วัคซีนไฟเซอร์1ขวดฉีดได้ 6 โดส สุดบอบบางห้ามเคาะ โดนแสงไฟนานๆ


เพิ่มเพื่อน    



28ก.ค.64-  คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บรรยายพิเศษ Chula Pharma Talk เรื่อง “ประเด็นสำคัญในการเก็บและการเตรียมวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิด mRNA ของ Pfizer-BioNTech”  เตรียมวัคซีนไฟเซอร์ ก่อนฉีด ผศ.ภญ.ดร.ณัฏฐดา อารีเปี่ยม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า  สิ่งสำคัญคือการบันทึกเวลาและข้อมูลในทุกขั้นตอนตั้งแต่ต้นจนจบ สำหรับก่อนการผสมวัคซีนเพื่อฉีด จะต้องนำออกมาไว้ในตู้เย็นธรรมดา2-8 องศา โดยจะใช้เวลาในการละลาย 3 ชั่วโมง หรือนำมาละลายในอุณหภูมิห้อง 25 องศา จะใช้เวลาละลาย 30 นาที  จากนั้นทำการกลับขวดขึ้นลงช้าๆ 10 ครั้งเพื่อตรวจเช็ค ห้ามเขย่าเด็ดขาด  โดยการนำวัคซีนออกจากความเย็นแล้วจะต้องใช้งานเลย ไม่สามารถนำกลับเข้าไปแช่เย็นได้อีก และจะต้องทำการผสมวัคซีนเลยภายใน 2 ชั่วโมง  


ผศ.ภญ.ดร.ณัฏฐดา อารีเปี่ยม


ดร.ณัฏฐดา กล่าวว่า สำหรับส่วนการผสมจะใช้น้ำเกลือหรือแล้วในขวดเดิมด้วยสารละลายโซเดียมคลอไรด์ 9 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร (0.9%) ชนิดฉีด ปริมาตร 1.8 ml (ในกรณีนี้น้ำเกลือที่เหลือจากการใช้ไม่สามารถใช้ผสมวัคซีนในขวดต่อไปได้อีก ต้องทำการทิ้งทันที) แล้วต้องค่อยกดเติมน้ำเกลือเข้าไปในขวดจนครบ 1.8 ml  และอย่าถอนเข็มทันทีต้องดูดอากาศกลับขึ้นมาในไซริงค์อีกอย่างน้อย 1.8 ml เท่าเดิมเพื่อไม่ให้เกิดแรงดันย้อนกลับ มีความจำเป็นต้องใช้เข็มฉีดยาชนิดเล็กกว่า 21 gauge หรือเข็มฉีดยาที่มีปลายแคบกว่า เพราะจุกยางที่ครอบวัคซีนจะต้องถูกจิ้มอีกจำนวน 13 ครั้ง และใช้ไซริงค์ที่ 3 ml เมื่อทำการผสมเสร็จจะต้องทำการกลับขวดขึ้นลงช้าๆ 10 ครั้งอีกรอบ

วัคซีนพร้อมฉีด  หลังวัคซีนที่ผสมเรียบร้อยแล้วจะมีประสิทธิภาพอยู่ได้ 6 ชั่วโมง ทั้งนี้วัคซีนไฟเซอร์ 1 ขวด จะสามารถผสมฉีดวัคซีนได้จำนวน 6 โดส โดสละ 0.3 ml  ซึ่งจำเป็นจะต้องใช้ไซริงค์ที่มีขนาด 1 ml หรือ 3 ml และจะต้องใช้เข็มอันเดียวกันกับที่ใช้ผสมวัคซีน หากใช้ไซริงค์ขนาดใหญ่กว่าอาจจะได้ไม่ครบจำนวน 6 โดส และห้ามนำเศษที่เหลือจากแต่ละขวดมารวมกันเพื่อให้ได้ 1 โดสเด็ดขาด อีกข้อควรระวังในระหว่างฉีดคือฟองอากาศ โดยการไล่ฟองอากศนั้น คือ ห้ามถอดเข็มออกมา เคาะ และไม่ควรแท็บบริเวณไซริงค์ เนื่องจากวัคซีนมีความบอบบาง อาจจะทำโครงสร้างยาเสียหาย แต่จะใช้วิธีการไล่ฟองอากาศขณะที่เข็มอยู่ในขวดแล้วดูดไปมาจนไม่ฟองอากาศ และให้รีบฉีดวัคซีนทันทีภายใน 30 นาที  


รายละเอียดการเก็บ-ขนส่ง และข้อสังเกตฉลากกำกับวัคซีน ผศ.ภก.ดร.บดินทร์ ติวสุวรรณ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ว่า เบื้องต้นฉลากของวัคซีนไฟเซอร์จะมี 2 รูปแบบ ที่ไม่เหมือนกันแต่เป็นชนิดเดียวกัน ขึ้นอยู่กับว่าวัคซีนชนิดนี้ถูกส่งมาจากที่ไหน โดยหากนำเข้ามาจากสหรัฐอเมริกาจะมีชื่อติดข้างขวดว่า Pfizer-BioNTech COVID-19 vaccine แต่เมื่อขายในแถบประเทศยุโรปและประเทศอื่นๆจะมีใช้ชื่อการค้าว่า COMIRNATY จากการคาดเดาวัคซีนไฟเซอร์ที่ไทยจะนำเข้า 20 ล้านโดส อาจจะอยู่ภายใต้ชื่อ COMIRNATY ส่วนวัคซีนที่ได้รับบริจาค 1.5 ล้านโดส อาจจะต้องรอดูว่าฉลากจะเป็นรูปแบบไหน ทั้งนี้ตามที่ขึ้นทะเบียนไว้วัคซีนไฟเซอร์มีอายุ 6 เดือน โดยที่ฉลากและกล่องจะระบุวันที่ผลิต แต่จะไม่มีวันหมดอายุ มีระบุเพียงเดือนและปี ลักษณะคือ เดือน 2 ตำแหน่ง/ปี ค.ศ. 4 ตำแหน่ง เช่น 12/2021 ดังนั้นวันหมดอายุจะคือ วันสุดท้ายของเดือนนั้นๆ

ผศ.ภก.ดร.ปดินทร์  กล่าวว่า ส่วนของการขนส่งวัคซีนจะถูกขนส่งบรรจุในกล่องแบบ Thermal shipping container ใน 1 กล่องจะมีวัคซีนบรรจุอยู่จำนวน 195 ขวด กล่องชนิดนี้สามารถเก็บรักษาวัคซีนในความเย็นอุณภูมิต่ำกว่า - 60 องศา ด้วยน้ำแข็งแห้งหรือดรายไอซ์ และจะต้องมีการเติมน้ำแข็งแห้งอย่างถูกเวลาเพื่อรักษาความเย็น ดังนั้น การบริหารจัดการเก็บวัคซีนเมื่อถูกส่งมาในขณะที่อุณหภูมิ - 60 องศาจะต้องย้ายไปเก็บรักษาในตู้เย็น โดยมี 2 ตัวเลือก คือ 1.เก็บในตู้เย็นธรรมดาในอุณหภูมิ 2-8 องศา วัคซีนจะมีอายุ 1 เดือน(31 วัน) 2.สามารถเก็บไว้ที่ ตู้แช่(freezer) ในอุณหภูมิ -25 ถึง -15 องศา วัคซีนจะมีอายุ 2 สัปดาห์ และห้ามย้ายวัคซีนจาก อุณหภูมิ 2-8 องศา ไปที่อุณหภูมิ -25 องศา หรือ -60 องศา เพราะวัคซีนจะไม่สามารถใช้งานได้ นอกจากนี้วัคซีนยังไม่ทนความร้อน หรือสัมผัสแสงไฟในห้องให้น้อยที่สุด และหลีกเลี่ยงการโดนแสงแดดและแสงอัลตราไวโอเลตโดยตรง ดังนั้นการนำวัคซีนออกจากที่เย็นโดยอยู่ในที่แสงไฟธรรมดาได้แต่ต้องเป็นขั้นตอนการเตรียมและฉีดวัคซีนเท่านั้น


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"