชน
โดยมีวัตถุประสงค์คือ 1. ค้นหาผู้ป่วยในชุมชน ด้วยวิธีการตรวจแบบเร็ว หรือ Antigen Test Kit (ATK) 2.การฉีดวัคซีนในกลุ่มที่เข้าถึงยากโดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป ผู้ที่มีโรคประจำตัว หรือเป็นผู้ป่วยติดเตียงในชุมชน ซึ่งการเข้ารับวัคซีนเป็นไปด้วยความลำบาก เพราะฉะนั้นทีมนี้ก็จะลงไปสนับสนุนการฉีดวัคซีนให้กับกลุ่มเสี่ยงได้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงการให้ความรู้ต่างๆ โดยCCRT เรามีทีมทั้งหมด 260 ทีม มีการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนแล้ว 59,708 คน มีการตรวจคัดกรองผู้ที่อยู่ในข่ายสงสัย 81,290 คน
นพ.โอภาส กล่าวอีกว่าในส่วนของการฉีดวัคซีน กรุงเทพฯฉีดวัคซีนเข็มแรกไปแล้ว 4,643,227 โดส และเข็มที่สอง 1,025,493 โดส ยอดสะสมฉีดวัคซีนทั้งหมดในกทม. 5,668,720 โดส ถ้าเทียบกับประชากรในกทม.ที่เราตั้งเป้าฉีดวัคซีนไว้ที่ 7,699,174 คน ถือว่ากทม.ฉีดวัคซีนค่อนข้างเป็นไปตามแผน โดยแผนที่วางไว้คือสิ้นเดือน ก.ค.จะต้องมีการฉีดวัคซีนในกทม.อย่างน้อย 5 ล้านโดส รวมถึงกลุ่มเสี่ยงที่ได้กำหนดไว้ จะต้องได้รับวัคซีนร้อยละ 80 ก็ค่อนข้างใกล้เคียงกับเป้าหมาย
ทั้งนี้เกิดจากความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข และสำนักอนามัย สำหรับผู้ที่ได้รับวัคซีนในกรุงเทพฯ นอกจากการรายงานในระบบตัวเลขแล้วทางกรมควบคุมโรค ได้สุ่มสำรวจประชาชนในกทม.ทั้ง 50 เขต จำนวน 1,500 คน โดยมีคำถามว่าท่านฉีดวัคซีนไปแล้วหรือยัง ปรากฎว่า ประชาชนร้อย 76.5 ได้รับวัคซีนไปแล้วอย่างน้อย 1 เข็ม โดยส่วนใหญ่เป็นแอสตร้าเซนเนก้า74% ซิโนแวค 23% นอกจากนี้ยังมีคำถามว่าท่านมีผู้สูงอายุในบ้านหรือไม่ ส่วนใหญ่มี 65.7% โดยฉีดวัคซีนแล้ว 79.92% เห็นว่าการดำเนินงานของเราสามารถดำเนินการบรรลุเป้าหมายเบื้องต้น
นอกจากนี้ยังสนับสนุนการตรวจคัดกรองโควิด-19 โดยหน่วยตรวจรถชีวนิรภัยพระราชทาน 2 จุด ที่สนามกีฬาธูปเตมีย์และสนามราชมังคลากีฬาสถานคัดกรองประชาชนได้ 1,500 คนต่อวัน นอกจากนี้ยังส่งผู้ส่งคุณวุฒิจากกรมควบคุมโรคเป็นที่ปรึกษาเฝ้าระวังในทุกกลุ่มเขต แบ่งเป็น 6 กลุ่มเขตทั่วกทม. ทั้งนี้แนวโน้มการระบาดของโรคยังสูงอยู่มาตรการที่ต้องขอความร่วมมือกับประชาชนโดยเฉพาะชาวกทม.ทั้งการใส่หน้ากากอนามัยในที่ชุมชน เว้นระยะห่างทางสังคม และอยู่บ้านมากที่สุดเท่าที่จะทำได้
ด้านพญ.ป่านฤดี มโนมัยพิบูลย์ ผู้อำนวยการสำนักอนามัยกทม. กล่าวว่า การดูแลวัคซีนในกทม.ทางกทม. โดยคณะกรรมการโรคติดต่อกทม. ได้ตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อบริหารจัดการวัคซีน โดยอนุกรรมการประกอบด้วยผู้แทนจากโรงพยาบาลทุกภาคส่วน ร่วมกันพิจารณาว่าวัคซีนที่ทางกระทรวงสาธารณสุข สนับสนุนให้กทม.จะบริหารจัดการอย่างไรบ้าง ซึ่งในช่วงนี้ทางนโยบายให้บริการวัคซีนในกลุ่มผู้สูงอายุ 7 กลุ่มโรคและหญิงตั้งครรภ์ เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมาย โดยทางอนุกรรมการให้แผนที่จะให้วัคซีนกับโรงพยาบาลทุกสังกัดที่ร่วมมือกับกทม. 132 โรงพยาบาล และให้บริการการควบคุมโรคในจุดต่างๆที่มีการระบาด รวมถึงดำเนินงานที่หน่วยความร่วมมือ 25 แห่งที่ทำความร่วมมือไว้กับหอการค้าไทย อีกทั้งกลุ่ม CCRT ที่ดำเนินการเชิงรุกในชุมชนโดยมีเป้าหมายที่ 2,016 ชุมชน ที่เป็นชุมชนจัดตั้งให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 31 ก.ค. โดยมีบริการทั้งการฉีดวัคซีน ตรวจหาเชื้อด้วย AIK
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |